Super Full Moon Super Moon ดวงจันทร์

ต้อนรับปีใหม่ด้วย Super Full Moon ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี 2018

Home / เรื่องทั่วไป / ต้อนรับปีใหม่ด้วย Super Full Moon ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี 2018

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนดูดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกในวันที่ 2 มกราคมนี้ ซึ่งเป็น “ซูเปอร์ฟูลมูน” แห่งปี ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2018 ห่างประมาณ 356,595 กิโลเมตร ใกล้และใหญ่กว่าปี 2017 ที่ผ่านมา

ซูเปอร์ฟูลมูน ใหญ่ที่สุดในรอบปี

หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถเฝ้ารอชมและเก็บภาพความสวยงามของดวงจันทร์ได้ในคืนดังกล่าว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนประชาชนร่วมส่องจันทร์ดวงโตชัดเต็มตาด้วยกล้องโทรทรรศน์หลายรูปแบบ และร่วมบันทึกภาพหลุมอุกกาบาตและภูเขาบนดวงจันทร์ผ่านมือถือ โดยในคืนวันที่ 2 มกราคม 2561 จัดจุดสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวง 4 จุดหลัก ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมโรงเรียนเครือข่ายในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ฯ อีกกว่า 260 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น. โดย 4 จุดหลัก ได่้แก่

  • เชียงใหม่ – ลานน้ำพุ ศูนย์การค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์
    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 053-121268-9 ต่อ 305, 081-8854353
  • นครราชสีมา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 044-216254, 086-4291489
  • ฉะเชิงเทรา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 084-0882264
  • สงขลา – ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 095-1450411

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น แต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) และตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) แม้ว่าดวงจันทร์จะมีตำแหน่งโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์ก็ไม่ได้ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง ซึ่งครั้งต่อไปที่ดวงจันทร์จะปรากฎเต็มดวงอีกครั้งตรงกับวันที่ 21 มกราคม 2562

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page, pinterest.com

บทความแนะนำ