มัณฑะเลย์ (ตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียง) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่า รองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1857 โดยพระเจ้ามินดง (ประมาณปี พ.ศ. 2400 ตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย) เป็นเมืองที่ยังใช้ชื่อเดิมไม่เคยเปลี่ยน
อดีตเมืองหลวงของพม่า มัณฑะเลย์
หลังสิ้นแผ่นดินพระเจ้ามินดงในปี 1878 พระเจ้าธีบอ (หรือพระเจ้าสีป่อ) กับพระนางศุภยาลัต ทรงขึ้นครองบัลลังก์ต่อ เมืองมัณฑะเลย์ที่เคยรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้ามินดงปกครอง ต้องประสบกับชะตากรรมอันเศร้าสะเทือนขวัญ และถือเป็นมิคสัญญียุคของพม่าโดยแท้ เมื่อสองพระองค์ทรงเข่นฆ่าญาติมิตรมากมาย เพื่อป้องกันมิให้ก่อการกบฏ ครั้นยังซ้ำร้ายเกิดโรคระบาด ก็โปรดฯ ให้ประหารข้าราชบริพารและชาวต่างชาติ เพื่อบรรเทาเหตุร้าย ตามคำแนะนำของบรรดาโหราจารย์
ความอำมหิตของทั้งสองพระองค์ รวมทั้งการที่ทรงโปรดฝรั่งเศสเป็นพิเศษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจ จึงยึดผนวกพม่าเข้าเป็นอาณานิคมในปี ค.ศ. 1885 พระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัต ถูกเชิญเสด็จออกนอกประเทศ ไปประทับที่อินเดีย จนสิ้นพระชนม์ที่นั่น มัณฑะเลย์ถูกลดฐานะลง เป็นแค่เมืองอาณานิคม ที่อังกฤษตั้งชื่อให้ใหม่ว่า ฟอร์ตดัฟเฟอริน (แต่ไม่มีใครเรียก)
มัณฑะเลย์ ราชธานีสุดท้ายของพม่า
ปัจจุปัน พระราชวังที่เห็นอยู่ เป็นพระราชวังที่รัฐบาลพม่า ได้จำลองรูปแบบของพระราชวังของเก่าขึ้นมา (ภาพในบทความนี้ถ่ายในเมื่อปี 2559) ส่วนข้าวของเครื่องใช้บางส่วน ถูกนำไปจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่า ที่เมืองย่างกุ้งค่ะ
อวสานพระราชวังมัณฑะเลย์
พระราชวังมัณฑะเลย์ เป็นพระราชวังที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยไม้สัก ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามมหาบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) วันที่ 20 มีนาคม 2488 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกองทัพอังกฤษ ได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากมาย ถล่มพระราชวังมัณฑะเลย์ของประพม่า จนไฟลุกไหม้เป็นจุล ด้วยเหตุผลว่า พระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกองทัพญี่ปุ่น พระราชวังมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นพระราชวังไม้สัก ก็ถูกไฟไหม้เป็นจุล เผาราบเป็นหน้ากลอง หลงเหลือก็แต่ป้อมปราการ และคูน้ำรอบพระราชวัง
การเข้าชมพระราชวัง
สามารถเข้าได้ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย รถทัศนาจรต้องเข้า – ออก ทางด้านทิศตะวันออกเท่านั้น อนุญาตให้ชมได้ เฉพาะส่วนของหมู่มหามณเฑียร ส่วนอื่นไม่อนุญาตให้เข้าชมและห้ามถ่ายรูป เพราะเป็นที่ตั้งของทหาร มีการรักษาความปลอดภับที่เข้มงวด
พระราชวังหลวงของพระเจ้ามินดง
สร้างขึ้นตามผังภูมิจักรวาลแบบพราหมณ์ปนพุทธ โดยสมมติให้เขาพระสุเมรเป็นศูนย์กลางของโลก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศมีประตูทางเข้า 3 ประตู รวมทั้งสิ้น 12 ประตู ที่ประตูทำสัญลักษณ์จักรราศีประดับเอาไว้ ใจกลางพระราชวังเป็นห้องพระมหาปราสาท (ห้องสีหาสน์บัลลังก์) กำแพงวังยาวเกือบ 2 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบ
