พระราชพิธี พิธีบรมราชาภิเษก วิฬาร์ เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร แมว โบราณราชประเพณี

เหตุผลที่ใช้ วิฬาร์ หรือ แมว เป็นเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในพิธีบรมราชาภิเษก

Home / สาระความรู้ / เหตุผลที่ใช้ วิฬาร์ หรือ แมว เป็นเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในพิธีบรมราชาภิเษก

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในพิธีบรมราชาภิเษก ทำไมถึงต้องใช้ วิฬาร์ หรือ แมว ในการร่วมขบวนเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร พร้อมเปิดความหมาย เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ที่ใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก

ทำไมต้องใช้ แมว เป็นเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร

พระราชพิธีเฉลิมพระมณเฑียร เป็นโบราณราชประเพณีที่สำคัญ ตามธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณเมื่อองค์พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก (พระราชพิธีเฉลิมพระยศ) จะเสด็จประทับอยู่เป็นประจำในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ซึ่งเป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระที่นั่ง ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง

โดยจะต้องจัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมราชมณเฑียร (หรือคำสามัญคือ พิธีขึ้นบ้านใหม่) ก่อน จึงจะเสด็จขึ้นประทับได้ ซึ่งมักจะจัดต่อเนื่องจากการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5 ทรงอุ้มวิฬาร์

เหตุผลที่ใช้แมว

โดยเครื่องที่เชิญตามเสด็จขึ้นไปประทับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน คือ เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค (และเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางอย่าง) โดยหนึ่งในเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรก็คือ แมว โดยเหตุผลที่ใช้แมวเพราะเชื่อว่า แมว เป็นสัตว์รู้ถิ่น จำบ้านตัวเองได้ แม้ว่าจะออกไปไหนก็จะกลับมาบ้านได้เสมอ เมื่อนำมาใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว ตามโบราณหมายถึง การอยู่บ้านใหม่เป็นปกติสุขไม่โยกย้าย

สำหรับเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในพิธีบรมราชาภิเษก นอกจากจะมีแมวแล้ว ยังมีเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรอื่น ๆ อีก โดยแต่ละอย่างนั้นก็มีความหมายดังต่อไปนี้

ภาพจากในสมัยรัชกาลที่ 7

เปิดความหมาย เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ในพิธีบรมราชาภิเษก

เครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ได้แก่ ไก่แจ้ขาว, ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์, ศิลาบด, กุญแจทอง, พานพืชมงคล, จั่นหมากทอง, ฟักเขียว และ วิฬาร์ (แมว)

– ไก่แจ้ขาว หมายถึง ความงามความมีอำนาจ

– ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์ หรือที่มีผู้เรียกอย่างสามัญว่า ไม้เท้าผีสิง เป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ หมายถึง ความงามความมีอำนาจ  เช่นเดียวกับไก่แจ้ขาว

( * ไก่แจ้ขาว และ ธารพระกรศักดิ์สิทธิ์ 2 อย่างนี้ผู้เชิญคนเดียว อุ้มไก่ขาวและเชิญธารพระกรด้วย มักให้สตรีรูปงามอุ้มและเชิญ)

– ศิลาบด หรือหินบดยา หมายถึง ความหนักแน่น ความไม่มีโรค

– กุญแจทอง หมายถึง ให้ความยกย่องและต้อนรับสู่บ้านใหม่

– ‏จั่นหมากทอง หมายถึง ความมั่งคั่ง เพราะหมากออกผลคราวหนึ่งเป็นทะลาย

– เมล็ดพืช พานพืชมงคล หมาย ถึงการงอกเงย

– ผลฟักเขียว หมายถึง อยู่เย็นเป็นสุข เพราะฟักเป็นผลไม้เนื้อเย็น

– วิฬาร์ หรือแมว เป็นสัตว์รู้ถิ่น หมายถึง การอยู่บ้านใหม่เป็นปกติสุขไม่โยกย้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก : @yewchai_chew, ibrary.stou.ac.th, ชมรมประวัติศาสตร์สยาม

บทความแนะนำ