วัดราชนัดดาราม วัดวาอาราม เที่ยวกรุงเทพ โบราณสถาน โลหะปราสาท

โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม สร้าง ร.3 แล้วเสร็จ ร.9 จากสีดำเป็นสีทองผ่องอำไพ

Home / สาระความรู้ / โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม สร้าง ร.3 แล้วเสร็จ ร.9 จากสีดำเป็นสีทองผ่องอำไพ

โลหะปราสาทสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เป็น โลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดาราม และอยู่ในบริเวณ ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม

โลหะปราสาท สร้างไว้ทำไม?

สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ ให้โลหะปราสาทเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ใช้จำพรรษาหรือปฏิบัติธรรม … ให้สร้างขึ้นแทนเจดีย์ประจำวัด ทรงมีพระราชศรัทธาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง และเพื่อพระราชทานแด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งแล้วเสร็จเพียงปราสาทโกลนเท่านั้นก็สิ้นรัชกาล…

โลหะปราสาท ขณะกำลังบูรณะในปี พ.ศ. 2546 สังเกตมณฑปชั้นล่างยังเป็นสีขาว

ขณะกำลังบูรณะในปี พ.ศ. 2546 สังเกตมณฑปชั้นล่างยังเป็นสีขาว

โลหะปราสาท คือ อาคารหลายชั้น

ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า โลหะปราสาทคืออาคารหลายชั้น มีหลังคาทำด้วยโลหะ โดยมีอีกสองแห่งที่เคยปรากฏในโลกคือ ที่กรุงสาวัตถีประเทศอินเดีย และที่กรงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ซึ่งทั้งสองแห่งนั้น ชำรุดสูญสลายลงไปนานนับพันปี โดย โลหะปราสาทหลังแรก สร้างโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา ในสมัยพุทธกาล นางวิสามหาเป็นบุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี  เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า “มิคารมาตุปราสาท”

โลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง

และที่ประเทศไทยคือ โลหะปราสาทหลังที่ 3 โดย กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานที่สำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เนื่องด้วยโลหะปราสาทยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์แบบแห่งเดียวในโลก

โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุด จึงได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ เป็นสถาปนิก , นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา , นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

โลหะปราสาทปี พ.ศ. 2551 มณฑปบูรณะเป็นทองแดงรมดำทั้งหมด

โลหะปราสาทปี พ.ศ. 2551

โลหะปราสาทปี พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3

โลหะปราสาทปี พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3

ประวัติการก่อสร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม

  • พุทธศักราช 2389 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชนัดดาราม โดยมีโลหะปราสาทเป็นอาคารประธานของวัด
  • พุทธศักราช 2394 รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต การสร้างโลหะปราสาทชะงัก สำเร็จเพียงในส่วนที่เป็นโครงอิฐสลับศิลาแลง
    พุทธศักราช 2494-2452 โลหะปราสาทได้รับการบูรณะเพิ่มเติมโดยพระยาเพชรปาณี มรรคนายก และพระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทัตโต) เจ้าอาวาส
  • พุทธศักราช 2506-2520 กรมโยธาเทศบาล ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท โดยเสริมความแข็งแรงโครงสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำระบบระบายน้ำฝน ปรับปรุงบันไดเวียน ประตูหน้าต่าง และตกแต่งผิวอาคาร
  • 27 กุมภาพันธ์ 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ บุษบกโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม
  • พุทธศักราช 2541 กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการสำรวจและขุดค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก่อนการบูรณะ
  • พุทธศักราช 2542 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท ระยะแรก บูรณะส่วนมณฑปยอดกลาง และปรับภูมิทัศน์โดยรอบโลหะปราสาท
  • พุทธศักราช 2543 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท ระยะที่ 2 บูรณะส่วนยอดมณฑปชั้นกลาง จำนวน 12 ยอด
  • พุทธศักราช 2545 กรมศิลปากรดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท ระยะที่ 3 บูรณะส่วนยอดมณฑปชั้นล่าง จำนวน 24 ยอด
  • พุทธศักราช 2550 โครงการบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท แล้วเสร็จ

โลหะปราสาทในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ปิดทองมณฑปชั้น 2 และ 3

โลหะปราสาท

จากหนังสือจดหมายเหตุ การอนุรักษ์รัตนโกสินทร์ ฉลองกรุง 200 ปี หน้า 286 และพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 3 กล่าวว่า ในวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 4 ธันวามคม พุทธศักราช 2389 ได้ชักลากพระพุทธรูปจากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ การชักลากพระครั้งนี้ ได้เกิดอุบัติเหตุ สำคัญน่าสลดใจคือ เจ้าพระยายมราช ถูกตะเฆ่ ทับถึงแก่อนิจกรรม เพราะเกิดจากการเข้าใจผิดในการชักลาก / โดย คนช่างเล่า

การเดินทางไป โลหะปราสาท

ที่ตั้ง อยู่ภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร บริเวณแยกผ่านฟ้าลีลาศ ด้านหลังลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยสามารถชมโลหะปราสาทได้ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น.

การเดินทาง : รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 5, 12, 15, 35, 39, 503, 511, 512 หรือจะนั่งเรือโดยสาร (คลองแสนแสบ) มาลงท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ และเดินมาได้ไม่ไกลมากนัก

เรียบเรียงโดย Campus-Star.com 

ดูภาพสวยๆ และข้อมูลเพิ่มเติม “โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม” Pantip.com , โลหะปราสาท ยามค่ำคืน , ‘โลหะปราสาท’ สร้าง ร.๓ เสร็จ ร.๙ วันนี้เป็นสีทอง , วิกิพีเดีย

บทความแนะนำ