ฤดูใบไม้ผลิ วันสำคัญ ศาสนาคริสต์ เทศกาล เทศกาลอีสเตอร์

ประวัติวันอีสเตอร์ สัญลักษณ์ในวัน Easter – ไข่อีสเตอร์ ทำมาจากอะไร ?

Home / สาระความรู้ / ประวัติวันอีสเตอร์ สัญลักษณ์ในวัน Easter – ไข่อีสเตอร์ ทำมาจากอะไร ?

หลายคนเคยได้ยินคำว่า “อีสเตอร์” และรู้ว่านี่เป็นวันหาไข่สีสันสดใส หลายคนรู้ว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ที่จะเริ่มมีดอกไม้สวยๆ ในสวน เช่น ดอกทิวลิป (แต่ฤดูใบไม้ผลิ มักเรียกกันในเมืองหนาวๆ ทางยุโรปนู่นเลย) บ้านเราเลยอาจจะรู้จักกับวันนี้แค่เพียงผิวเผิน วันนี้เรามีบทความมาฝากเกี่ยวกับ ประวัติวันอีสเตอร์ มาฝากค่ะ

ประวัติวันอีสเตอร์

อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย เรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซู หลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้ว 3 วัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงถูกตรึงกางเขนตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์

ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์ และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก ๆ

กิจกรรมสนุกๆ สำหรับเด็กๆ คือการค้นหาไข่ ส่วนผู้ใหญ่ก็จะมีความสุขกับการตกแต่งบ้านให้มีกลิ่นไอของวันอีสเตอร์

ไข่อีสเตอร์ ทำมาจากอะไร ?

ไข่อีสเตอร์ (Easter egg) คือ ไข่ที่ถูกตกแต่งสำหรับมอบให้กัน เพื่อฉลองเทศกาลอีสเตอร์ หรือฤดูใบไม้ผลิ ไข่อีสเตอร์พบทั่วไปในฤดูของอีสเตอร์ไทด์ (ฤดูกาลอีสเตอร์) ประเพณีดั้งเดิมใช้ไข่ไก่นำมาย้อมหรือทาสี แต่ในประเพณีสมัยใหม่ ใช้ไข่ช็อกโกแลต หรือไข่พลาสติกสอดไส้ขนม เช่น ช็อกโกแลต ทำไข่พลาสติกที่บรรจุขนมหวานไว้ข้างใน และมีการเอาไข่ต้มมาทาสี หรือ ไข่พลาสติกสีสันต่างๆ ไปซ่อนให้เด็กค้นหา

โดยมีความหมายแฝงเร้นอยู่ว่าอีสเตอร์ คือ วันที่พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย และเสด็จออกจากอุโมงค์ฝังศพที่มีก้อนศิลามหึมาปิดอยู่นั้นถูกเปิดออก เหมือนดังที่ลูกไก่ได้เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวนั่นเอง

สัญลักษณ์น่าสนใจ ที่เกี่ยวกับวันอีสเตอร์

ไข่อีสเตอร์และลูกไก่

ไข่ (Easter egg)  เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ ไข่ได้รับสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไข่ยังเป็นสัญลักษณ์ของการออกจากหลุมฝังศพของหินที่พระเยซู เกิดเมื่อเขากลายเป็นชีวิตอีกครั้ง

กระต่ายอีสเตอร์

กระต่ายอีสเตอร์ (Easter Bunny) เป็นสัญลักษณ์ของ “ชีวิตใหม่” ธรรมชาติของกระต่ายจะออกลูกดกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ความหมายของกระต่าย จึงหมายถึงชีวิตใหม่มากกว่าการเน้น “การเป็นขึ้นจากความตาย”

ฤดูใบไม้ผลิ

ฤดูใบไม้ผลิ หมายถึง สัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่ เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ ที่ได้ผ่านพ้นฤดูหนาวที่มีหิมะตกหนาวเย็นนั้น ต้นไม้ทิ้งใบเสมือนตายไปแล้ว พอถึงฤดูใบไม้ผลิก็ผลิใบใหม่และต้นได้ฟื้นขึ้นมาใหม่ หรือเปรียบเสมือนการเกิดใหม่นั่นเอง

สวนดอกไม้

สื่อความหมายถึงความสุขสมหวัง สดใสชื่นบาน สวยงาม

ดอกลิลลี่สีขาว

สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือดอกลิลี่ หรือดอกพลับพลึงขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ชีวิตใหม่ และการคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์

ผีเสื้อ

หนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญของวันอีสเตอร์ เป็นด้วงจากเปลือกและลอยขึ้นสู่ท้องฟ้านั้น คล้ายกับพระเจ้าพระเยซูตายไปแล้ว และเก็บไว้ในอุโมงค์ 3 วันหลังจากนั้นจะฟื้นชีวิตหลังความตาย

ผีเสื้อสื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ วันหนึ่งดักแด้กลายเป็น ผีเสื้อบินไปเพื่อแจกจ่ายพรไปสู่โลกกว้าง เป็นเหตุให้เกิดชีวิตที่สวยงาม (ดอกไม้) ให้แก่โลกนี้ อย่าเป็นเหมือนงูที่ดุร้ายและอยู่เพื่อตัวเอง แต่จงเป็นหนอนน้อยผู้อ่อนแอ ไม่มีพิษภัย ที่รอการเปลี่ยนแปลง เป็นผีเสื้อสิ่งมีชีวิตที่อัศจรรย์แห่งจักรวาล เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือกหุ้ม และโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

วันอีสเตอร์ตรงกับวันไหน?

ทางตะวันตกกับตะวันออก กำหนดวันอีสเตอร์ที่ต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปีด้วย

Table of dates of Easter 2001–2021 (In Gregorian dates) Year 2019

Spring Full Moon : 21 มีนาคม , Astronomical Easter : 24 มีนาคม , Gregorian Easter : 21 เมษายน , Julian Easter :  28 เมษายน , Jewish Passover :  20 เมษายน

นอกจากนี้วันอีสเตอร์ ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรต ซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วัน ที่คริสต์ศาสนิกชน ถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่า สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เรียก วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์ เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า

ข้อมูลจาก คริสตจักรสะพานเหลืองคลองตัน Sapanluang Klongton Church

บทความแนะนำ