อียิปต์ (Egypt) ตามความหมายที่เฮโรดอท นักเดินทางชาวกรีกให้ไว้ หมายถึง ของขวัญจากแม่น้ำไนล์ อียิปต์ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ (เรียกว่าดินดำ) อยู่ระหว่างที่ราบสูงที่เป็นทะเลทราย ทางเหนือของทวีปอัฟริกา แม่น้ำไนล์ยาวประมาณ 1,000 กม. ต้นแม่น้ำมาจากทะเลสาบในประเทศเอธิโอเปียทางตะวันออก และทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์เป็นทะเลทราย (เรียกกันว่าดินแดง)
ประวัติ อียิปต์โบราณ
ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมาจากแม่น้ำไนล์ ไหลผ่านภูเขาที่เต็ม ไปด้วยแร่ธาตุจากเอธิโอเปียจนถึงอียิปต์และมาท่วมล้นฝั่ง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม น้ำนำโคลนตมที่อุดมสมบูรณ์มาให้ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตศักราช อียิปต์แบ่งเป็นสองราชอาณาจักร คือ อียิปต์สูง (อียิปต์บน) และอียิปต์ต่ำ (อียิปต์ล่าง) ทั้งสองอาณาจักรรวมกันสมัยพระเจ้านาแมร์ (กรีกเรียกเมแนส) และสมัยพระเจ้าอหา มีเมืองหลวงชื่อเมมฟิส (กำแพงขาว)
สมัยจักรวรรดิเก่า (2850 – 2052 ปี ก่อนคริสตศักราช)
2850-2650 สมัยธินิท (ราชวงศ์ที่1 และ 2) อียิปต์เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ มีการสู้รบกับพวกเบดวงจากคาบสมุทรซีนาย เพื่อแย่งชิงเหมืองทองแดงมีการติดต่อทางเรือกับเมืองไบโบลส (ในเลบานอนปัจจุบัน) เพื่อซื้อไม้เซดาร์มาใช้ในการก่อสร้างและทำโลงศพของฟาห์โร (กษัตริย์) มีการก่อสร้างหลุมศพสำหรับเจ้าเรียกว่า มาสตาบา
2650 – 2190 สมัยปิรามิด (ราชวงศ์ที่ 3 – 6) เมมฟิส เป็นศูนย์กลางทางการเมือง พระเจ้าโจเซอร์ทรงมีพระราชโองการให้อิมโฮเทป ผู้เป็นแพทย์และสถาปนิก เป็นผู้สร้างปิรามิดซัคคาราขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังพระศพ ของพระองค์ปิรามิดซัคคารา ประกอบด้วยมาสตาบา 6 หลังซ้อนกัน
ราชวงศ์ที่ 4: จำนวนกษัตริย์ผู้สร้างปิรามิดมีมากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น สเนฟรู (ปิรามิดดาห์ชูร์และแมดูม) เคออป, เคเฟรน, ไมเซรินุส (ปิรามิดกิเซ่ ทางตะวันตกของเมืองไคโร)
ราชวงศ์ที่ 5: ศาสนาประจำชาติ คือการนับถือเทพเจ้าเร (เรแห่งเมืองเฮลิโอโปลิส) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ มีการสร้างวิหารให้เทพเจ้าองค์นี้และสร้างเสาหินสูง
ราชวงศ์ที่ 6: ฟาห์โรอ่อนอำนาจทำให้ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น
2190 – 2052 เป็นระยะเวลาที่ต่อระหว่างสองสมัย (ราชวงศ์ที่ 7 ถึงที่ 10 เรียกสมัยเฮราเคลโอโปลิส)
รัฐตำแหน่งฟาห์โร (บ้านใหญ่) เป็นตำแหน่งสืบทอดฟาห์โร มีอำนาจสูงสุด เช่น ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชของไทย
เรามักเห็นอยู่ในรูปของเทพเจ้า-เหยี่ยวโฮรุส (เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) นับจากราชวงศ์ที่ 4 เป็นต้นมา ฟาห์โร เปรียบเสมือนบุตรของเทพเจ้าเร หรือเทพเจ้า-พระอาทิตย์
การบริหารส่วนกลาง
ข้าราชการหรือสคริบอยู่ใต้คำบังคับบัญชา ของรัฐมนตรี ล้วนมาจากครอบครัวชนชั้นสูง ภาษีจ่ายเป็นข้าวสาลีและสัตว์ใช้งาน เช่น วัว ประชาชนทุกคนมีสิทธิในศาล มีสัมพันธไมตรีกับประเทศซีเรียและพุนท์ (โซมาเลีย) ทำสงครามกับประเทศลิเบียและชนเผ่าต่างๆในดินแดนปาเลสไตน์
การศาสนา
