ข่าวบีบหัวใจในวันที่ 24 มิ.ย. 61 ที่ผ่านมา คือข่าวของน้องๆ นักบอลเยาวชน-โค้ช 13 คน หายตัวในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ยังหาไม่พบ! เมื่อเวลา 19.30 น. ของวันที่ 23 มิ.ย.61 ที่ผ่านมา นายนพรัตน์ กันทะวงค์ โค้ชทีมฟุตบอลเยาวชนท้องถิ่น (หมูป่า ทีนทอล์ค อะคาเดมี่) ได้รับแจ้งจากผู้ปกครองว่า เด็กนักเรียนที่ไปฝึกซ้อมฟุตบอล ยังไม่กลับบ้าน จึงได้ออกตามหาจากสนามซ้อมฟุตบอลไปจนถึงบริเวณหน้าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย พบรถจักรยานจอดอยู่ ซึ่งเป็นของเด็กนักเรียน 12 คน และของผู้ช่วยโค้ช 1 คน บางคันยังมีสัมภาระกระเป๋าวางไว้ที่รถ คาดว่าทั้งหมดได้เข้าไปเที่ยวในถ้ำ แล้วเกิดหลงทางหาทางออกมาไม่ได้ จึงรีบประสานงานจนท.ช่วยค้นหา .. หลายคนอาจจะสนใจข้อมูลของถ้ำนี้ อยากให้อ่าน
*** เรื่องควรรู้ก่อนเดินเข้าป่า เทคนิค วิธีการเอาตัวรอดในป่า
ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย
ที่ตั้งถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
อยู่ที่เขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่
ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง 453.00 เมตร ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก
ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้างมาก ภายในถ้ำจะพบกับความงามของ เกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด
ปากถ้ำที่สูง โถงถ้ำแรกที่เปิดกว้างระดับพื้นดินต่ำกว่าปากถ้ำมาก เนื่องจากเป็นร่องทางน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ โดยมีร่องน้ำผ่านระหว่างโถงที่ 1 และทางขวามือของร่องน้ำจะเป็นโนนดินที่สูงขึ้น มีร่องรอยหลุมยุบ และเป็นโถงที่ 2 ต่อจากโถงที่ 1 มีร่องรอยหินถล่มด้านซ้ายมือ เมื่อสิ้นสุดบันไดจากบริเวณปากถ้ำ เป็นทางเดินดินสั้น ๆ ต่อจากนั้นเป็นขั้นบันไดที่เทด้วยปูนซิเมนต์จำนวน 5-6 ขั้น ยกระดับขึ้นทอดเข้าสู่ความยาวของตัวถ้ำ โดยที่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมภายในถ้ำ และบริเวณร่องน้ำโถงที่ 1
ความท้าทายของถ้ำหลวง
ถ้ำหลวงยังรอคอยความท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะสำรวจไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมา ด้วยพบกับอุปสรรคความยากลำบากภายในถ้ำและยังมีถ้ำเล็กๆ อีก 3 แห่งในบริเวณเดียวกัน
สิ่งมีชีวิตภายในถ้ำ-นอกถ้ำ
จากการรายงานของ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 15 กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบว่า สัตว์ป่าที่สามารถพบในพื้นที่เขตวนอุทยานถ้ำหลวง – ขุนน้ำนางนอน จำแนกออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้
กลุ่มนก
มักเป็นกลุ่มที่พบได้ง่ายที่สุด เช่น นกโพระดกคอสี ฟ้า (M.asiatica) ไก่ป่า (Gallusgallus Linmaeur) นกยูง นกกะปูดใหญ่ (Centropus sinensis stephons) กลุ่มเหยี่ยวและกลุ่มนกกระจิ๊บกระจ้อยอีกหลายชนิด
กลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ชนิดที่ยังพบเห็นได้ในปัจจุบัน คือ หมูป่า (Sus sczofa Linnaeus) เก้ง (Muntiacus muntiak Zimmezmann) กระจงเล็ก (Tragulus javancus Osbeck) กระแตใหญ่เหนือ (Tupaia bulangerid Wagne) และกระรอก (Calloseiurus sp) เป็นต้น
กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน
กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) สัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก (amphibians) ชนิดที่ได้พบเห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ตะกวด กิ้งก่า งูชนิดต่าง ๆ จิ้งเหลน และตุ๊กแก เป็นต้น
นอกจากนี้ภายในถ้ำ ยังพบค้างคาวที่อาศัยอยู่ในถ้ำ
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ภาพจาก เชียงรายโฟกัส
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
– ทิศเหนือ จดดอยจ้องและห้วยน้ำจอง
– ทิศใต้ จดดอยผู้เฒ่าและลำห้วยน้ำค้าง
– ทิศตะวันออก จดบริเวณพื้นที่ราบที่อยู่ข้างๆภูเขาทั้งหมด
– ทิศตะวันตก จดภูเขลูกใหญ่ซึ่งทอดมาจากชายแดนพม่า
สิ่งก่อสร้างและการบริการ
ภายนอกถ้ำหลวง
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 โดยหน่วยงานที่ดูแลหลักคือ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย
ภายในถ้ำหลวง
ถ้ำหลวง จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมพื้นที่ถ้ำ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะไหลเข้ามาท่วมภายในถ้ำซึ่งจะไม่ปลอดภัย
และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ พบว่า นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมถ้ำส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาจเนื่องมาจากภายในถ้ำค่อนข้างเปียกชื้น และทางวนอุทยานฯ ไม่ได้มีการติดตั้งแสงไฟส่องสว่าง นักท่องเที่ยวต้องยืมหรือเช่าไฟฉาย จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งถ้ำหลวงอาจไม่ใช่ลักษณะถ้ำที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไทย แต่อาจมีความเหมาะสมในเชิงการศึกษาวิจัย ดังนั้น ป้ายแสดงเส้นทาง หรือบอกรายละเอียดภายในถ้ำมีบ้างแต่ค่อนข้างชำรุด
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน
สถานภาพ ถ้ำหลวง
แหล่งธรรมชาติจากโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บท เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม ได้ที่ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม http://www.onep.go.th
โครงการเตรียมรับมือและป้องกัน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักบอลเยาวชน-โค้ช 12 คน หายตัวในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ยังหาไม่พบ! – 24 มิ.ย. 61
นักสำรวจเปิดข้อมูล ‘ถ้ำหลวง’ แนะแนวทางการช่วยเหลือผู้สูญหาย – 25 มิ.ย. 61
“ถ้ำนางนอนหลวงเป็นถ้ำที่มีทางเข้าออกทางเดียว ระบบระบายอากาศไม่ดี ถ้าจะใช้วิธีการสูบน้ำออกควรตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ด้านนอก ไม่งั้นปริมาณ Co2 ภายในถ้ำจะสูงขึ้นทำให้การช่วยเหลือทำได้ยากและมีความเสี่ยงมากขึ้นนะครับ ตำแหน่งที่คาดว่าเด็ก ๆ น่าจะอยู่ (ตำแหน่งวงกลมสีแดง) ลึกที่สุดบริเวณปลายสุดของ Show cave น่าจะประมาณไม่เกิน 1 กม. จากปากถ้ำ
ข้อมูลถ้ำหลวง
โดย นายอนุกูล สอนเอก นักภูมิศาสตร์ที่เคยสำรวจถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย Facebook : Anukoon Sorn-ek
ติดตามข่าวสารได้ที่ MThai.com/ถ้ำหลวงนางนอน
แหล่งข่าวเกี่ยวกับ ถ้ำหลวง
Twitter : Live_Chiangmai
บทความแนะนำ
- เรื่องควรรู้ก่อนเดินเข้าป่า เทคนิค วิธีการเอาตัวรอดในป่า
- 7 วิธีเอาตัวรอด เมื่อเจอสถานการณ์ลิฟต์ค้าง
- เคล็ดลับ 13 ข้อ เพื่อความปลอดภัยของชีวิต ที่ควรเรียนรู้และจดจำ
- วิธีเอาชีวิตรอด เมื่อติดอยู่ในถ้ำ
- 2 เทคนิคเอาตัวรอด เมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน | พลาดตกจากที่สูง
- 5 วิธี เอาตัวรอด ในสถานการณ์เมื่อคุณเหมือนจะโดน หมากัด