Bangkok Design Week การออกแบบ ดีไซน์ ที่ว่าการไปรษณีย์กลาง นักออกแบบ นิทรรศการ เจริญกรุง

งานออกแบบฟาซาด 3 มิติ – สะท้อนเสน่ห์อาคารคอนกรีตยุคก่อน

Home / ข่าวประชาสัมพันธ์ / งานออกแบบฟาซาด 3 มิติ – สะท้อนเสน่ห์อาคารคอนกรีตยุคก่อน

งานออกแบบฟาซาด 3 มิติ “CPAC 3D Printing Solution” นวัตกรรมการก่อสร้าง 3 มิติ จาก CPAC Green Solution เป็นอีกหนึ่งผลงานสร้างสรรค์ที่ถูกนำมาร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ในงาน “Bangkok Design Week 2022” (BKKDW2022) ณ บริเวณที่ว่าการไปรษณีย์กลาง โซนเจริญกรุง-ตลาดน้อย ภายใต้ชื่อ “3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade”

งานออกแบบฟาซาด 3 มิติ

โดยเป็นการพิมพ์ตัวฟาซาด 3 มิติ สะท้อนให้เห็นถึงเสน่ห์ของอาคารคอนกรีต ในสมัยก่อน ได้อย่างสวยงามและมีมิติโดดเด่นด้วยเส้นสาย ที่เรียงเป็นแพทเทิร์นต่อกันเป็นชั้นๆ พร้อมนำเสนอออกมาในรูปแบบพาวิลเลียน ผ่านกระบวนการก่อสร้างแบบ “Turn Waste to Value” ซึ่งเป็นการผลิตก่อนนำมาติดตั้ง โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม เรียกว่าเป็นการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Go Green) ตามแนวทาง ESG 4 Plus ของ SCG คือ มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ – Plus เป็นธรรม โปร่งใส ตอกย้ำแนวคิด CPAC Green Solution ได้เป็นอย่างดี!

งานออกแบบฟาซาด 3 มิติ

ผลงาน CPAC 3D Printing Solution ภายใต้ชื่อ 3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Facade

“CPAC 3D Printing Solution” เป็นนวัตกรรมการก่อสร้าง 3 มิติ จาก CPAC Green Solution ซึ่งใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในเรื่องการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างด้วยการใช้เครื่องจักร 3D Printer สามารถปริ๊นท์ขึ้นรูปผนังอาคารพื้นที่มากกว่า 150 ตารางเมตร ในระยะเวลา 7 วัน เป็นการลดระยะเวลาก่อสร้างลง 66% ลดการใช้แรงงานน้อยลง 50% ถือเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย

และยังนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คอนกรีตตกแต่งอื่นๆ ได้ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ นับว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานสร้างสรรค์ทั้งในเรื่องของการก่อสร้าง (Construction) และการตกแต่ง (Decorate) ที่นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังตอบโจทย์เหล่าดีไซเนอร์และนักออกแบบยุคใหม่ให้สามารถสร้าง Material ของตัวเองได้แบบไร้ขีดจำกัด

นายพิพิธ โค้วสุวรรณ ดีไซเนอร์ผู้ออกแบบผลงาน 3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Facade

สำหรับ “3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade” เป็นผลงานการออกแบบโดย นายพิพิธ โค้วสุวรรณ Design Director แห่ง Salt and Pepper Studio ซึ่งเผยว่า “ด้วยเจตนารมณ์แรกที่มีความสนใจในตัวนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานของเหล่านักดีไซเนอร์อยู่แล้ว จึงมีแนวคิดที่อยากจะนำคอนกรีตของซีแพค มาออกแบบเป็นตัวฟาซาด เน้นเส้นสายที่เรียงเป็นแพท

เทิร์นต่อกันเป็นชั้นๆ และนำเสนอออกมาในรูปแบบพาวิลเลียน เพื่อดึงดูดสายตาให้คนเข้ามาชมผลงาน พร้อมสร้างประสบการณ์ร่วมด้านงานดีไซน์ทั้งในเชิงกราฟฟิกและแสงเงาที่เกิดขึ้นจากตัวฟาซาด นอกจากนี้ ยังเป็นการตั้งคำถาม หาความเป็นไปได้ในการออกแบบตัวฟาซาด ด้วยวิธีของเค้าเองในแต่ละคนอีกด้วย”

ดีไซน์เส้นสายฟาซาด สะท้อนเสน่ห์อาคารคอนกรีตสมัยก่อน

“การตีโจทย์ของการออกแบบตัวฟาซาดครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดของทางซีแพคเอง ซึ่งเป็นลักษณะของ โมดูล่าร์ นำมาต่อกันจนเกิดเป็นรูปแบบฟาซาดที่มีแพทเทิร์นหลากหลายและยังคงมีมิติและมีเสน่ห์ของชั้นคอนกรีตที่เรียงต่อกันเป็นชั้นๆ โดยลักษณะของฟาซาดคอนกรีตที่สร้างด้วย “CPAC 3D Printing Solution” เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ขนาด 4.65 x 2.6 เมตร สูง 3.50 เมตร ซึ่งเป็น Scale ที่ถูกลดลงมาเพื่อความปลอดภัยในเรื่องความสูงของโครงสร้าง เนื่องจากเป็นอาคารที่จะจัดแสดงอยู่บนโครงสร้างชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์