เริ่มแรกนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์มากมาย ซึ่งมีอยู่ในรูปร่าง และหัวสัตว์ สมัยประวัติศาสตร์ คนนับถือพระอาทิตย์มาก มีการสร้าง
วิหารที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วิหารของเทพเจ้าอาตอน-เรที่เฮลิโอโปลิส วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส วิหารของเทพเจ้าโธทที่เฮอร์โมโปลิส เทพเจ้าโอซิริสที่เคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ กลายมาเป็นเทพเจ้า ของคนตาย คนอียิปต์เชื่อเรื่องเวรกรรม คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และเชื่อเรื่องชาติหน้า
อักษรเฮียโรกลีฟ
มีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งเท่ากับคำหนึ่ง จากนั้นเป็นกลุ่มพยัญชนะ พยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ ใช้ในทางศาสนา ต่อจากอักษรเฮียราติค (ภาษาที่่ใช้ทั่วไป) เป็น อักษรเดโมติค (ราว 700 ปีก่อนค.ศ.) เป็นภาษาประจำวัน ปฏิทินอียิปต์มี 365 วัน (12 x 30 + 5) วันแรกของปีเริ่มกลางเดือนกรกฎาคม ตรงกับที่แม่น้ำไนล์ล้นฝั่ง ปีที่มี 366 วันไม่มีปรากฎใช้
สมัยต่อมาการนับปีถือเอาเทพเจ้าซิริอุส (โซธิส) เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิสมี 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่
จักรวรรดิ์กลาง
จักรวรรดิ์กลาง (ประมาณ 2052 – 1570 ปี ก่อนคริสตศักราช) หลังจากที่อียิปต์ผ่านสงครามภายในมาหลายปี พระเจ้าเมนทูโฮเทปที่่ 2 ทรงรวม อียิปตสูงและอียิปต์ต่ำเข้าด้วยกัน และทรงย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปที่ธีบส์
1991 – 1786 ตรงกับราชวงศ์ที่ 12 อำนาจการปกครองมารวมอยู่ที่เมืองหลวงอีก เชื้อพระวงศ์ตามเมืองต่างๆหมดอำนาจ มีการก่อสร้างวัดขนาดใหญ่หลายหลังที่คาร์นัค เมืองที่ถือว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าองค์ใหม่ ชื่ออาโมส อียิปต์เจริญสูงสุดในสมัยของ
สฟิงซ์
พระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 (1878-1841 ปี ก่อนคริสตศักราช) อียิปต์มีอิทธิพลถึงนูเบีย (ซูดาน) ทางตอนกลางเพราะที่นี่มีเหมืองทองคำ มีการสร้างทางติดต่อการค้าไปทะเลแดง ซีนาย และพุนท์ (โซมาเลีย) เกาะครีตและเมืองโบลส (ในเลบานอน) รัชกาลพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 3 จัดการใช้พื้นที่แถวทะเลสาบมัวริส (ฟายุม) ให้เป็นประโยชน์ สร้างปิรามิดและวัดฮา อูอาราสำหรับคนตาย (Labyrinthe) งานประติมากรรมมีการทำรูปพระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 และพระเจ้าเมเนแมสที่ 3 ตอนวัยชรา การทำรูปสฟิงซ์มีหน้าเป็นกษัตริย์ กำเนิดประติมากรรมแบบใหม่ คือ รูปคนท่ายกเข่า สวมเสื้อผ้ายาวจดเท้า ด้านวรรณคดีมีการแต่ง “คำสอนของพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 1” และ “ประวัติศาสตร์ซินูเฮ”
1778 – ประมาณ 1610 ปี ก่อนคริสตศักราช เป็นช่วงคั่นระหว่างสองสมัย (ราชวงศ์ที่ 13-14) สงครามภายในทำให้มีศัตรูจากภายนอกรุกราน การรุกรานของพวกฮิกโซส ประมาณ 1650 ปี ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซส มาจากชนเผ่าฮูไรท์และเซมิติก (ทางเอเซีย) การรุกรานเป็นผลมาจากการอพยพของพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ราวปี 2,000 ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซสมีอำนาจเหนือดินแดนอียิปต์ตอนบน พวกเขาเป็นคนชั้นสูงและถิ่นที่เขาอยู่ที่อาวาริส (ทางเดลต้าตะวันออก) ถือว่าเจริญมากของอียิปต์ เนื่องจากเทคนิคอารยธรรมที่เหนือว่าตนเข้าไว้ด้วย
