ประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 8 ราชวงศ์จักรี วันสำคัญ อานันทมหิดล ในหลวงรัชกาลที่ 8 ในหลวงรัชกาลที่ 9

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล – ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์ (ร.8)

Home / สาระความรู้ / 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล – ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์ (ร.8)

9 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็นอีกวันสำคัญของไทย เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตองรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ผู้ทรงให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์ ร่วมน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน และอ่านประวัติความเป็นมาของวันอานันทมหิดลได้ดังต่อไปนี้ … 9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลุ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอร์มัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ได้ทรงศึกษาจากต่างประเทศ และได้เสด็จนิวัตเมืองไทยบ้าง เพราะเนื่องจากอยู่ในระหว่างการศึกษา

ภายหลังการปกครองมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงละราชสมบัติ จึงมีการลงมติเห็นชอบอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองคเจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สทบราชสันติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

โดยทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งคณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา เท่านั้น และประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์

เสด็จนิวัติพระนคร …

ในระหว่างการศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็จะเสด็จนิวัตกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาดูแลทุกข์สุขของประชาราชฏรษ์ พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 จนพระองค์พระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้เสด็จกลับนิวัตเมืองไทยครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488

เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่เพียง 1 เดือนเท่านั้น แต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ในฐานะประมุขของประเทศ พระองค์ทรงเลื่อนเวลาเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไป ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จนิวัตกลับเมืองไทยครั้งที่ 2 พระองค์เสด็จสวรรคต เนื่องจากถูกพระแสงปืน ณ ห้องบรรทมในพระที่นั้งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติเพียง 12 ปี เท่านั้น

รัชกาลที่8

ภาพรัชกาลที่ 8 ในวัยเด็ก

พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

การปกครอง ..

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปในพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 และเปิดประชุมสภาผู้แทนในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 นอกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ และทรงเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน จนเกือบเกิดสงครามกลางเมือง

เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่อง มีพระราชดำริว่า หากปล่อยความขุ่นข้องบาดหมางไว้เช่นนี้ จะเป็นผลร้ายตลอดไป จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และพระองค์ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะประมาณ 3 กิโลเมตร การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็งในครั้งนี้จึงเป็นการประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นให้หมดไป

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล ผู้ให้กำเนิดวงการแพทย์ศาสตร์

ภาพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเยี่ยมชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นครั้งแรก ณ สำเพ็ง พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2489

การศาสนา ..

ในการเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกนั้น พระองค์ได้ประกอบพิธีทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ท่ามกลางมณฑลสงฆ์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 น

อกจากนี้ ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปในพระอารามที่สำคัญ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารนั้น พระองค์เคยมีพระราชดำรัสกล่าวว่า “ที่นี่สงบเงียบน่าอยู่จริง” ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้นำพระบรมราชสรีรางคารของพระองค์มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

พระองค์ยังทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะผนวชในพระพุทธศาสนา โดยได้มีพระราชหัตเลขาถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทรงขอสังฆราชานุเคราะห์ในการศึกษาตำราทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ในการเตรียมพระองค์ในการที่จะอุปสมบท แต่ก็มิได้ผนวชตามที่ตั้งพระราชหฤทัยไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์บำรุงวัดวาอาราม กับพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ศาสนาอื่นตามสมควร

(ภาพ ฉลองพระองค์ชุดนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์)

ภาพรัชกาลที่ 8 ฉลองพระองค์ชุดนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์

การศึกษา ..

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8 ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการเสด็จนิวัติพระนครในครั้งที่ 2 พระองค์ทรงได้ประกอบพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ โดยเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจการของหอสมุดแห่งชาติ รวมทั้ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมสถานศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ทรงศึกษาขณะทรงพระเยาว์

นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 และอีกครั้งที่ หอประชุมราชแพทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยในการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งนี้ มีพระราชปรารภให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน โรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากนั้น ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงหว่านข้าว ณ แปลงสาธิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งถือเป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสด็จสวรรคต

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

วันอานันทมหิดล

วันอานันทมหิดล

ในฐานะเราปวงชนชาวไทย จึงควรรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและมหากรุณาธิคุณ อันเป็นอเนกประการ จึงร่วมใจ ถือเอาวันที่ 9 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” ในปี พ.ศ. 2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนบริจาค จากทุกรุ่นมาจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทย์ศาสตร์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปอีกด้วย

รัชกาลที่ 8 กับในหลวง

รัชกาลที่ 8 กับรัชกาลที่ 9 ในวัยเยาว์

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

รัชกาลที่ 8

9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

รัชกาลที่ 8 สมเด็จย่า และรัชกาลที่ 9 (ในหลวง)

รัชกาลที่ 8 สมเด็จย่า ในหลวง

ภาพจาก: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ . –www.debsirin.ac.th , –วิกิพีเดีย

บทความแนะนำ