กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ ประเพณี ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ปืนใหญ่ พระราชพิธี พระราชวังเดิม พิธีบรมราชาภิเษก ยิงสลุต

ทหารสามเหล่าทัพยิงสลุตหลวงพิเศษ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

Home / สาระความรู้ / ทหารสามเหล่าทัพยิงสลุตหลวงพิเศษ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

กองทัพบก นำปืนใหญ่โบราณ 4 กระบอก ออกมา ร่วมด้วยกองทัพบก โดยกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 1 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ / บริเวณท้องสนามหลวง ส่วนด้าน กองทัพเรือ โดยฐานทัพเรือกรุงเทพ ทำการยิงสลุต ณ บริเวณป้อมวิชัยประสิทธิ์ ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม และกองทัพอากาศ โดยกรมทหารต่อสู้อากาศยานรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน / ทำการยิงสลุต บริเวณโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

ทหารสามเหล่าทัพยิงสลุตหลวงพิเศษ

ในวันที่ 4 พฤษภาคม

จะทำการยิง 3 ช่วง

ช่วงแรก เวลา 10.09 น. ยิงสลุตหลวงพิเศษ จำนวน 101 นัด เริ่มยิงเมื่อ เลขาธิการพระราชวังไขสหัสธาราอันเจือด้วยด้วยน้ำเบญจคงคาและน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 4 สระ

ช่วงที่ 2 เวลา 10.59 น.จำนวน 101 นัด ยิงเมื่อ พระราชพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ทูลเกล้าฯ ถวายพระสุพรรณบัฏ ปืนโบราณ 4 กระบอก จะทำการยิงกระบอกละ 10 นัด (รวมเป็น 40 นัด) ขณะเดียวกัน ปืนใหญ่จะทำการยิงสลุตจำนวน 101 นัด

ช่วงที่ 3 เวลา 14.20 น. ยิงสลุตหลวง 21 นัด เริ่มยิงเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับบนพระที่นั่งพุดตานกาญนสิงหาสน์ โดยปืนใหญ่จะทำการยิงสลุตจำนวน 21 นัด

ทหารสามเหล่าทัพยิงสลุตหลวงพิเศษ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

วันที่ 5 พฤษภาคม

เวลา 16.30 น. ยิงสลุตหลวงจำนวน 21 นัด เริ่มยิงเมื่อมีการยาตราริ้วขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค โดยปืนใหญ่จะทำการยิงสลุตจำนวน 21 นัด

วันที่ 6 พฤษภาคม

เวลา 16.30 น. ยิงสลุตหลวง จำนวน 21 นัดเริ่มยิงเมื่อเสด็จออกสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท โดยปืนใหญ่จะทำการยิงสลุตจำนวน 21 นัด

ส่วนหลักเกณฑ์การยิงสลุตในปัจจุบัน

หากเป็นงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชินีหรือสมเด็จพระยุพราช รวมถึงงานต้อนรับพระมหากษัตริย์ หรือประมุขแห่งรัฐ ยิงสลุตจำนวน 21 นัด

ถ้าเป็นระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ที่เป็นทหาร) ผู้บัญชาการทหารเรือ จอมพลเรือ และเอกอัครราชทูต ยิงสลุต 19 นัด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(ที่เป็นพลเรือน) พลเรือเอก และเอกอัครราชทูตพิเศษ ยิงสลุต 17 นัด

พลเรือโท และอัครราชทูต ยิงสลุต 15 นัด

พลเรือตรี และราชทูต ยิงสลุต 13 นัด (สามเหล่าทัพยศเท่ากัน ยิงสลุตเท่ากัน)

อุปทูตยิงสลุต 11 นัด

กงสุลใหญ่ ยิงสลุต 9 นัด

การยิงสลุตหลวง กับการยิงปืนใหญ่ 

ข้อแตกต่างของการยิงสลุตหลวง กับการยิงปืนใหญ่

การยิงสลุตหลวง

จะเป็นการยิงปืนใหญ่ที่มีขนาดลำกล้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตร โดยใช้ ปืนใหญ่ไม่น้อยกว่า 4 กระบอก เพื่อเป็นการถวายคำนับต่อองค์พระมหากษัตริย์ จำนวน 21 นัด

การยิงปืนใหญ่

ส่วนการยิงปืนใหญ่ที่ใช้ฝึกทั่วไป จะมีขนาด 105 มิลลิเมตร และ 155 มิลลิเมตร

การยิงสลุตหลวง เป็นธรรมเนียมที่ถูกอารยะประเทศทั่วโลก ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล การยิงสลุตคือการแสดงความเคารพให้แก่ชาติ หรือธง หรือบุคคล โดยยิงปืนใหญ่ด้วยดินดำ หรือดินไม่มีควัน มีจำนวนนัดเป็นเกณฑ์ ตามควรแก่เกียรติ หรือสิ่งที่ควรรับความเคารพ

พระราชกำหนดยิงสลุต ร.ศ.131 ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2483 จนกระทั่งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ทางราชการจึงรื้อฟื้นประเพณียิงสลุตขึ้นมาใหม่ เริ่มเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2491 เนื่องในพระราชพิธีวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยกำหนดข้อบังคับไว้โดยสรุปดังนี้

– กำหนดให้มีจำนวนปืนไม่ต่ำกว่า 4 กระบอก มีขนาดลำกล้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตร

– ห้ามยิงตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกไปแล้วจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น

ธนบัตร พระราชวัง พระราชวังเดิม ราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แม่น้ำเจ้าพระยา

พระราชวังเดิม เที่ยวชม 3 สถานที่สำคัญที่ปรากฎในแบงค์ 100 (รุ่นเก่า)

บทความแนะนำ