จักรวรรดิใหม่ (1570 – 715 ปี ก่อนคริสตศักราช)
พระเจ้าอโมซิสทรงขับไล่พวกฮิกโซสออกจากอาวาริสไปจนถึงดินแดนปาเลสไตน์แล้ว ทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ (ราชวงศ์ที่ 18) กษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อมา เช่น พระเจ้า อาเมโนฟิสที่ 1 และ ธุทโมซิสที่ 1 ทรงทำให้อียิปต์มีอำนาจมากมีการยกทัพไปเอเซีย (แถวแม่น้ำยูเฟรติส) และนููเบีย สมัยที่อียิปต์เจริญสูงสุดคือสมัยพระนางฮัทเชบสุท
พระนางฮัทเชปสุท (1501-1480) ทรงดำเนินนโยบายแบบสันติ สัมพันธไมตรีกับประเทศพุนท์ มีการก่อสร้างมากมายที่สำคัญ คือวัดที่แดร์ เอล-บาห์รี ที่ก่อสร้างภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีคนโปรดของพระนาง ชื่อ เซอเนนมุท เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ พระสวามีขึ้นครองราชต่อ
1480-1488 พระเจ้าธุทโมซิสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ประเทศอียิปต์มีอาณาเขตกว้างไกลถึงแม่น้ำยูเฟรติส (ในอิรัก)
1480 พระองค์ทรงรบชนะซีเรีย ปาเลสไตน์และเฟนีเซีย ด้วยกองทัพทหารรับจ้างและกองทัพรถม้า อาณาจักรมิตานี (ปัจจุบัน คือ อิรักตอนเหนือ) กลายมาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน กษัตริย์องค์ต่อๆมาล้วนประสบความสำเร็จในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศทั้งสิ้น
1413-1377 อาเมโนฟิสที่ 3 มีมเหสีมาจากบุคคลธรรมดา ถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองมาก ทรงมีนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยการอภิเษกสมรส เป็นสมัยที่อียิปต์ ต้อนรับทูตจากต่างประเทศมาก และมีการค้าขายอย่างเป็นล่ำเป็นสัน กับอาณาจักรมิตานี บาบิโลเนีย ครีต อัสซีเรีย อาณาจักรฮิตไทท์ และหมู่เกาะในทะเลเอเจียน (แผ่นดินเหนียวที่พบที่เมืองอามาร์นา จารึกเป็นภาษาอัคคาเดียน ซึ่งเป็นภาษาท่ี่ใช้ในทางการทูตสมัยนั้น)
พระนางเนเฟอร์ติติ
1377-1358 อาเมโนฟิสที่ 4 ทรงมีมเหสีที่รู้จักกันดี คือ พระนางเนเฟอร์ติติ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นผู้นำการนับถืออาตอน หรือ การนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าองค์เดียวให้แก่อียิปต์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อาเคท-อาตอน (เอล-อามาร์นา) ทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์ใหม่เป็น อาเคนาตอน พระองค์ไม่สนพระทัยในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้่นประเทศอียิปต์จึงค่่อยๆ สูญเสียดินแดนในเอเซีย เมื่อทรงสิ่้นพระชนม์ชนชั้น นักบวชถือโอกาสนำประเทศกลับมาใช้ระบบเดิม พระราชบุตรเขย ทั้งหลายพร้อมใจกันย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ที่ธีบส์ตามเดิม หนึ่งในราชบุตรเขย มีตุตอนคามอน ท่ี่นักโบราณคดีพบหลุมฝังศพเต็มไปด้วยของมีค่าเมื่อ ค.ศ. 1922 โฮเรมเฮบ นายทหารของอาเคนาตอนขึ้นครองราชย์ ทำสงครามชนะพวกฮิทไทท์ในซีเรียและจัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เข้มงวดกว่าเดิม ทรงทะนุบำรุงศาสนานำพิธีนับถือพระเจ้าแบบเก่ามาใช้ปนกับวิธีของเอล-อามาร