ใช้เครื่องจักร 3D Printer ในการดีไซน์ลายเส้นเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ ก่อนนำไปประกอบหน้างาน

ทั้งนี้ตัวผลงานฟาซาด ได้ใช้ระยะเวลาในการพิมพ์เพียง 3 วัน เท่านั้น ก่อนนำมาติดตั้งบริเวณหน้างานโดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 วัน เป็นการลดระยะเวลาการทำงาน ลดการก่อสร้างที่ไม่เหลือ Waste ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution มีศักยภาพที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงซับซ้อน และสามารถนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนได้”

“และหากลองมองย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว จะเห็นว่าอาคารพาณิชย์รอบๆ ตัว เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่เยอะที่สุดในกรุงเทพฯ ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมื่องในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของแนวคิดการออกแบบฟาซาด ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอาคารคอนกรีตในอดีต โดยเราได้เลือกใช้ดีไซน์ของการวาดเส้นและทำการยืดเป็น 3 มิติ วิธีคิดจะเหมือนการใช้ปากกาลากเส้นไปเรื่อยๆ โดยไม่ยกปากกา ซึ่งมองว่าดีไซน์ตัวนี้จะช่วยสะท้อนมิติของเทคนิคในการผลิตได้ชัดเจน นอกจากนี้เรายังดีไซน์ลายเส้นตัว “CPAC” ใส่เข้าไปในชิ้นงาน ซึ่งเป็นประสานกันได้อย่างลงตัวสวยงาม”

ดีไซน์เส้นสายในเชิงกราฟฟิก

“ในฐานะดีไซเนอร์ มองว่าเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solutionนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่เป็นไปได้สำหรับการก่อสร้างและการตกแต่ง ทั้งศักยภาพในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงซับซ้อน และเป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ในการออกแบบทุกๆ มิติ โดยตอบสนองความต้องการของนักออกแบบ ที่จะสามารถสร้าง Material หรือชิ้นงานที่เป็น Customize ของตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับระบบอุตสาหกรรมที่มีในท้องตลาด”

“ทั้งนี้ การยกนวัตกรรม “CPAC 3D Printing Solution” มาร่วมจัดแสดงในงาน งานนิทรรศการออกแบบ “Bangkok Design Week 2022” ในปีนี้ ซึ่งมาในธีม ‘Co With Creation คิด สร้าง ทางรอด’ เป็นการตอบโจทย์ทั้งในแง่ของ Co With Eco นวัตกรรมการออกแบบแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, Co With Culture สะท้อนแนวคิดการออกแบบงานสถาปัตยกรรม เมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้วในกรุงเทพ แนวคิดในการใช้อาคาร การรื้อฟื้นอาคารคอนกรีตให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งได้ และสุดท้ายคือ Co With Futureความรู้สึกว่าเราอยู่ในจุด Future is Now! เพราะโลกอนาคตก็คือปัจจุบัน การสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อต่อยอดวิถีชีวิตยิ่งต้องคิดให้ล้ำ”

ดีไซน์เส้นส่ายในเชิงกราฟฟิก

ร่วมค้นหาแรงบันดาลใจในนิทรรศการงานออกแบบ “Bangkok Design Week 2022” ระหว่างวันที่ 5- 13 ก.พ.นี้ โดย “CPAC 3D Printing Solution” จะจัดตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการไปรษณีย์กลาง โซนเจริญกรุง-ตลาดน้อย พร้อมด้วยโปรแกรมจากนักออกแบบที่น่าสนใจอีกมากมาย กระจายตัวไปบนพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ถึง 5 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง – ตลาดน้อย, สามย่าน, อารีย์ – ประดิพัทธ์, ทองหล่อ – เอกมัย, พระนคร และสามารถรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ได้

จุด Registration

นวัตกรรมงานก่อสร้าง 3 มิติ CPAC 3D Printing Solution @BKKDW2022

CPAC 3D Printing Solution

ดีไซน์ลายเส้นตัว CPAC ประสานเข้ากับชิ้นงานอย่างกลมกลืน

นายพิพิธ โค้วสุวรรณ ดีไซเนอร์ เยี่ยมชมผลงาน

ป้ายงานด้านหน้า

ใช้เครื่องจักร 3D Printer ในการดีไซน์ลายเส้นเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ ก่อนนำไปประกอบหน้างาน

บทความแนะนำ