Party-list การเลือกตั้ง ปาร์ตี้ลิสต์ เลือกตั้ง62

เกร็ดความรู้เรื่องการเมือง – ส.ส. แบบปาร์ตี้ลิสต์ (Party-list) คืออะไร ?

Home / สาระความรู้ / เกร็ดความรู้เรื่องการเมือง – ส.ส. แบบปาร์ตี้ลิสต์ (Party-list) คืออะไร ?

ในบทความนี้ขอหยิบยกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเมือง เรื่องระบบ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (Party-list) มาให้ทุกคนได้อ่านทำความเข้าใจกันค่ะ หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายว่าคืออะไร การเลือก ส.ส. แบบปาร์ตี้ลิสต์มาจากไหน คำนวณอย่างไร ลองไปอ่านทำความเข้าใจกันค่ะ

ส.ส. แบบปาร์ตี้ลิสต์ (Party-list) คืออะไร ?

ก่อนที่จะไปถึงเรื่องของ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งในปี 2562 กันก่อนค่ะ สำหรับ ส.ส. มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่าสภาผู้แทนราษฎร ถูกกำหนดไว้ว่าต้องมีทั้งหมด 500 คน โดยทั้งหมดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ส.ส. แบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน

ส.ส. แบบแบ่งเขต มาจากการเลือกตั้งในประเทศไทย ซึ่งมี 350 เขตเลือกตั้ง ให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ส.ส. ที่ลงสมัครตามเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ที่ประชาชนไปเลือกกันนั่นแหละค่ะ 

2. ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ หรือเรียกว่า Party-list จำนวน 150 คน

ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ หรือที่เรียกว่า ปาร์ตี้ลิสต์ (Party-list) อันนี้เรามาเข้าเรื่องกันแล้วนะคะ ปาร์ตี้ลิสต์ มาจากการคำนวณคะแนนเสียง โดยจะต้องดูว่าแต่ละพรรคนั้นได้สัดส่วนเท่าไรในคะแนนเสียงรวมกันทั่วประเทศ ซึ่งต้องนำไปคำนวณผ่านสูตรดังต่อไปนี้อีกทีค่ะ

วิธีคำนวณ ส.ส. Party-list

1. เอาคะแนนผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ลบด้วย ผู้ Vote No และบัตรเสียออกก่อน

ยกตัวอย่าง

มีผู้ออกใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 36 ล้านคน บัตรเสีย 6 แสนใบ ไม่ประสงค์ลงคะแนนหรือโหวตโน 4 แสนใบ = 36,000,000 – (600,000+400,000) = 35, 000,000
ดังนั้น เลขที่จะเอามาคำนวนจริง คือ 35, 000,000 ล้านเสียง

2. นำจำนวนที่ได้จากข้อ 1 หารด้วย ส.ส. ทั้งหมดนั่นคือ 500 คน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นคะแนนของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน

ยกตัวอย่าง

35, 000,000 ÷ 500 = 70, 000 หมายความว่า 70, 000 นี้คือ คะแนนต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน

* จำนวน ส.ส. ทั้งหมด 500 คน มาจาก ส.ส. แบบแบ่งเขต จำนวน 350 คน / ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน* 

3. หา ‘ส.ส. พึงมี’ (คือ ส.ส. บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคจะมีได้ไม่เกินจำนวนเท่าไร ?)

ยกตัวอย่าง 

เอาจำนวน คะแนน ส.ส. เขตรวมทั้งประเทศ ของแต่ละพรรคที่ได้ หารด้วย 70, 000 (คะแนนของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คนที่ได้จากข้อ 2) จะได้จำนวนที่เรียกว่า ‘ส.ส. พึงมี’

ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่า ส.ส. บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคจะมีได้ไม่เกินโควตาเท่าไร

สูตรคำนวณ

สมมติว่าได้คะแนน ส.ส. เขตรวมทั้งประเทศ 35, 000,000 คะแนน การคำนวณต้องเป็นดังต่อไปนี้คือ

35, 000,000 ÷ 70, 000= 50 คน หมายความว่า ส.ส. พึงมีของพรรค A คือ 50 คน

4. ส.ส. พึงมี ลบด้วย ส.ส. เขตของพรรค A จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ (Party-list)

สมมติว่า พรรค A ได้ ส.ส. เขตมาแล้ว 30 คน

ยกตัวอย่าง : สูตรคำนวณ

ส.ส. พึงมีของพรรค A คือ 50 คนส.ส. เขต 30 คน = ผลลัพธ์คือ 20 คน หมายถึง พรรค A จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ (Party-list) 20 คน

กรณีที่พรรคอาจจะไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ

พรรคใหญ่ ๆ ที่ได้คะแนนสูง ๆ เช่น พรรค B ชนะได้ ส.ส. เขต 200 คน คะแนน ส.ส. เขตรวมทั้งประเทศได้มากถึง 13,500,000 คะแนน

เมื่อนำมาคำนวณตามสูตร

ส.ส. เขตรวมทั้งประเทศ หารด้วย คะแนนของ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน = 13,500,000 ÷ 70, 000 ผลลัพธ์คือ 192 คน หมายถึงผลของ ส.ส. พึงมีของพรรค B 

นำจำนวน ส.ส. พึงมี ลบด้วย ส.ส. เขตของพรรค B = 92-200 ผลลัพธ์คือ -8 ออกมาติดลบ นั่นหมายความว่า พรรค B จะไม่ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเลยแม้แต่คนเดียว

. . . . .

สรุปแล้ว Party-list (ปาร์ตี้ลิสต์) หมายถึง การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

เป็นระบบการเลือกตั้งที่กำหนดให้ผู้ออกเสียงเลือกพรรคการเมือง พรรคใดพรรคหนึ่ง โดยแต่ละพรรคการเมืองได้ทำบัญชีรายชื่อไว้ เมื่อพรรคใดได้รับเลือก ผู้สมัครที่อยู่ในบัญชีของพรรคนั้นก็จะได้รับเลือก โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

บัญชีรายชื่อแบบปิด: พรรคการเมืองจะเป็นผู้ทำบัญชีรายชื่อ จัดลำดับผู้สมัคร และส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครให้กับองค์กรกำกับการเลือกตั้ง บัญชีรายชื่ออาจจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ออกเสียงทราบว่าผู้สมัครรายใดจะได้รับเลือกตามลำดับ

บัญชีรายชื่อแบบเปิด: ผู้ออกเสียงมีสิทธิ์เลือกพรรคและเรียงลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อนั้นๆ ตามความพอใจในผู้สมัครแต่ละคน

บัญชีรายชื่อท้องถิ่น: ผู้ออกเสียงมีสิทธิ์เลือกผู้สมัครในท้องถิ่นของตนเอง ผู้สมัครที่มีอัตราผู้ออกเสียงมากที่สุดจะได้เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อตามลำดับ

*** การเลือกตั้งในประเทศไทยใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด ควบคู่กับระบบเสียงส่วนใหญ่โดยแบ่งตามสัดส่วนประชากร***

ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัคร สส.ทั่วประเทศ เพียงใส่รหัสไปรษณีย์ elect.in.th/candidates

ขอบคุณข้อมูลจาก

 บทความแนะนำ