การพัฒนาตนเอง การพูด เทคนิคการพูด

9 เทคนิค การพูดหน้ากล้อง ทำอย่างไรให้พูดกับกล้อง แล้วฟังรู้เรื่อง

Home / สาระความรู้ / 9 เทคนิค การพูดหน้ากล้อง ทำอย่างไรให้พูดกับกล้อง แล้วฟังรู้เรื่อง

ในยุคปัจจุบันอาชีพ youtuber กำลังมาแรง เป็นโอกาสดีสำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากมีอาชีพอิสระ หรืออยากสื่อสารสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา แต่การพูดหน้ากล้องไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทุกคน วันนี้เราเลยมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เทคนิค การพูดหน้ากล้อง มาฝากกันค่ะ

9 เทคนิค การพูดหน้ากล้อง

ถ้าคุณจะต้องถ่ายวีดิโอ แล้วเอาตัวเองไปอยู่หน้ากล้อง ซึ่งหลายคนก็เกิดความกังวลว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี เราเลยมีเทคนิคในการพูด การวางตัวอยู่หน้ากล้อง มาบอกกัน เพื่อนๆ จะได้นำเทนนิคนี้ไปลองใช้กันดูค่ะ

1. เป็นตัวของตัวเอง เลี่ยงการการเขียนสคริปต์

เมื่อต้องเริ่มถ่ายวีดิโอ สิ่งสำคัญคือความรู้สึกที่เราต้องแสดงออกมาให้อินกับสิ่งที่ต้องการสื่อสาร ไม่ใช่เขียนสคริปต์ แล้วแสดงออก ท่องจำตามสคริปต์ที่เขียนเอาไว้ กล่าวคือพูด หรือแสดงออกในสิ่งที่คิด หรือเข้าใจจริงๆ แต่ถ้ากลัวพูดไป พูดมา แล้วหลุดประเด็นก็กำหนดหัวข้อที่จะพูดเอาไว้คร่าวๆ จะได้ไม่หลงประเด็นที่จะพูด

2. มีการเคลื่อนไหว

เมื่อคุณต้องพูดหน้ากล้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี คุณจะต้องมีการเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น แสดงออกถึงสิ่งที่ต้องการอยากจะสื่อสารออกมาอย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพียงแต่พูดนิ่งๆ ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ

เทคนิค การพูดหน้ากล้อง

3. ยิ้มเอาไว้เสมอ

การยิ้มเป็นเหมือนประตูในการสร้างความรู้สึกที่ดีในการสื่อสาร แน่นอนว่าการอยู่หน้ากล้อง เราก็ควรเรียนรู้ที่จะยิ้ม ถึงแม้รอยยิ้มจะไม่มีผลต่อการจดจำเนื้อหาในวีดิโอที่เรานำเสนอ การการยิ้มนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้คนรู้สึกดี และจดจำความรู้สึกที่ดูวีดิโอตอนนั้นได้

4. การวางตัวนั้นสำคัญ

การวางตัวเวลาอยู่หน้ากล้องเป็นสิ่งสำคัญ คุณจะต้องมีการวางตัวที่ดี จะช่วยให้การพูด การแสดงออกนั้นออกมาดีมากขึ้น การรักษาไว้ซึ่งการแสดงออกด้วยภาษากายในเชิงบวก ผ่อนหัวไหล่ ยืดหลังตรง การมีภาพลักษณ์ที่ดีจะไปสนับสนุนการพูด การแสดงออกของให้ดูมีมาด น่าเชื่อถือมากขึ้น

5. อย่ากลัวที่จะผิดพลาด

เวลาที่คุณเริ่มกดบันทึกวีดิโอ อย่ากลัวที่จะทำพลาดต่อหน้ากล้อง แค่ทำออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เมื่อเวลาที่คุณทำผิดพลาด คุณแค่ทำใหม่ หยุดวีดิโอแล้วตั้งสติ และเริ่มถ่ายใหม่อีกครั้ง เราสามารถตัดส่วนที่ใช้ไม่ได้ทิ้งไปได้นะ

6. พูดช้า และกระชับ

สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นเวลาที่เราพูดคือ เรามักจะพูดเร็วขึ้นในเวลาที่เรารู้สึกประหม่า ดังนั้นจำเอาไว้ว่าต้อง พูดช้าๆ ซึ่งการพูดที่ช้าลงจะทำให้เราลำดับการในหัวข้อที่เรียงเอาไว้ได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะไม่รีบ ไม่ลน จนทำให้เราลืมเรื่องที่จะพูด

7. สรุปประเด็นระหว่างที่พูด

เวลาที่เราพูดกับกล้อง การหยุดพูดสรุปเป็นระยะๆ เพื่อเบรควีดิโอ ก็จะช่วยให้ปะติดปะต่อข้อความหรือสิ่งที่เราพูดไปได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการแบ่งสรุปเป็นท่อนๆ ยังง่ายต่อการนำมาตัดต่อเอาส่วนที่ผิดพลาดจุดเล็กจุดน้อยออกไปได้

8. ทำเหมือนว่าเรากำลังคุยกับใครสักคนอยู่

การถ่ายวีดิโอคุยกับกล้อง อาจจะทำให้เรารู้สึกเกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าลองคิดว่าเรากำลังพูดอยู่กับใครสักคน จะทำให้รู้สึกว่าได้สื่อสารกับคนจริงๆ เราก็จะนึกออกว่าเราจะบอกออกมาด้วยคำพูดยังไง ด้วยอารมณ์แบบไหน

9. บันทึกวีดิโอที่คุณถ่าย แล้วดูว่าคุณต้องปรับปรุงอะไร

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณถ่ายวีดิโอ พูดหน้ากล้องได้ดีคือ การอัดวีดิโอที่ถ่ายตัวเองเอาไว้ แล้วกลับมาดูว่าสิ่งที่เราพูด หรือแสดงออกมามีจุดไหนที่จะต้องปรับปรุงบ้าง ถ้าคุณฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว พูดกับกล้องก็จะดีขึ้น การถ่ายทำก็จะราบรื่น

ที่มา : jmprocreative

บทความแนะนำ