บุพเพสันนิวาส ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย พระเพทราชา รัฐประหาร

การทำรัฐประหารของ พระเพทราชา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

Home / สาระความรู้ / การทำรัฐประหารของ พระเพทราชา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประชวรด้วยโรคไอหืด ทำให้มีพระอาการทรุดลงอย่างหนัก และใกล้จะสวรรคตขึ้นทุกที ช่วงเวลานั้นจึงมอบหมายให้พระเพทราชาว่าราชการแทน และนี่จึงเป็นช่วงที่พระเพทราชาเห็นว่าเป็นโอกาสเหมาะที่จะทำการรัฐประหาร

การทำรัฐประหารของ พระเพทราชา

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2231 เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประทับ ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ พระอาการประชวรก็ทรุดลงอย่างหนักด้วยโรคไอหืด (asthmatic cough) และใกล้สวรรคต นั่นย่อมเป็นโอกาสส่งให้ออกพระเพทราชา ชิงกระทำการรัฐประหารในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 โดยมีหลวงสรศักดิ์เป็นกำลังสำคัญ เสริมด้วยม็อบชาวบ้านและชาววัดในเขตเมืองและปริมณฑลเป็นตัวช่วย

ตอนนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้ใหญ่ จึงมอบหมายให้ว่าราชการแทน ระหว่างนั้นพระเพทราชาลวงพระอนุชาทั้งสองพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ คือ เจ้าฟ้าน้อยและเจ้าฟ้าอภัยทศ ว่ามีรับสั่งให้เข้าเฝ้า เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จถึงเมืองลพบุรี ก็ถูกหลวงสรศักดิ์จับไปสำเร็จโทษ ที่วัดทราก ส่วนพระปีย์พระราชโอรสบุญธรรม ถูกผลักตกจากชาลาพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ แล้วกุมตัวไปสำเร็จโทษ

เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตแล้ว..

ได้สั่งให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เข้ามาพบ เมื่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์มาถึงศาลาลูกขุน ก็ถูกกุมตัวไปประหารชีวิต (อ่านต่อ > 

เมื่อจัดการบ้านเมืองสงบแล้วจึงเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนารายณ์มาประดิษฐานที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ แล้วรับราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท

ภาพซ้าย คือ สมเด็จพระเพทราชา รัชกาลที่ 29 (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)
ภาพขวา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รัชกาลที่ 28 (ราชวงศ์ปราสาททอง)

(ที่ต้องถอดเสื้อในท้องพระโรง เพราะการเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ต้องหมอบคลานเข้าเฝ้า ต้องปลดกระบี่ ต้องถอดเสื้อและรองเท้า เพื่อป้องกันการนำอาวุธเข้าไป และด้วยเหตุที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อนด้วยค่ะ)

เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายอาณาจักรอยุธยาเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา

ผลการปฏิบัติดังกล่าว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

การกระทำของออกพระเพทราชา นั้นมีคนไทยในตอนนั้นสนับสนุนจำนวนมากไม่ว่าจะขุนนาง สถาบันสงฆ์ ซึ่งได้รับความเสียหายจากนโยบายบริหารของสมเด็จพระนารายณ์ จากเรื่องสึกพระมาทำงานหลวง หรือการให้ฆราวาส อย่างออกหลวงสุรศักดิ์มาควบคุมการสอบ รวมไปกระทั่งไพร่และเชื้อพระวงศ์ เพราะล้วนแต่กลัวว่าฝรั่งเศสจะมายึดบ้านยึดเมือง เจ้านายองค์หลักที่หนุนการรัฐประหารครั้งนี้ก็คือกรมหลวงโยธาเทพ พระธิดาของสมเด็จพระนารายณ์

ที่มา เพจ FB โบราณนานมา

ภาพประกอบ จากละคร บุพเพสันนิวาส

บทความแนะนำ