การพัฒนาตนเอง การพูด การพูดจูงใจ เทคนิคการพูดจูงใจ เปลี่ยนแปลงตัวเอง

7 เทคนิคการพูดจูงใจ พูดและทำอย่างไร ให้ผู้อื่นเห็นด้วย

Home / สาระความรู้ / 7 เทคนิคการพูดจูงใจ พูดและทำอย่างไร ให้ผู้อื่นเห็นด้วย

หลายคนอาจมองว่า”การพูด”เป็นสิ่งไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ แต่จริงๆ แล้วการพูดเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ เพราะเพียงแค่คำพูดหนึ่งก็อาจทำให้บาดหมางใจกันได้ ดังสุภาษิตที่ว่า ปลาหมอตายเพราะปาก

7 เทคนิคการพูดจูงใจ

ดังนั้นทักษะการพูดจึงเป็นสิ่งสำคัญและควรฝึกฝน ซึ่งทักษะการพูดนั้นก็มีหลายแบบ เช่น ทักษะการพูดนำเสนอ การโน้มน้าวใจ การเล่าเรื่อง เป็นต้น ซึ่งในวันนี้แคมปัส-สตาร์ มีเทคนิคการพูดจูงใจหรือโน้วน้าวใจผู้อื่น ให้เห็นด้วยหรือคล้อยตามได้ง่ายๆ มาฝากกันค่ะ

1. ต้องมีความมั่นใจ

ในการพูดคุยทุกๆ ครั้ง เราควรมีความมั่นใจในตนเอง มั่นใจในสิ่งที่ต้องการพูดหรือสื่อสารออกไป เพราะความมั่นใจจะถูกสื่อออกมาผ่านน้ำเสียง หากผู้พูดมีความมั่นใจน้ำเสียงที่ถูกเปล่งออกมาจะหนักแน่นและน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้พูดสามารถจูงใจหรือโน้มน้าวผู้ฟังได้

2. ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี

ลักษณะภายนอกเป็นสิ่งแรกที่คนเรามองเห็น ดังนั้นบุคลิกภาพของผู้พูดก็เป็นสิ่งที่ผู้ฟังสังเกตเห็นได้เป็นอันดับแรก ผู้พูดจึงต้องใส่ใจในการดูแลบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก เพราะจะช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือและคำพูดที่สื่อสารออกไป

3. ต้องมีการยกตัวอย่าง

ในการพูดจูงใจหรือโน้มน้าวใจ ควรจะมีการยกตัวอย่างประกอบกับสิ่งที่ต้องการจูงใจ ซึ่งตัวอย่างที่ยกขึ้นมาก็ควรเป็นตัวอย่างที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้หรือควรเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สัมผัสได้ เพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมและเห็นด้วยกับตัวอย่างนั้นๆ

4. ต้องมีอายคอนแทค

อายคอนแทค หรือ การสบตากับผู้ฟัง เป็นหนึ่งในการสื่อสารทางร่างกายที่บ่งบอกถึงความมั่นใจและความน่าเชื่อถือของผู้พูด ผู้พูดที่ไม่มีอายคอนแทคจะไม่สามารถทำให้ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่พูดหรื่ออยู่กับเรื่องราวนั้นๆ ได้

7 เทคนิคการพูดจูงใจ พูดและทำอย่างไร ให้ผู้อื่นเห็นด้วย

5. ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

เมื่อผู้พูดได้พูดในสิ่งที่ต้องการจูงใจแล้ว ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้พูดคุยหรือแสดงความคิดเห็นบ้าง โดยผู้พูดที่กลายเป็นผู้ฟังก็ควรจะตั้งใจรับฟังความคิดเห็นนั้นๆ ไม่ควรปิดกั้น เพราะจะทำให้เรากลายเป็นคนที่ยึดติดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เอาความคิดตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถโน้มน้าวหรือจูงใจผู้อื่นได้

6. ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี

เมื่อผู้พูดควรจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก็ต้องปฏิบัติตนให้เป็นผู้ฟังที่ดีด้วย คือต้องตั้งใจฟัง มีสมาธิ ไม่พูดแทรก และมีรีแอคชั่นตอบกลับบ้าง เช่น พยักหน้า ตอบรับครับ/ค่ะ เป็นต้น ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีก็จะช่วยสนับสนุนความน่าเชื่อถือเมื่อเราอยู่ในฐานะผู้พูดอีกด้วย

7. ต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง

หากการพูดคุยนั้นมีแต่เนื้อหาเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้การสนทนาหรือการสื่อสารนั้นๆ น่าเบื่อและไม่น่าสนใจ แต่ถ้าสอดแทรกมุกตลก หรือสถานการณ์ตัวอย่างสนุกๆ ลงไป ทำให้ผู้ฟังได้ผ่อนคลายบ้างก็จะทำให้การพูดคุยไม่น่าเบื่อและสามารถดำเนินการสนทนาได้ยาวขึ้น

ขอบคุณภาพจาก pexels.com

Written by : FayAmon

บทความแนะนำ :