องค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล American Tortoise Rescue ในรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มกำหนดให้ วันที่ 23 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2000 เป็น วันเต่าโลก (World Turtle Day) เพื่อเผยแพร่ความรู้ รวมไปจนถึงปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่าไม่ให้สูญพันธุ์ แคมปัส-สตาร์ ขอนำสาระความรู้เกี่ยวกับ เต่า มาฝากทุกคนค่ะ
วันเต่าโลก 23 พฤษภาคม ของทุกปี
เต่า (Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) ถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน และอยู่บนโลกนี้มากว่า 200 ล้านปีแล้ว จัดสัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines ซึ่งอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกได้ 12 วงศ์ ถ้านับจากเต่าทั้งโลก แต่สำหรับในประเทศไทยพบเพียง 6 วงศ์ เท่านั้น
รวมเต่าที่พบได้ในประเทศไทย (เฉพาะเต่าบก และเต่าน้ำจืด) สรุปได้ดังนี้
วันเต่าโลก
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum)
- เต่ากระอาน (Batagur baska)
- เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
- เต่าหับ (Cuora amboinensis)
- เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
- เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
- เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
- เต่าหวาย (Heosemys grandis)
- เต่าจักร (Heosemys spinosa)
- เต่าบัว (Hieremys annandalei)
- เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
- เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
- เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
- เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
- เต่าเดือย (Manouria impressa)
- เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
- เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
- เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
- เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis)
- เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) (ไม่ใช่เต่าพื้นเมืองของไทย แต่เป็นของสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว)
เต่าทะเล
ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)
โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก
สำหรับเต่าทะเล ทั้งชีวิตขิงพวกมันจะอาศัยอยู่แต่ในทะเลเท่านั้น จะขึ้นมาบนบกก็ต่อเมื่อวางไข่
ลักษณะของเต่า
เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน นอกจากนี้ยังมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า “กระดอง” ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของเต่าก็คือ สามารถหดหัว ขา และหางเข้าไปในกระดองได้ ทั้งนี้มันทำก็เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายนั้นเอง แต่ก็มีเต่าบางชนิดที่ทำไม่ได้ด้วยนะ
อาหารของเต่า
กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ เต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina) , เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น
ภาพ: unsplash.com, วิกิพีเดีย