กำแพง ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นปราการป้องกันข้าศึก อย่างของจีนและยุโรปสมัยกลาง แต่สร้างไว้เพื่อแสดงว่า พื้นที่ภายในวงล้อมของกำแพงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่า
มีกำแพงล้อมรอบพระราชวังทั้งสี่ทิศ มีคูน้ำกว้าง 64 เมตร ล้อมรอบกำแพงทั้งสี่ทิศอีกชั้นหนึ่ง กำแพงแต่ละด้านมีประตูด้านละสามประตู ใช้เข้าออกจริงได้ด้านละประตูเดียวที่อยู่ตรงกลาง เพราะมีสะพานข้ามคูน้ำ ประตูด้านอื่่นไม่มีสะพาน ยกเว้นด้านทิศตะวันตก มีประตูที่ใช้ขนคนตายออกจากพระราชวัง เรียกว่า “ประตูผี” อีกหนึ่งประตูและอีกหนึ่งสะพาน
สะพานด้านทิศตะวันตก เป็น “ประตูผี”
สะพานด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็น “ประตูผี” ที่เคยใช้เป็นที่ขนคนตายออกจากวัง .. สะพานแห่งนี้.. ทหารอังกฤษจับตัวพระเจ้าตี่ป่อและพระนางสุภายาลัด ให้เสด็จด้วยเกวียนเทียมโคออกไปลงเรือที่แม่น้ำอิรวดี ซึ่งถือเป็นการหมิ่นพระเกียรติอย่างร้ายแรง ชาวพม่าเล่าว่า .. อังกฤษจงใจทำเพื่อให้ชาวพม่ารับรู้ว่า พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้สิ้นไปจากพม่าแล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลพม่า ยังไม่ยอมซ่อมสะพานที่ข้ามผ่านประตูผีแห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์อันเจ็บปวดที่ถูกอังกฤษกระทำย่ำยี
ภาพถ่ายจากมุมบนหอคอยแดง
ปัจจุบัน พระราชวังมัณฑะเลย์ที่บูรณะขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ในเขตป้อมมัณฑะเลย์ของทางกองทัพ ภายในมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงประวัติศาสตร์ของเมืองมัณฑะเลย์ มีสุสานที่ฝังพระศพของพระเจ้ามินดง ในเขตพระราชวังด้วย การเข้าชมต้องซื้อบัตรผ่านและต้องได้รับอนุญาตจากทหารก่อน
(ข้อมูลจากหนังสือ “พม่า” หน้าต่างสู่โลกกว้าง แปลโดย พวงนิล คำปังสุ์ และหนังสือ “60 วัด วัง และสถานที่สำคัญในพม่า โดย ภภพพล จันทร์วัฒนกุล)
ชาวพม่าถือว่า มัณฑะเลย์ คือ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ทั้งในอดีตและปัจจุบันของพม่า
พระเจ้ามินดง
ทรงมีพระชนมายุ 67 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 26 ปี
พระเจ้ามินดง (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421) เป็นกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา (ค.ศ. 1853 – 1878) พระองค์เป็นผู้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อมรปุระ และมัณฑะเลย์ พระองค์เป็นผู้ปฏิรูปการปกครอง ให้ทันสมัยขึ้น ตอนที่พระองค์ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงสถาปนาเจ้าหญิงเสกขรเทวี น้องร่วมพระชนนีกับพระเจ้าพุกาม ขึ้นเป็นอัครมเหสี และสถาปนาเจ้าหญิงราชธิดาพระเจ้าพาคยีดอ คือ นางอเลนันดอ เป็นมเหสี
พระเจ้ามินดงทรงมีพระชายา 45 พระองค์ พระราชโอรส 53 พระองค์ พระราชธิดา 81 พระองค์
ในสมัยของพระองค์ ต้องประสพปัญหาความขัดแย้งกับอังกฤษ การสูญเสียดินแดนของพม่าตอนล่าง และปัญหาการแย่งชิงอำนาจภายในประเทศ
