การพูด คำพูด พัฒนาตนเอง พูดคุย พูดไม่เก่ง เทคนิคการพูด

กลัวการชวนคุย แก้ไขได้! เทคนิคหาเรื่องคุย วิธีแก้ไขสำหรับคนพูดคุยไม่เก่ง คนไม่ช่างพูด

Home / เรื่องทั่วไป / กลัวการชวนคุย แก้ไขได้! เทคนิคหาเรื่องคุย วิธีแก้ไขสำหรับคนพูดคุยไม่เก่ง คนไม่ช่างพูด

ใครที่มีอาการ “กลัวการชวนคุย” มักมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน เมื่อต้องเจอพูดคุยกับคนใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จัก เมื่ออยู่ท่ามกลางคนหมู่มากแล้วอยากจะวิ่งหนี เพราะไม่รู้จะคุยเรื่องอะไรดี และมักจะมีคำถามแบบนี้บ่อยๆ ผุดขึ้นมาในสมอง และเมื่อลองค้นหาดูด้วยคำเหล่านี้ เจอผลการค้นหากว่า 3 ล้านรายการ

เทคนิคหาเรื่องคุย วิธีแก้ไขสำหรับคนพูดคุยไม่เก่ง คนไม่ช่างพูด

คุยไม่เก่ง ทำยังไงดี ? คุยไม่เก่ง ไม่มีเพื่อน ? วิธีหาเรื่องชวนคุย ? เป็นคนไม่ค่อยพูด ? .. ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดมาแล้วคุยได้กับทุกคน ทุกเรื่อง เมื่ออยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้กลายเป็นคนพูดเก่ง เป็นคนมีเสน่ห์ ลองมาดูเคล็ดลับที่เรานำมาฝากค่ะ

1. อย่าออกจากบ้านโดยไม่รู้อะไร ติดตามข่าวสาร

ก่อนออจากบ้าน ระหว่างเดินทาง ให้ติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ มีประเด็นอะไรที่กำลังพูดถึง อัพเดทข่าวใหม่ๆ เพื่อจะได้เป็นหัวข้อที่อาจจะได้สนทนาในวันนั้น การรับรู้ข่าวสารใหม่ๆ ยังทำให้คุณไม่ต้องถูกมองด้วยว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา”

2. การแต่งตัว เครื่องประดับ

หลายคนคงสงสัย การแต่งตัว เครื่องประดับ เกี่ยวอะไรกับการพูด?

ให้คิดแบบนี้ค่ะ เมื่อไปเจอใครสักคนหนึ่งที่เราต้องพูดคุยด้วย ให้สังเกตการแต่งตัวของเขาเพื่อหาจุดเด่น ให้เป็นหัวข้อสนทนา เช่น สร้อยคอเก๋ๆ แหวน กำไล รองเท้ารุ่นใหม่ หรือเครื่องประดับวินเทจ ซึ่งถ้าเขาสวมใส่มันก็หมายความว่า เขาพอใจในสิ่งนั้น ก็ให้ยกหัวข้อนี้มาคุย เอ่ยชม หรือถามว่าซื้อมา ได้มาจากที่ไหน เป็นการสร้างความสัมพันธ์เล็กๆ น้อยๆ ได้ดีเลยค่ะ

ในมุมเดียวกัน เราก็ต้องหาจุดเด่นให้ตัวเราด้วย เพื่อที่ว่าเขาอาจจะได้มีหัวข้อสนทนากับเราได้ด้วยเช่นกัน (ถ้าเขาสังเกตน่ะนะ)

3. การแนะนำตัว อย่าเอ่ยแค่ชื่อเปล่าๆ

หากเราต้องแนะนำตัวกับใครสักคนหนึ่ง อย่าพูดแค่ว่า “สวัสดีค่ะ ฉันชื่อพลอยชมพู” .. แค่นั้นแล้วจบ ควรจะแนะนำตัวอื่นๆ ให้คู่สนทนารู้จักเราอีกนิด เพื่อจะได้มีหัวข้อสนทนากันต่อ ตัวอย่างการแนะนำตัว

“สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ พลอยชมพู กำลังศึกษาต่อปีที่ 3 ที่คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ค่ะ”
หรือ
“สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ พลอยชมพู เป็นบิวตี้บล๊อกเกอร์ ที่…….”

4. จะพูดอะไรต่อดี

หลังจากทักทายกันเสร็จ บางทีก็จะมีช่วงที่นิ่งเงียบกัน พร้อมคำถามในหัว “ฉันจะคุยอะไรต่อดี?”

ถ้าหากคิดอะไรไม่ออก ให้จับประโยคสุดท้ายที่คู่สนทนาได้พูด แล้วทวนคำพูดนั้น ให้เขาได้อธิบายต่อ ตัวอย่างเช่น

A: เมื่อวานฉันไปดูคอนเสิร์ตบอดี้สแลมมา
B: คอนเสิร์ตบอดี้สแลมเหรอ?
A: ใช่คอนเสิร์ตบอดี้สแลมจัดที่เมืองทอง รอบที่ 3 คนดูเยอมากๆ

เทคนิคหาเรื่องชวนคุย วิธีแก้ไขสำหรับคนพูดคุยไม่เก่ง
B: คนดูเยอะมากๆ เหรอ?

5. เป็นนักสืบที่ดี

นักสืบในที่นี้คือ นักฟังที่ดี ขยายความได้อีกว่า นั่นคือการฟังสิ่งที่คู่สนทนาพูด ฟังหรือจับจุดในสิ่งที่เขาสนใจ เพื่อจะได้เอาเรื่องนั้นเป็นหัวข้อใหม่ในการสนทนาต่อไป การที่คู่สนทนาได้พูดในเรื่องที่ชอบจะทำให้การสนทนานั้นยืดระยะเวลานานขึ้น และทำให้คู่สนทนานั้นคิดว่าเราน่าสนใจ เพราะเราฟังเขานั่นเอง

6. ซักซ้อมการพูดคุยในสถานการณ์ต่างๆ

เมื่อเราทำอะไรไม่เก่ง เราก็ต้องซักซ้อมในเรื่องนั้นๆ บ่อยๆ ให้คุ้นเคยคุ้นชิน อย่างในกรณีที่เราพูดไม่เก่งนี้เราก็ลองฝึกซ้อมตัวเองในโอกาสต่างๆ ลองคิดดูว่าถ้าเจอคนนี้จะคุยอะไรได้บ้าง ถ้าไปงานนี้เจอคนมากมายจะทำตัวอย่างไร หรือกระทั่งเจอเพื่อนๆ ในห้องเรียน คนที่ไม่ค่อยสนิทก็ลองเปิดใจสอบถามเขา ฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะทำได้ดีมากขึ้นแน่นอนค่ะ

บทความแนะนำ