ประวัติศาสตร์ อียิปต์

8 เรื่องอียิปต์โบราณ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ – ชาวอียิปต์ไม่ได้ขี่อูฐ คลีโอพัตราไม่ได้สวยอย่างที่คิด

Home / สาระความรู้ / 8 เรื่องอียิปต์โบราณ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ – ชาวอียิปต์ไม่ได้ขี่อูฐ คลีโอพัตราไม่ได้สวยอย่างที่คิด

เมื่อพูดถึงอียิปต์โบราณ หรือดินแดนไอยคุปต์ที่เราเรียกกัน พีระมิด มัมมี่ คลีโอพัตรา คงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่คนจะนึกถึง  แต่จริง ๆ แล้วมีเรื่องราวอะไรอีกบ้างที่เราอาจจะเข้าใจผิดกันมาตลอด วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาคุณไปดู 8 เรื่องอียิปต์โบราณที่คุณอาจไม่เคยรู้ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย!

8 เรื่องอียิปต์โบราณ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

1. ผู้หญิงก็เป็นกษัตริย์ได้

ตามหลักแล้วผู้ที่จะเป็นกษัตริย์ของอียิปต์ได้นั้นจะต้องเป็นลูกชายของกษัตริย์คนก่อนหน้าเท่านั้น  แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ฟาโรห์หญิงองค์แรกของอียิปต์ก็คือ พระนางฮัตเซปซุต (Hatshepsut) พระนางได้เปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองจาก ราชินีเป็นกษัตริย์ และทรงราชกกุธภัณฑ์เสมือนผู้ชาย แถมยังมีหนวดเคราอีกด้วย รัชสมัยของพระนางถือว่าเป็นอีกยุคที่มีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก และได้ครองราชย์ยาวนานถึง 20 ปี และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายพระองค์ที่เป็นกษัตริย์หญิง แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีคงต้องยกให้พระนางคลีโอพัตรา

2. คลีโอพัตราไม่ได้สวยอย่างที่คิด

จากภาพที่เราเคยได้ผ่านตากันมา คลีโอพัตรา กษัตริย์หญิงอียิปต์โบราณองค์สุดท้าย ที่เอาชนะใจจูเลียต ซีซาร์ และมาร์ค แอนโทนีได้ เป็นผู้หญิงที่มีรูปโฉมสวยงามตาคมผมดำมีเสน่ห์แพรวพราว แต่จริง ๆ แล้วเสน่ห์ของเธอไม่ได้อยู่ที่รูปร่างหน้า แต่เป็นความฉลาด และสติปัญญาที่เธอมี จากหลักฐานทางโบราณคดีมีการขุดพบเหรียญซึ่งเป็นรูปของพระนางคลีโอพัตราที่มีหน้าตาไม่ได้เป็นอย่างที่เราจินตนาการเอาไว้ หรือที่เห็นในหนังแม้แต่นิดเดียว

https://warboar.wordpress.com/2013/10/17/krt-ae-bribes-and-threats/

3. ชาวอียิปต์ไม่ได้ขี่อูฐ

อูฐเริ่มเข้ามาในอียิปต์เมื่อประมาณ 900 ปีก่อนคริสตกาลในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ 22 และเริ่มมีการใช้อูฐขนส่งสินค้า (เหมือนที่เราเห็นกันในหนัง) ในช่วงที่ชาวเปอร์เซีย และกรีก-โรมันเข้ามาปกครองไอยคุปต์เมื่อประมาณ 500 – 300 ปีก่อนคริสตกาล

มีการสันนิษฐานว่าก่อนหน้านั้นอียิปต์ไม่มีอูฐ เหตุผลแรกคือภาษาอียิปต์โบราณไม่มีคำว่า “อูฐ” และภาพวาดบนผนังสุสานและวิหารของชาวอียิปต์โบราณไม่มีภาพ “อูฐ”ปรากฎให้เห็น แต่กลับมีหลักฐานภาพวาดที่แสดงให้เห็นว่าชาวอียิปต์โบราณในยุครุ่งเรืองของฟาโรห์ใช้ “ลา” ในการขนส่งสินค้า

4. การแต่งงานกันเองในหมู่ญาติพี่น้อง ถือเป็นเรื่องปกติ

โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ การแต่งงานกับญาติที่ใกล้ชิดนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะจัมั่นใจได้ว่าพระราชินีของกษัตริย์จะถูกเลี้ยงดู ฝึกฝนมาเพื่อเป็นพระราชินีโดยเฉพาะ และเหตุผลสำคัญก้คือเป็นการคงไว้ซึ่งสายเลือดกษัตริย์บริสุทธิ์นั่นเอง

https://www.carmencitta.me/En/2015/06/16/egyptians-mummified-the-dead-today-fresh-tissues-mummified/

5. ชาวอียิปต์ไม่ได้ทำมัมมี่กันทุกคน

ชาวอียิปต์โบราณมีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย จึงมีการทำมัมมี่ซึ่งเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ตายจะทำมัมมี่กันหมด เพราะการทำมัมมี่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูง และมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน จึงนิยมทำกันในสังคมชนชั้นสูง ส่วนคนทั่วไปเมื่อตายก็จะไปขุดหลุมฝังไว้ในทะเลทราย

6. ไม่ใช่ฟาโรห์ทุกองค์ที่สร้างพีระมิด

พีระมิด ถูกสร้างเพื่อเป็นที่ฝังศพของฟาโรห์อียิปต์ในอาณาจักรเก่า และอาณาจักรกลาง เกือบทุกพระองค์จะสร้างพีระมิดไว้ที่ทะเลทรายทางตอนเหนือในอียิปต์ แต่พอเมื่อมาในยุคของอาณาจักรใหม่ (1550 ปีก่อนคริสตกาล) การสร้างพีระมิดไม่ได้นิยมอีกต่อไปแล้ว แต่มัมมี่จะถูกฝังไว้ใน “หุบผากษัตริย์” (Valley of the King) ที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำไนล์ เป็นสุสานแบบอุโมงค์ที่เจาะเข้าไปในหน้าผา ภายในแบ่งเป็นห้องเล็ก ๆ จำนวนมาก

https://news.artnet.com/art-world/secret-rooms-great-pyramid-of-giza-705119

7. เดอะ เกรท พีระมิด (The Great Pyramid) ไม่ได้ถูกสร้างโดยทาส

ตามประวัติศาสตร์ว่ากันว่า The Great Pyramid นั้นถูกสร้างโดยทาส 100,000 คน แต่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่พบว่าจริง ๆ แล้ว The Great Pyramid นั้นสร้างโดยคนงานที่ถูกจ้างมา 25,000 คน สลับผลัดเปลี่ยนกะกันไปคนละ 3-4 เดือน มีการค้นพบหมู่บ้านของคนงานอยู่ใกล้ ๆ กับพีระมิด ในหมู่บ้านมีโรงขนมปัง พวกเขาได้ค่าจ้างเป็นขนมปัง เบียร์ และยารักษาโรค ส่วนใครที่ตายในหน้าที่ก็จะถูกฝังไว้ใกล้ ๆ หลุมฝังศพนั่นเอง

8. อียิปต์โบราณไม่ได้ใช้ ไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphic)

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อของอักษร ไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphic) ซึ่งเป็นอักษรภาพอียิปต์โบราณที่ปรากฎอยู่ตามฝาผนังของสุสาน แต่ในชีวิตประจำวันชาวอียิปต์จะใช้ เฮียราติก (Hieratic)  ที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรเฮียโรกลิฟฟิคเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเขียน

ขอบคุณที่มาจาก: historyextra, thairath, gypzyworld

บทความแนะนำ