ประวัติศาสตร์ไทย พระบรมมหาราชวัง พระมหากษัตริย์ พระราชวัง พระราชวังฤดูร้อน พระราชวังหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑ์ วังหน้า

ข้อมูล-ภาพ พระราชวัง และวังในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Home / สาระความรู้ / ข้อมูล-ภาพ พระราชวัง และวังในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

บทความนี้มีความรู้เกี่ยวกับ พระราชวัง ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ที่ในพระราชวังนั้นยังประกอบไปด้วย “เรือนตำหนัก” คือเรือนที่ประทับ รวมถึงตำหนักต่างๆ ที่มีในประเทศไทย  ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่ง เปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม ไปแล้ว .. โดยวังใดจะเรียกว่าพระราชวังได้นั้น จะต้องมีพระบรมราชโองการสถาปนาขึ้นเป็น “พระราชวัง” เท่านั้น โดยในประเทศไทยมีพระราชวังและวัง ดังนี้

พระราชวัง และวัง พระตำหนักในไทย

“พระราชวัง”

พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร … ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวัง เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน / ข้อมูลเพิ่มเติม

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์ เป็นวังที่ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่า สราญรมย์ แต่เสด็จสวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จ / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังสราญรมย์ , บทความวังสราญรมย์เวทีการต่อสู้ทางการทูตของไทย , “วังสราญรมย์” ตอน 2 (ทัศนียภาพภายในที่สุดแสนสราญรมย์)

พระราชวังดุสิต

พระบรมรูปทรงม้าบริเวณลานพระราชวังดุสิต ในเวลากลางคืน

พระราชวังดุสิตได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ทำการของรัฐบาล ยังคงเหลือเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นเขตพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในส่วนของพระที่นั่งอัมพรสถาน / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังดุสิต

พระราชวังโบราณ

สถานที่ภายในพระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ

สถานที่ภายในพระราชวังหลวง หรือ พระราชวังโบราณ

พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยา : พระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

เมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระที่นั่ง 3 องค์ ได้แก่ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท และ พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ในเขตวัดพระศรีสรรเพชญ์ในปัจจุบัน และ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งมังคลาภิเษกมหาปราสาทและพระที่นั่งตรีมุขด้วย พระราชวังระยะแรกนี้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ 7 พระองค์ เป็นเวลา 98 ปี

ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ขึ้นเป็นที่ประทับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นวังหลวงสมัยอยุธยาตอนปลายมี พระมหาปราสาทรวมทั้งสิ้น ๖ องค์ เป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ 10 พระองค์ เป็นเวลา 137 ปี จนเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2310 / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังโบราณ_อยุธยา

พระราชวังจันทรเกษม จ.พระนครศรีอยุธยา

วังหน้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี , ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

พระราชวังจันทรเกษม สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นประมาณปีพ.ศ.2120 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เพื่อใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยามเสด็จจากเมืองพิษณุโลก เพื่อมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อตำแหน่งวังหน้าถูกสถาปนาขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกใช้เป็นที่ประทับของวังหน้าเรื่อยมา นับตั้งแต่ สมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์

จุดที่ตั้งของพระราชวังแห่งนี้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงศรีอยุธยา เพราะตั้งอยู่บริเวณหัวรอ จุดที่บรรจบของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ที่นี่เป็นกองบัญชาการรับศึกหงสาวดีเมื่อปี พ.ศ.2129 / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังจันทรเกษม , พระราชวังจันทรเกษม (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม) , วังจันทรเกษม มิวเซียมที่กรุงเก่า

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี

ประตูทางเข้าก่อนทาสีใหม่ ในปี 2553, หมู่ตึกพระคลังศุภรัตน์หรือหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลัง,
ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง, ภายใน พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ ธัญญมหาปราสาท ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2232

ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” / ข้อมูลเพิ่มเติม พระนารายณ์ราชนิเวศน์

พระราชวังเดิม

พระราชวังกรุงธนบุรี มุมมองจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

พระราชวังกรุงธนบุรี มุมมองจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

พระราชวังหลวงสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ

เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) จึงได้ชื่อว่า “พระราชวังเดิม” ตั้งแต่บัดนั้น

มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หลังจากสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ ทรงพระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจากนายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2449 หลังจากโรงเรียนนายเรือย้ายออกไปอยู่สัตหีบ และย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ กองทัพเรือจึงได้ใช้ พระราชวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังเดิม , รูปภาพ พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

พระราชวังบวรสถานมงคล

ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325

การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบัน คือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) ขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังบวรสถานมงคล , ภาพจาก writer.dek-d.com

พระราชวังบวรสถานพิมุข

ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริราช

พระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ วังหลัง คือ วังของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานภิมุขในรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นที่ตำบลสวนลิ้นจี่ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ถือว่าเป็นพระราชนิเวศน์เดิมของพระองค์ท่าน พื้นที่ดังกล่าวนี้มีขอบเขตทางทิศเหนือจรดกำแพงเมืองธนบุรีเดิม ทางทิศใต้จรดฉางเกลือ / วังหลัง

พระราชวังปทุมวัน

ส่วนหนึ่งของพระราชวังปทุมวันและวัดปทุมวนาราม ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 4

ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์

สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบใกล้กับวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แต่เดิมพื้นที่นี้เป็นนาหลวงเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ มีบัวหลวงมากมาย เมื่อสร้างพระราชวังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังปทุมวัน” วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็นที่เสด็จประพาส และให้เป็นที่พักผ่อนของประชาชน โปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระใหญ่ ๒ สระติดต่อกัน สระด้านทิศเหนือเป็นที่เสด็จประพาส สร้างพลับพลาที่ประทับ มีพระที่นั่ง ๒ ชั้น สำหรับประทับแรม ที่ริมสระด้านตะวันตกให้สร้างวัดประจำพระราชวัง ชื่อว่าวัดปทุมวนาราม และให้อาราธนาพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายมาอยู่ตั้งแต่แรกสร้าง สระด้านใต้ให้ประชาชนไปเล่นเรือได้ ดินที่ขุดจากสระให้ทำเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ แล้วขุดคลองจากคลองแสนแสบมาเชื่อมสระ / พระราชวังปทุมวัน

พระจุฑาธุชราชฐาน

พระจุฑาธุชราชฐาน ตั้งอยู่ ณ เกาะสีชัง จ.ชลบุรี อดีตเคยเป็นพระราชวังฤดูร้อนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเหตุการณ์วิกฤต ร.ศ.112 ก็สิ้นสุดการเป็นเขตพระราชฐาน และมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ มาขอใช้พื้นที่ … ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอใช้พื้นที่บางส่วนเพื่อเป็นสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต และทำหน้าที่ดูแลรักษาพระจุฑาธุชราชฐานไปในคราวเดียวกัน / ภาพจาก พระจุฑาธุชราชฐาน พระราชวังแห่งเดียวในไทยที่สร้างอยู่บนเกาะ!

พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ในพระราชวังสนามจันทร์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ในพระราชวังสนามจันทร์

ปัจจุบัน เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พื้นที่บางส่วนเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า”เนินปราสาท” เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการพระปฐมเจดีย์ และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต

พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นพระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นแม่งาน และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า “พระราชวังสนามจันทร์” ตามชื่อสระน้ำโบราณหน้าโบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันไม่มีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่แล้ว) “สระน้ำจันทร์” หรือ “สระบัว” / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังสนามจันทร์ ,  พระราชวังสนามจันทร์ News.mthai.com , ภาพปก พระราชวังสนามจันทร์ www.hieristhailand.nl

พระราชวังพญาไท

พระราชวังพญาไท

ปัจจุบัน อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม

พระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระราชทานนามให้ว่า “พระตำหนักพญาไท” หรือ “วังพญาไท” ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระราชวังพญาไทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวังบางปะอิน

ดูข้อมูล พระราชวังบางปะอิน เพิ่มเติม www.emagtravel.com/archive/bangpain-palace , พระราชวังบางปะอิน วิกิพีเดีย

จ.พระนครศรีอยุธยา : ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

จ.เพชรบุรี : ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของค่ายพระรามหกและเปิดให้ประชาชนได้เข้าชม

พระราชวังปฐมนคร

จ.นครปฐม : ปัจจุบัน เหลือแต่ฐาน

พระราชวังริมน้ำเมืองราชบุรี

ปัจจุบันรื้อถอนลงแล้ว กลายเป็นพื้นที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรี

พระราชวังริมน้ำเมืองราชบุรี เป็นพระราชวังที่สร้างตรงที่พลับพลาเดิม ( พลับพลานี้สร้างสำหรับเป็นที่ประทับในเวลาเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยประทับครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ) ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว อยู่ทางฝั่งตะวันตกตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี ได้ก่อกำแพงล้อมรอบและสร้างพระที่นั่งทำเป็นตึกหลังใหญ่ อยู่กลางสวนหลังหนึ่ง แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ครั้นเมื่อได้จัดตั้งกองทหารขึ้น ทรงเห็นความจำเป็นในทางทหารมากกว่าพระองค์ จึงโปรดให้ใช้เป็นโรงทหารอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งทางทหารได้จัดสร้างที่ขึ้นใหม่ และย้ายไปอยู่ ณ ที่ซึ่งสร้างขึ้นใหม่นั้นแล้ว จึงพระราชทานพระราชวังนี้ให้แก่ตำรวจต่อไป และปรากฏว่าทางตำรวจได้ใช้เป็นสถานีตำรวจภูธรประจำจังหวัดราชบุรีเรื่อยมาจวบจนปัจจุบันนี้ / ข้อมูลเพิ่มเติม

พระราชวังเมืองสมุทรปราการ

พระราชวังสมุทรปราการ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงโปรดฯ ในการเสด็จประพาสเมืองปากน้ำ(สมุทรปราการในปัจจุบัน) เพราะมีหาดทรายขาว ลำน้ำสงบนิ่ง มีธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงาม (ครั้งยังไม่มีเรือใหญ่แล่นผ่าน) และที่สำคัญที่สุด คือ พระสมุทรเจดีย์ โดยเสด็จลงเรือข้ามจากฝั่งอำเภอเมือง ไปนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์หลายครั้ง บันทึกในพงศาวดารยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทรงปฏิบัติเช่นว่านี้มาตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวช เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริในการปฏิสังขรณ์องค์พระสมุทรเจดีย์ให้ยิ่งใหญ่ด้วยความสูงถึง ๑๙ วา ๒ ศอก ครอบองค์พระเจดีย์ดั้งเดิมที่ก่อสร้างมาแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างการปรับปรุงพระสมุทรเจดีย์ขึ้นใหม่นี้เอง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง เพื่อทรงเตรียมไว้เป็นที่ประทับ ในยามเสด็จมาตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการ พระราชวังใหม่สร้างขึ้นที่ฝั่งตัวเมือง (ฝั่งตลาด) ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณถนนด่านเก่า ไปจรดพื้นที่รอบตลาดวิบูลย์ศรีในปัจจุบัน ทรงใช้โอกาสในวันสมโภชพระสมุทรเจดีย์องค์ใหม่ พระราชทานนามว่า “พระราชวังสมุทรปราการ

พระราชวังรัตนรังสรรค์

พระราชวังรัตนรังสรรค์ เป็นพระราชวังที่จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จประทับแรมจังหวัดระนอง ของพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2433) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2452) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2471) และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดระนอง

พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขารัตนรังสรรค์ (ใกล้ศาลากลางจังหวัดระนอง)ตำบลเขานิเวศน์ เป็นพระราชวังที่ทำด้วยไม้สักและไม้ตะเคียนทอง สิ่งที่จัดแสดงภายในพระราชวังฯ ได้แก่ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ชั้น 3)ห้องพระราชินี (ชั้น 2) มีจำนวน 6ห้อง อาคารทรงแปดเหลี่ยม อาคารท้องพระโรง สะพานเชื่อมอาคารที่ประทับกับอาคารแปดเหลี่ยม / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังรัตนรังสรรค์ , ดูภาพ พระราชวังรัตนรังสรรค์ , อนุสาร อสท

พระรามราชนิเวศน์ / วังบ้านปืน

พระรามราชนิเวศน์ / วังบ้านปืน

พระรามราชนิเวศน์ หรือ วังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นประทับแปรพระราชฐานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2453 / ข้อมูลเพิ่มเติม , พระราชวังบ้านปืน วังอันงดงาม