KING THIBAW AND QUEEN SUPHAYALAT (AD 1878-1885)
พระเจ้าสีป่อ
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามินดง กับเจ้าหญิงจากเมืองสีป่อ ในดินแดนไทใหญ่ มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายหม่องปู เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2402 ที่กรุงมัณฑะเลย์ เมืองหลวงของราชอาณาจักรพม่าในเวลานั้น เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น ได้ผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาวิชาการต่างๆ เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระราชบิดาจึงทรงแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองสีป่อ ซึ่งเป็นที่มาของพระนามเมื่อเสวยราชสมบัติในเวลาต่อมา
พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2421 ด้วยความช่วยเหลือจาก พระนางอเลนันดอ พระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดงผู้เป็นพระราชบิดา และเหล่าขุนนางชั้นสูงกลุ่มหนึ่ง พระองค์ได้ทรงเสกสมรสกับพระนางศุภยาลัต พระราชธิดาของพระเจ้ามินดงกับพระนางอเลนันดอ และพระขนิษฐาร่วมพระราชบิดาเดียวกัน ซึ่งพระนางศุภยาลัต เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินพระทัยในเหตุสำคัญต่างๆ ของพระเจ้าสีป่อเป็นอย่างมาก
ทางเข้าไปพระราชวังมัณฑะเลย์
HISTORICAL PHOTOGRAPHS OF MYA NAN SAN KYAW PALACE
พระราชวังไม้สัก ที่ถูกจำลองขึ้นมาใหม่
ในวันที่ไปนี้ ได้มีชาวพม่าไปถ่ายรูปพรีเวดดิ้งด้วยค่ะ แต่ไม่ได้บันทึกภาพมา
หญิงสาวพม่า
หอคอยพระราชวังมัณฑะเลย์
ค่าเข้าชมพระราชวังมัณฑะเลย์
10000 Kyat to Baht (ประมาณ 250 บาทไทย)
ข้อห้าม คำเตือนสำหรับนักท่องเที่ยว
ประตูทางเข้า
ประตูทางเข้า จากจุดที่ยืนถ่ายรูปนี้ ต้องเดินเข้าไป หากขี่มอเตอร์ไซต์มาก็ต้องดับเครื่องแล้วจูงเข้าไปนะคะ แล้วค่อยสตาร์ทอีกทีในนั้นค่ะ
ตำแหน่งพื้นที่ต่างๆ ในพระราชวัง – พื้นที่สีแดง ต้องห้าม
**ส่วนข้าวของเครื่องใช้บางส่วน ถูกนำไปจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพม่า ที่ย่างกุ้งค่ะ โดยไฮไลค์อยู่ที่พระแท่นสิงหาสน์ (Lion Throne) หรือ สีหสาสนบัลลังก์
วัดวังที่มัณฑะเลย์นั้นส่วนใหญ่เก็บค่าเข้าชม แนะนำนักท่องเที่ยวให้ซื้อบัตร Combo Ticket ค่ะ ราคา 10 ดอลลาห์ สามารถเข้าชมสถานที่ 3 สำคัญของเมือง ได้ใน 3 วัน นั่นคือ พระราชวังมัณฑะเลย์ วัดไม้สักทองชเวนันดอร์ และเมืองอังวะ
ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/มัณฑะเลย์ , www.oceansmile.com , รูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่า , oknation.nationtv.tv
ภาพและเรียบเรียงโดย Campus-Star.com
บทความแนะนำ
- บั้นปลายชีวิต พระนางศุภยาลัต | ฉันไม่ได้ฆ่าพวกเจ้าฟ้าชาย
- พระนางศุภยาลัต ราชินีองค์สุดท้ายของพม่า บันทึกความโหดเหี้ยมที่เล่าต่อกันมา
- พระนางอเลนันดอ นางพญาช้างเผือก (พระมารดาของพระนางพระนางศุภยาลัต)
- พระราชวังธีบอ เมืองรัตนคีรี ที่ประทับของพระเจ้าธีบอ หลังสิ้นสุดอำนาจ
- เที่ยวพม่า แวะพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชมสีหาสนะบัลลังก์ของจริง จาก มัณฑะเลย์
- ประวัติศาสตร์พม่า เขียนโดย หม่องทินอ่อง (อ่านฟรี แบบ PDF โดย MBookStore)