ดาราศาสตร์ ดาวอังคาร ดาวอังคารโคจรใกล้โลก ปี 2018

ห้ามพลาด … ดาวอังคารโคจรใกล้โลกมากที่สุด ในรอบ 15 ปี คืนนี้ 31 ก.ค. 61

Home / เรื่องทั่วไป / ห้ามพลาด … ดาวอังคารโคจรใกล้โลกมากที่สุด ในรอบ 15 ปี คืนนี้ 31 ก.ค. 61

หนึ่งปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2018 นั่นคือ “ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี” โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมจะเกิดสองปรากฏการณ์คือ ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 27 ก.ค 61 และดาวอังคารใกล้โลกในวันที่ 31 ก.ค 61

ดาวอังคารโคจรใกล้โลกมากที่สุด ในรอบ 15 ปี

ซึ่งในวันนี้ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 หากพลาดโอกาสในครั้งนี้อาจจะได้เห็นดาวอังคารโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดอีกครั้งอีก 17 ปีข้างหน้า (ปี 2578) โดยปกติดาวอังคารจะโคจรเข้าใกล้โลกทุกๆ 2 ปี (ประมาณ) และจะเข้าใกล้โลกที่สุดทุกๆ 15-17 ปี

ดาวอังคารโคจรใกล้โลกมากที่สุด ในรอบ 15 ปี

โดยการเข้าใกล้โลกในครั้งนี้ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกประมาณ 57.6 ล้านกิโลเมตร  จากระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 225 ล้านกิโลเมตร ซึ่งดาวอังคารจะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีขนาดปรากฏใหญ่และสว่างมาก สีส้มแดง มองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งคืน หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดหน้ากล้องตั้งแต่ 10 นิ้ว และมีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตเห็นขั้วน้ำแข็งและพื้นผิวดาวอังคารได้

ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จัดจุดสังเกตปรากฎการณ์ดังกล่าวในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. พร้อมเชิญผู้สนใจส่องดาวอังคารแบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ ส่องวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้าที่น่าสนใจ อาทิ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ณ 4 จุด สังเกตการณ์หลัก ได้แก่

  1. เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353
  2. นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 086-4291489
  3. ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
  4. สงขลา : ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา โทร. 095-1450411

และเครือข่ายอีก 360 แห่งทั่วประเทศ สามารถตรวจสอบเครือข่ายได้ ที่นี่

ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก narit.or.th, FB: สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

บทความแนะนำ