พระราชวังสวนหลวง / วังหลัง

พระราชวังสวนหลวง / วังหลัง

พระราชวังสวนหลวง หรือ วังหลัง ตั้งอยู่ริมวัดสบสวรรค์ ตำบลท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังที่ปรากฏหลักฐานตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 เรื่องอุปราชาภิเษกกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สันนิษฐานได้ว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถ พร้อมกับการสร้างพระราชวังจันทรเกษมเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร เพราะอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง จึงเรียกว่าวังหลังแต่นั้นมา

ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์นั้นปรากฏว่าทรงโปรดฯ ให้พระไตรภูวนาถทิตยวงศ พระราชอนุชา ประทับอยู่ที่วังหลัง แต่หาได้เพิ่มยศศักดิ์อย่างใดไม่ ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายจบคชประสิทธิ์ผู้เป็นหลานเป็นเจ้าชั้นสูงรองแต่พระมหาอุปราชลงมา ให้อยู่วังหลัง แล้วขนานนามว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข จึงเกิดนามเรียกวังหลังว่า พระราชวังบวรสถานพิมุข แต่นั้นสืบมา / ข้อมูลเพิ่มเติมพระราชวังสวนหลวง , ททท

พระบวรราชวังสีทา

พระบวรราชวังสีทา ตั้งอยู่ที่ ต.สองคอน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ประวัติพระราชวังแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างที่ริมแม่น้ำป่าสักฝั่งตะวันตก ณ ตำบลบ้านสีทา ในแขวงจังหวัดสระบุรีสร้างคราวเดียวกับเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เมืองลพบุรี

มูลเหตุเกิดแต่คราวหาที่สร้างราชธานีสำหรับเวลาสงครามดังกล่าวมานั้น ได้โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จไปตรวจเมืองนครราชสีมา ทรงเห็นภูมิลำเนากันดารไม่เหมาะ มาโปรดที่เขาคอก ในแขวงจังหวัดสระบุรี ว่าเหมือนเป็นป้อมอยู่โดยธรรมชาติจึงสร้างที่ประทับขึ้น ณ ตำบลบ้านสีทา อันอาจไม่มาถึงเขาคอกได้สะดวก แล้วเสด็จประทับ ณ ที่นั่น เพื่อตกแต่งเขาคอกไว้เป็นป้อมปราการสำหรับต่อสู้ข้าศึกแห่งหนึ่ง

ปัจจุบันบ ริเวณซึ่งที่เคยเป็นพระราชวังกลับเป็นบ้านราษฎร ประกอบอาชีพ ทำไร่ปลูกข้าวโพด มีการไถทำลายซากเดิมแทบจะสังเกตไม่ออก ต่อมากำนัน สุพัฒน์ ฤทธิ์จำปา กันเอาไว้เป็นที่สาธารณะประมาณ 4 ไร่เศษ บริเวณนี้ปรากฏเป็นชานประตูก่ออิฐฉาบปูน มีรอยวางแผ่นกระดานทำสะพานยื่นไปยังบึงน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “บึงตลาดไชย” ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัววังสีทา ห่างประมาณ 100 เมตรเศษ เล่ากันว่าทรงให้ใช้เป็นที่ประทับสรงน้ำจากบึงแห่งนี้ และเป็นที่ชุมนุมเหล่าสนมกำนัลนางฝ่ายใน เมื่อคราวเสด็จมาพักแรมในฤดูร้อนทุกๆ ปี และยังมีลูกๆ หลานๆ เหล่าสนมสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ อยู่เล่าสืบกันว่าสนมของพระองค์ทุกนางเก่งในทางแอ่วลาวมากที่สุด จนกระทั่งพระองค์เองสามารถเป่าแคนและแอ่วลาวได้ ถึงกับทรงพระราชนิพนธ์กลอนลำแอ่วลาวไว้หลายเล่มสมุดไทย คงเหลือปรากฏอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้ / ข้อมูลเพิ่มเติม พระบวรราชวังสีทา , ททท.

พระราชวังจันทน์

พระราชวังจันทน์ ตั้งอยู่ติดกับ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพภาคที่ 3 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการบูรณะ ค้นหาแนวเขตพระราชวังจันทน์ ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว / ข้อมูลเพิ่มเติม พระราชวังจันทน์ , ตามรอยพระราชวังจันทน์ ราชสำนักเมืองพิษณุโลก

. . . . .

