กรมอุตุนิยมวิทยา การตั้งชื่อ พายุ

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ – ที่มาของพายุไต้ฝุ่นมังคุด พายุชื่อผลไม้ไทย

Home / สาระความรู้ / เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ – ที่มาของพายุไต้ฝุ่นมังคุด พายุชื่อผลไม้ไทย

ในปี 2561 นั้น มีชื่อพายุหนึ่งที่ชื่อเหมือนผลไม้ไทยมาก คือ พายุไต้ฝุ่นมังคด นั่นเลยเป็นที่มาของบทความนี้ ที่เกิดจากความสงสัยว่า ชื่อพายุต่างๆ ได้มายังไง ใครเป็นคนตั้ง หรือจะเป็นแค่ชื่อพายุที่ออกเสียงมังคุด ???

เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ ก่อนเป็นที่มาของไต้ฝุ่นมังคุด

การตั้งชื่อพายุสมัยก่อน จะใช้ชื่อผู้หญิงในการตั้ง เพราะฟังแล้วจะดูอ่อนโยนอ่อนหวาน แต่เมื่อถูกนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯ ได้ออกมาประท้วงว่า การใช้ชื่อผู้หญิงเป็นชื่อพายุ ทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย จึงมีการใช้ชื่อของผู้ชายด้วย

ก่อนที่ในปี ค.ศ.2000 หรือประมาณ ปี 2543 การตั้งชื่อพายุ จะเปลี่ยนไป ประเทศต่างๆ จากทุกโซนทั่วโลกจำนวน 14 ที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ (ไม่เอาเฉพาะแต่ชื่อฝรั่ง)

แต่ละประเทศส่งชื่อพายุในภาษาของตน

โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตน มาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ จากนั้นจะนำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศมาตามอักษรโรมัน ข้อตกลง ตามข้อตกลงดังนี้ คือ

1. เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 น็อต หรือ 63 กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ

2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุด ใกล้จุดศูนย์กลาง ตามที่กำหนด ในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า “Damrey (ดอมเรย์)”

3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 3.1 พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมา ในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า “Longwang (หลงหวาง)”

4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ จากนั้นให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Trami (ทรามี)” จะใช้ชื่อ “Kongrey (กองเรย์)”

5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ “Saola (เซลลา)” จะใช้ชื่อ “Damrey (ดอมเรย์)”

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ

ความหมายของชื่อพายุ ของไทย

สำหรับประเทศไทยทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน แต่ในบางปีได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ พระพิรุณ – วิภา – เมขลานิดา – กุหลาบ – มังคุดบัวลอย – อัสนี – ชบา – ขนุน

ซึ่ง 10 ชื่อพายุ ที่ไทยตั้ง ได้มีการนำมาใช้แล้วตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา ได้วนกลับมาใช้ชื่อ “พระพิรุณ” อีกครั้งตามกฎ หลังเกิดพายุโซนร้อน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวไปทางใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 2-4 ก.ค. 2561

ที่มาของชื่อพายุมังคุด

ที่มาของชื่อพายุมังคุด ที่กำลังพัดถล่มในหลายประเทศอยู่ในขณะนี้นั้น เป็นเพราะประจวบเหมาะตรงกับตารางความหมาย และที่มาของชื่อพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ Column I พอดี

จึงทำให้พายุลูกนี้มีชื่อว่า มังคุด ซึ่งตรงกับชื่อของผลไม้ชนิดหนึ่งของไทย .. ทั้งนี้นอกจากมังคุดแล้ว ยังมีชื่อพายุตามตารางอีกมากมาย เช่น ไคตั๊ก ยางิ เซบี จ่ามี มาเรีย และ แคมี เป็นต้น

ข้อมูลจาก wikipedia.org

บทความแนะนำ