บุพเพสันนิวาส เกร็ดความรู้ เวลา โบราณ

เกร็ดความรู้ การนับเวลาแบบโบราณ

Home / สาระความรู้ / เกร็ดความรู้ การนับเวลาแบบโบราณ

ในสมัยอดีตของไทย การนับเวลามีการเรียกที่ต่างกับปัจจุบัน คำว่าเวลา จะเรียกเป็น ยาม และเวลาในแต่ละนาที แต่ละชั่วโมง ก็มีวิธีการ และชื่อเรียกเฉพาะ ไปอ่านเกร็ดความรู้กันได้เลยค่ะ

วิธีการ การนับเวลาแบบโบราณ เวลาเรียกว่า ยาม

ยาม  และพบในการพากย์ภาพยนตร์จีนที่เรียกว่า ชั่วยาม โดยในจีนแบ่ง 1 วันเป็น 12 ชั่วยามตามที่บอกไว้ในธงชาติสาธารณรัฐจีน ขณะที่หนึ่งยามของไทยมีค่าประมาณ 3 ชั่วโมง หลักการนับยามตามบาลี

เกร็ดความรู้ การนับเวลาแบบโบราณ บุพเพสันนิวาส

ท่านออกญาโหราธิบดี ได้อธิบายให้เกศสุรางค์ฟังนั้น มีหลักการคือ ช่วงเวลาเท่ากับ 1 ใน 10 ของชั่วโมง เท่ากับ 6  นาที

  • 1 ชั่วโมง มี 10 บาท = 60 นาที
  • 5 บาท = 30 นาที
  • 1 บาท =6 นาที

ยาม เป็นคำภาษาบาลีที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย

เป็นการนับเวลากลางคืนในประเทศไทยสมัยโบราณ  คำว่า “ยาม” ในภาษาบาลีจะออกเสียงว่า “ยา-มะ”

คำที่เกี่ยวกับ “ยาม” ที่คนไทยเรารู้จักและเข้าใจดีคำหนึ่งก็คือ “แขกยาม” ซึ่งได้แก่แขกที่เป็นชาวอินเดีย มักจะเป็นแขกปาทาน นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน ที่เรามักว่าจ้างให้มาอยู่ยามตามตลาด หรือโรงเลื่อยโรงสี ตลอดจนโรงแรมใหญ่ ๆ บางคนก็มีเตียงนอนถักด้วยเชือก เขามักจ้างเฝ้ายามเฉพาะในเวลากลางคืน แขกพวกนี้มักจะถือกระบองอันโต ๆ น่าเกรงขาม และมักจะตีเหล็กแผ่นเป็นสัญญาณบอกเวลาทุกชั่วโมง

คำว่า “ยาม” ที่เรานับกันตามแบบไทย ๆ กับ “ยาม” ของแขกตามที่ปรากฏในบาลีนั้นแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะคืนหนึ่งเราแบ่งเป็น 4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง

4 ยาม ยามละ 3 ชั่วโมง

ตั้งแต่ย่ำค่ำ คือ 18 นาฬิกา ถึง 3 ทุ่ม (21 นาฬิกา) เป็นยามที่ 1
หลังจาก 21 นาฬิกา หรือ 3 ทุ่ม ไปถึง 24 นาฬิกา หรือ เที่ยงคืน เราเรียกว่า ยาม 2 หรือ 2 ยาม
หลัง 24 นาฬิกา ไปถึงตี 3 (3 นาฬิกา) เราเรียกว่า ยาม 3
และหลังจากตี 3 ไปจนย่ำรุ่ง หรือ 6 นาฬิกา เราเรียกว่า ยาม 4 ซึ่งเป็นยามสุดท้ายของคืน

ยามตามคติบาลี

ในวรรณคดีไทยถือตามคติสันสกฤตว่า คืนหนึ่งมี 4 ยาม ยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง แต่คติที่ปรากฏในวรรณคดีบาลีรวมถึงวรรณคดีบาลีที่แปลแต่งเป็นภาษาไทยว่าไว้ต่างกัน คือกำหนดว่า คืนหนึ่งมี 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง เรียกยามทั้ง 3 ช่วงนี้ตามลำดับว่า ปฐมยาม (อ่านว่า ปะ -ถม-มะ -ยาม) ทุติยยาม (อ่านว่า ทุ -ติ-ยะ -ยาม) และปัจฉิมยาม (อ่านว่า ปัด-ฉิม-มะ -ยาม) ตามลำดับ

คืนหนึ่งมี 3 ยาม ยามหนึ่งมี 4 ชั่วโมง

  • ปฐมยาม หรือ ยามแรก ได้แก่ช่วงเวลา 18.00-22.00 น.
  • ทุติยยาม หรือ ยามที่ 2 ได้แก่ช่วงเวลา 22.00-02.00 น. และ
  • ปัจฉิมยาม หรือ ยามสุดท้าย ได้แก่ช่วงเวลา 02.00-06.00 น.

บทความแนะนำ