พระราชพิธี พิธีบรมราชาภิเษก พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์

ภาพประวัติศาสตร์ พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒

Home / สาระความรู้ / ภาพประวัติศาสตร์ พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒๕๖๒

หลายคนตื่นเต้นกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 หนึ่งในขั้นตอนของงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือ พิธีพลีกรรมตักน้ำ จากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ ในวันที่ 6 เมษายน ตามมหาฤกษ์เวลา 11.52-12.38 นาฬิกา พร้อมกัน 76 จังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

ภาพประวัติศาสตร์ พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

ส่วนพิธีพลีกรรมตักน้ำสำหรับจัดทำน้ำสรงพระมุรธาภิเษก ใน 6 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี นครนายก สระบุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม และเพชรบุรี กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ผู้บริหารกระทรวง ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธานในพิธี

พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ หมายถึงอะไร

พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์คือ พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อขออนุญาตเทวดาที่ปกปักรักษาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาทำน้ำอภิเษก และน้ำสรงมุรธาภิเษก ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ความหมายของคำว่า “สรงมุรธาภิเษก”

คำว่า มุรธาภิเษก (มุ-ระ-ทา-พิ-เสก) แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร น้ำที่รดเรียกว่า สรงมุรธาภิเษก หมายถึง การยกให้ หรือแต่งตั้งด้วยการทำพิธีรดน้ำ ซึ่งตามคติความเชื่อของพราหมณ์ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์

ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตักน้ำศักดิ์สิทธิ์

พิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้ ที่ตักน้ำทองเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ด้ามจับยาว 6 นิ้ว ตักน้ำบรรจุใส่ในขันน้ำสาครทองเหลือง โดยตักปริมาตร 3 ใน 4 ของขันน้ำสาคร จากนั้นปิดปากและห่อขันน้ำสาครด้วยผ้าขาว

ภาพจาก Facebook : ArMoo Chumphon

คนโทน้ำอภิเษก : ใช้บรรจุน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ผ่าน พิธีทำน้ำอภิเษก สามารถบรรจุน้ำได้ 4.5 ลิตร เป็นคนโทเซรามิก มีลวดลายกระจังเป็นลายน้ำทอง เคลือบสีขาวทั้งใบ โดยด้านหน้าจะมีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ส่วนด้านหลังจะมีภาพเครื่องหมายราชการแต่ละจังหวัด

เทียนชัย : เทียนชัย 1 เล่ม หนัก 80 บาท ไส้ 108 เส้น สูงเท่าความสูงของประธาน

เทียนมหามงคล : เทียนมงคล 1 เล่ม หนัก 10 บาท ไส้เกินกว่าอายุประธาน หรือเจ้าภาพ 1 เส้น สูงเท่าวงรอบศีรษะ

เทียนพุทธาภิเษก : เทียนพุทธาภิเษก 2 เล่ม หนักเล่มละ 32 บาท ไส้ 56 เส้น สูงประมาณกึ่งหนึ่งของเทียนชัย

อัญเชิญขันน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปยังพระอารามสำคัญของแต่ละจังหวัดที่มีการคัดเลือก เพื่อเตรียมทำพิธีเสกน้ำทำน้ำอภิเษกในวันที่ 8 เมษายน 2562 ต่อไป

ชมภาพประวัติศาสตร์

จังหวัดศรีสะเกษ / Facebook : Thinnakorn Pinthong

จังหวัดน่าน

จังหวัดขอนแก่น

ลำดับขั้นตอน : หลังจากพิธีพลีกรรมตักน้ำอภิเษกใส่ลงในคนโทน้ำอภิเษกแล้ว จะมีพิธีทำน้ำอภิเษก พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก ก่อนจะเชิญคนโทน้ำอภิเษกของจังหวัดมาเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย และต่อไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อประกอบพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์รวม และสุดท้ายนำไปไว้ยัง พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จังหวัดนครราชสีมา

อยากรู้ว่าในจังหวัดตนเอง มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมน้ำอภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ได้ที่ phralan.in.th

จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

จังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดสตูล

จังหวัดนราธิวาส

จังหวัดภูเก็ต

จังหวัดตราด

จังหวัดจันทบุรี

จังหวัดพิษณุโลก

จัวหวัดมหาสารคาม

จังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดเลย

จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบพิธีพลีกรรมตักน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ สระแก้วและสระขวัญ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

ภาพจาก ขวัญแพรว เอี่ยมวิจารณ์

ทั้งนี้จังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากกว่า 1 แหล่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณามอบหมาย ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการเป็นประธานตามลำดับ

ขอบคุณภาพจาก : อนุสาร อ.ส.ท.

แสงแห่งปาฏิหาริย์.. แห่งเมืองเล็กๆ

“เมืองแห่งความจงรักภักดี” เช้าวันที่ 6​ เมย.62 ก่อนพิธีพลีกรรม​ตักน้ำฯ​ของบ่อน้ำแร่รักษะวาริน จังหวัดระนอง

ภาพจาก Facebook : Anunida Anantachoke

ประมวลภาพพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ จ.ชุมพร

ณ วัดถ้ำเขาพลู อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ภาพจาก Facebook : ArMoo Chumphon

ข้อมูล : การเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ติดตามข้อมูลพิธีการเพิ่มเติม : ข้อมูลและภาพพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ , พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช๒๕๖๒

บทความแนะนำ