พระราชพิธี พิธีบรมราชาภิเษก

องค์ประกอบริ้วขบวน ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค – ข้อมูลน่ารู้

Home / สาระความรู้ / องค์ประกอบริ้วขบวน ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค – ข้อมูลน่ารู้

วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนิน เลียบพระนคร โดยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พยุหยาตราทางสถลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ผ่านประตูวิเศษไชยศรี เข้าสู่ถนนราชดำเนิน ท่ามกลางความปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวไทย ที่เฝ้ารอรับเสด็จตลอดเส้นทาง

องค์ประกอบริ้วขบวน ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

อีกสิ่งที่น่าสนใจในริ้วขบวนพิธีสำคัญในครั้งนี้ คือผู้ที่ปฏิบัติงานในริ้วขบวน ด้วยความพร้อมเพรียง สง่างาม ความสวยงามของเครื่องแต่งกาย ในแต่ละริ้วขบวน แคมปัสสตาร์เลยขอนำเสนอความน่าสนใจ องค์ประกอบริ้วขบวน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

องค์ประกอบริ้วขบวน ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

ริ้วขบวน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน  ดังนี้

1.ส่วนแรก ขบวนหน้าเป็นขบวนนำ

ประกอบด้วย ตำรวจม้านำ วงดุริยางค์วงนำ กองบังคับการกองผสม และกองพันทหารเกียรติยศนำเสด็จพระราชดำเนิน ร.1 รอ.

ตำรวจม้านำ

2.ส่วนขบวนกลาง ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ หรือขบวนเสด็จพระราชดำเนิน

ประกอบด้วย ตอนนำริ้ว สารวัตรกระบวน ประตูหน้าซ้ายขวา ธงสามชายซ้ายขวา กลองมโหระทึก จ่าปี่ จ่ากลอง สารวัตรแตร กลองชนะแดงลายทอง กลองทอง แตรฝรั่ง แตรงอน สังข์ กลองชนะเขียวลายเงิน กลองเงิน กำกับพระแสงระหว่างเครื่องหน้า ฉัตรเครื่องสูงหักทองขวาง พระเกาวพ่าห์ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย เจ้าพนักงานกรับสัญญาณ ผู้บอกกระบวน พราหมณ์เป่าสังข์

3.ส่วนขบวนหลัง

สำหรับขบวนหลัง ประกอบด้วย วงดุริยางค์ และกองพันทหารเกียรติยศตามเสด็จฯ ร.11 รอ. รถยนต์พระที่นั่ง รถพยาบาล รวมความยาวตลอดริ้วขบวนเกือบ 500 เมตร กำลังพล 1,366 นาย จาก 13 หน่วยงาน.

องค์ประกอบริ้วขบวน ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค

การเดินในริ้วขบวน แบบกึ่งสวนสนาม

สำหรับลักษณะการเดินในริ้วขบวน เป็นแบบกึ่งสวนสนาม ตามจังหวะดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์ 6 เพลง ที่บรรเลงโดยวงดุริยางค์ คือ มาร์ชราชวัลลภ ยามเย็น ใกล้รุ่ง สรรเสริญเสือป่า สรรเสริญพระนารายณ์ และมาร์ชธงไชยเฉลิมพล

16 ราชองครักษ์แบกหามพระราชยาน

ตอนพระราชยาน ประกอบด้วย ตำรวจหลวง นายทหารเชิญธงชัย นายทหารเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ ตอนเครื่องสูงหน้า ตอนพระราชยาน ตอนเครื่องสูงหลัง และประตูหลัง

ทั้งนี้ในส่วนของชุดแบกหามพระราชยานพุดตานทอง ที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในริ้วขบวนนั้น กำหนดให้ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นเจ้าพนักงานแบกหามพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง 16 นาย จัด 5 ผลัด เปลี่ยนแบกหามทุก 500-800 ม. ใช้การเปลี่ยนคนแบกหามขณะเคลื่อนที่ โดยไม่หยุดขบวน

นอกจากนี้ยังมีพนักงานถือม้ารองพระที่นั่งทรง เจ้าพนักงานอินทร์ พรหม เชิญทวน แถวทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ ในริ้วขบวน

เจ้าหน้าที่แบกหามกลองมโหระทึก

กรมสรรพาวุธทหารบก ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดกำลังพลในตำแหน่งเจ้าหน้าที่แบกหามกลองมโหระทึก และตำแหน่งสารวัตรกลอง จำนวนรวมทั้งสิ้น 38 นาย ร่วมริ้วขบวน ในริ้วขบวนที่ 2 ริ้วขบวนราบใหญ่ และริ้วขบวนที่ 3 ริ้วขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งจะปฏิบัติในวันที่ 4 และ 5 พ.ค. 62 ตามลำดับ

เจ้าหน้าที่แบกหามกลองมโหระทึก

ซึ่งมีการจัดกำลังพลดังต่อไปนี้ กำลังพลแบกหามกลองมโหระทึก จำนวน 2 ผลัด ผลัดละ 16 นาย และกำลังพลอะไหล่ จำนวน 2 นาย รวม 34 นาย กำลังพลในตำแหน่งสารวัตรกลอง จำนวน 2 นาย และกำลังพลอะไหล่ จำนวน 2 นาย รวม 4 นาย

ความรู้ส่งท้าย

ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค และ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ต่างกันอย่างไร ?

หากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางบก เรียกว่า ขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ส่วน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ก็คือ การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ประกอบด้วยริ้วขบวนเรือที่สวยงามตระการตา เป็นพระราชพิธีที่กระทำสืบเนื่อง มาตั้งแต่สุโขทัย

ภาพจาก News.MThai.com

บทความแนะนำ