“วัง” ในประเทศไทย

วัง หรือ พระราชวัง เป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมือง ที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม

วังสระปทุม

วังสระปทุม

รายชื่อวังอื่นๆ ในประเทศไทย

วังสระปทุม • วังเกษมสันต์ • วังขาว • วังเขียว • วังคลังสินค้า • วังคลองตลาด • วังคลองเตย • วังคันธวาส • วังจักรพงษ์ • วังจันทรเกษม • วังชิดลม • วังไชยา • วังดินสอ • วังตรอกสาเก • วังตลาดน้อย • วังถนนพระอาทิตย์ • วังทวีวัฒนา • วังท่าพระ • วังท่าพายัพ • วังท้ายหับเผย • วังเทวะเวสม์ • วังเทเวศร์ • วังนฤมล • วังนางเลิ้ง • วังบางขุนพรหม • วังบางคอแหลม • วังบางพลู • วังบ้านดอกไม้ • วังบ้านปูน • วังบ้านหม้อ • วังบูรพาภิรมย์ • วังประมวญ • วังปากคลองตลาด • วังปารุสกวัน • พระกรุณานิเวศน์ • วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ • วังพระอาทิตย์ • วังเพชรบุรี • วังเพ็ชรบูรณ์ • วังโพธิยายรด • วังมหานาค • บ้านมะลิวัลย์ • วังมังคละ • วังไม้ • วังรพีพัฒน์ • วังรังสิต • วังรัตนาภา • วังราชทัต • วังริมคลองภาษีเจริญ • วังริมป้อมพระสุเมรุ • วังรื่นฤดี • วังลดาวัลย์ • วังละโว้ • วังลักษมีวิลาศ • วังวรจักร • วังวรดิศ • วังวรวรรณ • วังวัชรีวงศ์ • วังวาริชเวสม์ • วังวิทยุ • วังวินด์เซอร์ • วังศุโขทัย • วังสงัด • วังสรรพสาตรศุภกิจ • วังสะพานขาว • วังสะพานช้างโรงสี • วังสะพานเสี้ยว • วังสามเสน • วังสามยอด • วังสวนบ้านแก้ว • วังสวนปาริจฉัตก์ • วังสวนผักกาด • วังสวนมังคุด • วังสวนสุนันทา

. . . . .

“พระตำหนัก”

ตำหนัก หมายถึง เรือนที่อยู่ของเจ้านาย หรือกุฏิของสมเด็จพระสังฆราช กรณีที่เป็นเรือนของเจ้านายชั้นสูงจะใช้คำว่า พระตำหนัก

ตำหนักในประเทศไทย

พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ • พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ นราธิวาส • พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เชียงใหม่ • พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร • พระตำหนักสิริยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา • พระตำหนักเลอดิศ • พระตำหนักวิลล่าวัฒนา •  พระตำหนักจักรีบงกช จังหวัดปทุมธานี • พระตำหนักพัชราลัย • พระตำหนักประถม นนทบุรี ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุธาธุชธราดิล กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย • พระตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม • พระตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
• พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ • พระตำหนักแพ วังเลอดิส • พระตำหนักสวนปทุม • พระตำหนักพิมานมาศ ชลบุรี• พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระราชวังสนามจันทร์ • • พระตำหนักดอยตุง จังหวัดเชียงราย • พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังค์

