กวีเอก นักกวี นิทาน บุคคลสำคัญ วรรณคดี วรรณคดีไทย วันสำคัญ สุนทรภู่

คำถามพิเศษ วันสุนทรภู่ 10 ข้อ | ประวัติวันสุนทรภู่ รวมผลงานต่างๆ 26 มิ.ย.

Home / สาระความรู้ / คำถามพิเศษ วันสุนทรภู่ 10 ข้อ | ประวัติวันสุนทรภู่ รวมผลงานต่างๆ 26 มิ.ย.

เดือนมิถุนายนของทุกๆ ปี จะมีคำค้นหาเกี่ยวกับคำว่า สุนทรภู่ เข้ามาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเพราะวิชาภาษาไทยที่อาจารย์สั่งให้ทำการบ้าน หรือเป็นความสนใจเฉพาะตัวก็ตามที วันนี้เรามีคำถามเกี่ยวกับวันสุนทรภู่มาฝาก ลองอ่านหรือลองตอบดูนะคะ

วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสุนทรภู่

สุนทรภู่ เป็นนักกวีเอกชาวไทย ที่เป็นผู้สร้างสรรคบทความ วรรณกรรม กลอนต่างๆ ที่มีความไพเราะ ยกตัวอย่างเช่น “พระอภัยมณี” ที่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ว่าให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม

คําถามสุนทรภู่ พร้อมเฉลย

ข้อ1. วันสุนทรภู่ ตรงกับ วัน และเดือนอะไรของทุกปี
26 มิถุนายน ของทุกปี

ข้อ2. สุนทรภู่ เกิดในสมัยรัชกาลใด
สมัยรัชกาลที่ 1

ข้อ3. อนุสาวรีย์ของสุนทรภู่ อยู่ที่จังหวัดใด
ระยอง

ข้อ4. บรรดาศักดิ์ ที่สุนทรภู่ได้รับ ก่อน ถึงแก่กรรม คืออะไร
พระสุนทรโวหาร

ข้อ5. นิราศที่เป็นผลงานของสุนทรภู่ มีกี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 9 เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง , นิราศพระบาท , นิราศภูเขาทอง , นิราศวัดเจ้าฟ้า , นิราศอิเหนา , นิราศสุพรรณ , นิราศพระประธม , นิราศเมืองเพชร , รำพันพิลาป

ข้อ6. นิทานที่เป็นผลงานของสุนทรภู่ มี่กี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 5 เรื่อง คือ โคบุตร , พระอภัยมณี , พระไชยสุริยา , ลักษณวงศ์ , สิงหไตรภพ

ข้อ7. สุภาษิต ที่เป็นผลงานของสุนทรภู่ มีกี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 3 เรื่อง คือ สวัสดิรักษา , สุภาษิตสอนหญิง , เพลงยาวถวายโอวาท

ข้อ8. บทละคร ที่เป็นผลงาน ของสุนทรภู่ มีกี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 1 เรื่อง คือ อภัยนุราช

ข้อ9. บทเสภา ที่เป็นผลงานของสุนทรภู่ มีกี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 2 เรื่อง คือ ขุนช้างขุนแผน (กำเนิดพลายงาม) พระราชพงศาวดาร

ข้อ10. บทเหกล่อม ที่เป็นผลงานของสุนทรภู่ มีกี่เรื่อง อะไรบ้าง
มี 4 เรื่อง เห่เรื่องพระอภัยมณี , เห่เรื่องโคบุตร , เห่เรื่องจับระบำ , เห่เรื่องกากี

คำถามพิเศษ วันสุนทรภู่ 10 ข้อ

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่

เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น

ประวัติสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เขตพระราชวังหลัง กรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้ บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม

ด้านครอบครัวสุนทรภู่

สุนทรภู่ได้ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล

หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน “เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย” ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น “พระครูธรรมรังษี” เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ

พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือไปด้วย จนกระทั่ง ศจ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของพ่อพัดมาด้วยตนเอง

คำถามพิเศษ วันสุนทรภู่ 10 ข้อ

ผลงานสุนทรภู่

งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง และสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเท่าที่ค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น “นักเลงกลอน” ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัวจับยาก ผลงานของสุนทรภู่เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

กลอนสุนทรภู่

– บางส่วนบางตอนจาก นิราศภูเขาทอง :
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสาโอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
– บางส่วนบางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน :
แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน จะกินนอน วอนว่า เมตตาเตือน จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย
– บางส่วนบางตอนจาก สุดสาคร :
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนดถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

นิทาน

โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ “โคบุตร” ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์

พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่งๆ หยุดๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน

พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 – 2385

ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักรๆ วงศ์ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง

สิงหไกรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว

อ่านเรื่องของสุนทรภู่ แบบครบครัน http://scoop.mthai.com/specialdays/528.html

บทความแนะนำ