สำหรับเด็กวัยรุุ่น คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งวิธีที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมคือ การเลือกตั้ง เพราะถ้าเราเลือกผู้แทนที่ดี ประเทศของเราก็จะพัฒนาไปในทางที่ดี
วิธีการเลือกตั้ง ด้วยกติกาใหม่ – การเลือกตั้งปี 62
แต่ประเทศไทยของเรานั้นห่างหายจากการเลือกตั้งไปนานเสียเหลือเกิน และด้วยระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ 8 ปี ทำให้มีเด็กรุ่นใหม่สนใจการเมือง ที่อายุถึงเกณฑ์ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แล้วเพิ่มขึ้น วันนี้เราเลยมีวิธีการเลือกตั้งมาฝากกัน เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นคนที่เคยเลือกตั้งมาแล้วก็อาจจะสับสนได้ เนื่องจากกติกาการเลือกตั้งที่จะนำมาใช้ในปี 62 ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบจากครั้งก่อนๆ ที่เคยเลือกตั้ง
- ระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ของประเทศไทย | ขั้นตอนการเลือกตั้ง + Primary Vote คืออะไร?
- เลือกตั้งต้องมีอายุเท่าไร? คุณสมบัติของ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง
ระบบเลือกตั้งแบบ ‘ จัดสรรปันส่วนผสม ‘
การจัดสรรปันส่วนผสม เป็นชื่อเรียกของระบบเลือกตั้งแบบใหม่ หลังจากที่เราห่างหายไปจากการเลือกตั้งเกือบ 8 ปี ซึ่งระบบนี้คือ เราจะเหลือบัตรเลือกตั้งเพียงแค่ 1 ใบ จากในอดีตที่เราจะเข้าคูหาไปพร้อมกับกระดาษ 2 ใบ เพื่อเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต เพื่อหานักการเมืองที่เราอยากให้เข้าไปอยู่ในสภา และใบที่ 2 เป็นการเลือกพรรค หรือเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
แต่ระบบเดิมทำให้มีพรรคการเมืองเล็กๆ กลายเป็นเสียงที่ตกหล่น จึงปรับเป็นแบบใหม่คือ ทุกคนจะมีกระดาษแค่ 1 ใบ เพื่อจำกัดสิทธิในการเลือกไปเลยว่าจะเลือกพรรคไหน หรือเลือก สส. คนไหน ที่ไว้ใจได้ ไปเลย แต่จากแนวโน้มของหลายๆ ที่ก็พบว่า ระบบนี้จะมีผลให้การซื้อสิทธิขายเสียงกันมากขึ้น
ภาพ : thaipublica
วิธีเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
โดยปกติแล้ว ส.ส. แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ ให้อธิบายง่ายๆ คือ ถ้าเป็นแบบแบ่งเขต คือการที่เราโฟกัสไปที่ ตัวนักการเมือง คนนั้นคนเดียว และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ คือการโฟกัสไปที่ พรรคการเมือง ซึ่งพอเรามีสิทธิแค่ 1 ใบ ก็เลือกได้แค่คนเดียว ทำให้ถึงแม้ว่าจะเป็นพรรคเล็กก็มีโอกาสเข้าสภาได้ เพราะคนไปเลือกเขาโฟกัสที่ตัวบุคคลมากกว่า แต่พอเป็นแบบนี้แล้วก็สร้างปัญหาให้กับการเลือกนายกฯ ได้ประมาณหนึ่งกันเลยทีเดียว
เพราะนายกฯ มากจากเสียงในสภา แต่เสียงในสภาก็มีโอกาสที่จะแตกต่างกันได้มาก เพราะ ส.ส. มีแนวโน้มว่า จะได้มาจากการเลือกตั้ง โดยเลือกจากบุคคล ไม่ใช่พรรคการเมือง ดังนั้นแต่ละพรรคจึงไม่มีเสียงส่วนมากในสภา การเลือกนายกฯ เป็นการเปิดโอกาสให้นายกคนนอกเข้ามาบริหารประเทศ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อการจัดตั้งรัฐบาล เพราะถ้าใช้ระบบการเลือกตั้งแบบนี้ จะส่งผลให้รัฐบาลที่ได้มาเป็นรัฐบาลผสม การลงมติเรื่องต่างๆ ก็ยากที่จะทำเห็นเป็นมติเอกฉันท์
สำหรับใครที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็อย่าเพิ่งเครียดว่าจะเลือกพรรคไหนดี ให้ลองพิจารณาว่า พรรคไหนที่มีครบทั้งสองอย่าง ทั้งหัวหน้าพรรคดี ตัวนโยบายของพรรคก็ดี และเราก็เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะเป็นคลื่นพลังในการออกไปใช้สิทธิ เปลี่ยนแปลงการเมืองไทยให้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
ที่มา : the standard , the matter
บทความแนะนำ
- แกนนำนิสิต นศ. จุฬาฯ – มธ. เรียกร้องให้เลื่อนวันสอบ GAT/PAT 24 ก.พ. 62
- 6 เรื่องน่ารู้ ระบบการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
- มช.โพล – นศ. ส่วนใหญ่อยากให้เลือกตั้งเร็วๆ และเลือกทักษิณเป็นนายกฯ
- เปิดประวัติ เอก-ธนาธร นักธุรกิจและว่าที่นักการเมืองไฟแรง ศิษย์เก่า ม.ธรรมศาสตร์
- ย้อนรำลึกถึง ดร.สุรินทร์ นักการเมืองทรงคุณภาพ | อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ที่สหรัฐฯ