พระตำหนักเขาน้อย จ.สงขลา

พระตำหนักเขาน้อย จ.สงขลา

พระตำหนักกว๊านพะเยา • พระตำหนักกองบิน 41 • พระตำหนักเกาะสีชัง • พระตำหนักเขาค้อ • พระตำหนักเขาน้อย • พระตำหนักเขียว • พระตำหนักประทับแรมเขื่อนห้วยเสนง • พระตำหนักเขื่อนห้วยหลวง • พระตำหนักคลองหอยโข่ง • พระตำหนักคำหยาด • พระตำหนักจักรีบงกช • พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน • พระตำหนักดอยตุง • พระตำหนักดาราภิรมย์ • พระตำหนักในพระราชวังดุสิต • ตำหนักตะพานเกลือ • ตำหนักทอง • พระตำหนักทะเลน้อย • พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ • ตำหนักทิพย์ • พระตำหนักทิพย์พิมาน • พระตำหนักทุ่งกระมัง • เรือนทูลกระหม่อมมหิดลประทาน • พระตำหนักธงน้อย • พระตำหนักธารเกษม • พระตำหนักนนทบุรี • ตำหนักประถม-นนทบุรี • พระตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง • พระตำหนักปางตอง • พระตำหนักพัชราลัย • พระตำหนักพิมานมาศ • พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ • พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ • พระตำหนักภูพิมาน • พระตำหนักภูฟ้า • พระตำหนักภูหลวง • พระตำหนักมหาราช-พระตำหนักราชินี • พระตำหนักม่อนจ๊อกป๊อก • พระตำหนักเมืองนคร • พระตำหนักระยอง • พระตำหนักริมน้ำน่าน • พระตำหนักริมผา • พระตำหนักเลอดิส • พระตำหนักเวียงเหล็ก • พระตำหนักสวนรื่นฤดี • พระตำหนักสระยอ • พระตำหนัก 3 จั่ว • พระตำหนักสิริยาลัย • พระตำหนักสุขทาลัย • พระตำหนักหนองประจักษ์ • พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ • พระตำหนักอรอาสน์ • พระตำหนักอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ • พระตำหนักไอยรา • พระตำหนักเอื้องเงิน

. . . . .

เรือนรับรอง

รายชื่อเรือนรับรองในประเทศไทย

เรือนรับรองที่ประทับกองบิน 23 • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนจุฬาภรณ์ • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนบางลาง • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนภูมิพล • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนรัชชประภา • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนวชิราลงกรณ์ • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนศรีนครินทร์ • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนสิริกิติ์ • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนสิรินธร • เรือนรับรองที่ประทับเขื่อนอุบลรัตน์ • เรือนรับรองที่ประทับค่ายกาวิละ • อาคารที่ประทับรับรองบ่อน้ำมันฝาง • เรือนประทับรับรอง (บ้านขุนดง/บ้านขุนไพร/บ้านสิมิลัน) • เรือนที่ประทับโป่งแดง • เรือนพลับพลาเขาดอกไม้ • เรือนรับรองที่ประทับภูฝอยลม • เรือนรับรองที่ประทับภูเรือ • เรือนรับรองที่ประทับสำนักชลประทานที่ 1 • เรือนรับรองที่ประทับสำนักชลประทานที่ 6 • เรือนรับรองเหมืองผาแดง • เรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค • เรือนที่ประทับอ่าวดงตาล

เรือนรับรองพิเศษ กฟผ. ที่ประทับทรงงานของในหลวง

พลับพลาที่ประทับ

พลับพลาที่ประทับรัชกาลที่ 7 • พลับพลาที่ประทับทรงงานที่อุทยานแห่งชาติภูผายล • พลับพลาที่ประทับและศาลาเฉลิมพระเกียรติแหลมผักเบี้ย

สถานที่อื่น

พระจุฑาธุชราชฐาน • อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

ข้อมูลอื่นๆ น่าสนใจ

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่ง

พระที่นั่ง มีหลายความหมาย ความหมายแรกนั้น หมายถึง เรือนที่ประทับหรือที่สำหรับทรงงานสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน ทั้งประเภทเรือนยอด (หรือที่เรียกว่าปราสาท) และเรือนหลังคาจั่ว พระที่นั่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสถานที่ภายในองค์ปราสาทที่ใช้สำหรับประกอบกิจต่าง ๆ หรืออาจหมายถึง พระราชอาสน์หรือที่นั่งที่มีชื่อเฉพาะในแต่ละองค์ โดยถ้าใช้คำว่าพระที่นั่งประกอบกับคำอื่น ๆ ก็มีความหมายว่าเป็นพาหนะที่จัดเฉพาะพระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เช่น รถพระที่นั่ง เรือพระที่นั่ง

ปราสาท

คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก

ที่มา รายชื่อพระราชวังและวังในประเทศไทย , พระที่นั่งในประเทศไทย , ตำหนัก , พระราชวังเดิม , ปราสาท , เมืองโบราณ , กรมศิลปากร

บทความแนะนำ