การเมือง บัตรคนจน เศรษฐกิจ

บัตรคนจน สวัสดิการภาครัฐ สำเร็จหรือล้มเหลว? ในเชิงเศรษฐศาสตร์ – การเมือง

Home / เรื่องทั่วไป / บัตรคนจน สวัสดิการภาครัฐ สำเร็จหรือล้มเหลว? ในเชิงเศรษฐศาสตร์ – การเมือง

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา นายกตู่ ได้อนุมัติเงิน 500 เข้าบัตรคนจน ผู้ถือบัตรแห่ไปกดเงินกันเพียบ จนภาครัฐต้องออกมาประกาศว่าไม่มีการดูดเงินกลับ ไม่ต้องรีบไปกดเงินกันจนธนาคารแตก แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงผลกระทบของบัตรคนจนกัน ว่าการมีบัตรนี้แล้วส่งผลอะไรบ้าง

บัตรคนจน สวัสดิการภาครัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ – การเมือง

บัตรคนจน เป็นสวัสดิการรัฐช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับบัตรนี้จะต้องเป็นคนที่ว่างงาน หรือมีรายได้เดือนละไม่ถึง 9,000 บาท โดยสิทธิที่จะได้รับในบัตรนี้คือ

บัตรคนจน

ซึ่งเงินอุดหนุนต่อหัวนั้นก็ไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่มากมายเท่าไหร่ ไม่สามารถให้ผู้ถือบัตรนำบัตรนี้ไปสร้างเนื้อสร้างตัวประกอบธุรกิจได้ ช่วยได้เพียงแค่พยุงค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันบางส่วนเท่านั้น แม้ถึงจะบอกว่าเงินนี้ไม่ใช่จำนวนเงินที่มากจนทำให้ประเทศล้มละลาย แต่เมื่อต้องแจกเงินจำนวนนี้ให้คน 11 ล้านคนทั่วประเทศ จำนวนเงินที่ใช้ก็ไม่น้อยเลยทีเดียว ส่งผลให้หนี้สาธารณะต่อหัวพุ่งสูงขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

บัตรคนจน วิธีการแก้จนที่ปลายเหตุ

บัตรคนจนอาจจะเป็นความหวังของผู้มีรายได้น้อย แต่ถ้าตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ทุกอย่างล้วนเป็นต้นทุนไม่ว่าจะเป็น เงิน เวลา สถานที่ และสิ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาไปข้างหน้าได้ก็คือ การนำเงินไปลงทุนกับสิ่งที่จะให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากับมา หลายๆ คนที่เคยเรียนเศรฐศาสตร์ ในวิชาสังคมมาคงจะรู้กันใช่ไหมล่ะคะว่า หัวใจหลักของเศรษฐศาสตร์คือ การเลือก เพราะทรัพยากรณนั้นมีจำกัด

เงินที่อยู่ในคงคลังก็มีจำนวนจำกัดเช่นกัน ดังนั้นภาครัฐจะเอาเงินไปใช้กับอะไรก็คงต้องเลือกให้ดี ถ้าในแง่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ วิธีนี้อาจจะเป็นการเดินหมากที่พลาด แต่ในทางการเมืองถือเป็นการเดินหมากที่ถูกต้องเลยทีเดียว

บัตรคนจน สวัสดิการภาครัฐ

บัตรคนจน ความล้มเหลวในทางเศรษฐศาสตร์

สาเหตุที่บอกว่าบัตรคนจนเป็นสิ่งที่ผิดพลาดของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก็เพราะว่า เงินส่วนนี้ไม่สามารถนำไปสร้างผลผลิต หรือสร้างกำไรในการดูดเงินเข้าประเทศได้เลย แล้วเศรษฐกิจของประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร อีกทั้งยังเป็นมาตรการที่ทำให้คนเลี่ยงภาษีกันมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนมากที่เป็นคนจ่ายภาษีคือชนชั้นกลาง โดยภาษีที่ต้องเสียนั้นมาจากหลากหลายช่องทางทั้ง ภาษีจากการซื้อของในร้านสะดวกซื้อ ภาษีจากค่าน้ำค่าไฟ ภาษี 3 % ตอนเงินเดือนออก

แต่ชนชั้นกลางที่เป็นผู้ที่เสียภาษีอยู่ตลอดเวลา กับไม่ได้สวัสดิการตอบแทนที่ดีจากภาครัฐเลย รถเมล์สภาพก็เก่า รถไฟฟ้าก็แพง สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลทีดีก็ไม่มี สาธารณูปโภคต่างๆ ที่ควรได้รับก็ถูกละเลย ดังนั้นสิ่งนี้ก็เป็นอีกแรงจูงใจหนึ่งที่ทำให้คนเลี่ยงภาษี และพอไม่มีเงินภาษี รายได้ของรัฐบาลในการนำเงินไปพัฒนาประเทศก็หายไป

บัตรคนจน กับวิธีเดินหมากในเกมการเมือง

เพราะประเทศประชาธิปไตยเลือกผู้นำจากการเลือกของคนทั้งประเทศ และบังเอิญว่าประเทศไทยนั้นก็เป็นประเทศที่มีประชากรเป็นคนจนมากกว่าครึ่งค่อนประเทศ ทำให้นโยบายประชานิยมดูจะใช้ได้ในทุกยุค ทุกสมัย นโยบายประชานิยม คือการนำเงิน หรือสวัสดิการดีๆ ไปให้คนจน คนยากไร้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้ที่เป็นคนส่วนมากก็มีแนวโน้มจะเทคะแนนเสียงไปให้ที่เอาเงินมาแจกให้คนจน

แต่ถ้าบัตรคนจนนี้เป็นการเล่มเกม ซื้อใจคนรายได้น้อย คงจะเป็นการเล่นเกมที่ผู่เล่นนั้นได้ประโยชน์ โดยที่ไม่ต้องสูญเสียอะไรเลย เพราะเงินที่เอามาแจกก็มาจากภาษีประชาชน และผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้เล่นก็ได้คะแนนเสียงไปโดยปริยาย ซึ่งถ้านี่เป็นการเล่นเกมการเมืองจริง การซื้อเสียงจากคนรากหญ้าด้วยการเอาภาษีประชาชนไปใช้แบบนี้ คงจะขี้โกงไปหน่อย

ภาพ : กรมบัญชีกลาง

บทความแนะนำ