dik-dik ดิก-ดิก สัตว์ สัตว์น่ารัก

ทำความรู้จักกับสัตว์น่ารัก เจ้าดิก-ดิก (dik-dik)

Home / สาระความรู้ / ทำความรู้จักกับสัตว์น่ารัก เจ้าดิก-ดิก (dik-dik)

มนุษย์กับสัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันมานานหลายพันปี สัตว์ที่เรารู้จักและคุ้นเคยมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงน่ารักๆ เช่น สุนัข แมว หนูแฮมสเตอร์ กระต่าย เป็นต้น และสัตว์ป่าที่เรามักคิดอยู่เสมอว่าเป็นสัตว์ดุร้าย ห้ามเข้าใกล้ เช่น สิงโต เสือ แรด เป็นต้น

ตัวดิก-ดิก (dik-dik) น่ารักน่าชัง

แต่วันนี้แคมปัส-สตาร์ จะพาไปทำความรู้จักกับสัตว์ป่าที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก เป็นสัตว์กินพืชที่มีลักษณะคล้ายกวาง อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามีชื่อว่า ดิก-ดิก (dik-dik) ด้วยหน้าตาน่ารัก ขนตายาวสวย รับรองว่าถ้าได้รู้จักพวกมันอาจจะมองสัตว์ป่าเปลี่ยนไปได้เลยล่ะ

ดิก-ดิก (dik-dik)

ดิก-ดิก เป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก อยู่ในสกุล Madoqua ( แอนทิโลป เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งมีหลายชนิดหลายสกุล อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ วงศ์วัวและควาย) มีน้ำหนักตัวเพียง 4–5 กิโลกรัม ความสูง 35–40 เซนติเมตร มีอายุโดยเฉลี่ย 10 ปี

ดิก-ดิก (dik-dik)

ดิก-ดิก ตัวผู้เท่านั้นที่จะมีเขา โดยเขาจะมีลักษณะแหลมสั้น ความยาวประมาณ 3–7.5 เซนติเมตร พบในทวีปแอฟริกาแถบภูมิภาคแอฟริกาใต้และตะวันออก อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นพุ่มไม้ที่เป็นหนามแหลมเพื่อป้องกันตัวเองจากสัตว์นักล่าและต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

ดิก-ดิก (dik-dik)

ดิก-ดิก เป็นสัตว์กินพืชจำพวกใบไม้, หน่อไม้, พืชสมุนไพร, ดอกไม้, ผลไม้ และเมล็ดพืชต่างๆ ด้วยความที่เป็นสัตว์ขนาดเล็กเจ้าดิก-ดิก จึงตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น ไฮยีนา, สิงโต, แมวป่า, อินทรี, เหยี่ยว ตลอดจนงูเหลือมและตะกวด

ดิก-ดิก (dik-dik)

สัตว์กินพืชบางชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อความปลอดภัย แต่เจ้าดิก-ดิก ถ้าเจอคู่มันจะอยู่ด้วยกันไปตลอด เมื่อมีลูกโตเต็มวัย (อายุประมาณ 7 เดือน) พ่อแม่ของมันจะไล่ลูกออกจากอาณาเขตที่อยู่และเตรียมพร้อมกับการตั้งท้องต่อไป

ดิก-ดิก (dik-dik)

เจ้าดิก-ดิก มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น การทำเครื่องหมายอาณาเขตของตัวเองโดยใช้น้ำตา โดยให้ปลายหญ้าหรือกิ่งไม้เล็กๆ ทิ่มตา ถ้าเราเห็นดิกดิกร้องไห้น้ำตาไหลแสดงว่ามันกำลังทำเครื่องหมายอาณาเขตให้ตัวอื่นรู้

ดิก-ดิก (dik-dik)

นอกจากนี้พฤติกรรมการวิ่งของเจ้าดิก-ดิก เมื่อตกใจหรือตกอยู่ในอันตรายมันจะวิ่งหนีแบบซิกแซ็ก ด้วยความเร็วสูงถึง 26 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีเสียงลมผ่านออกมาทางจมูกเกิดเสียงคล้ายเสียง “ดิก-ดิก” ซึ่งเสียงนี้ไม่เพียงแต่จะเตือนพวกมันเท่านั้น แต่ยังช่วยแจ้งเตือนสัตว์พวกอื่นๆ ได้อีกด้วย

ดิก-ดิก (dik-dik)

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก mentalfloss.com, twitter: @GratitudeDNA, th.wikipedia.org, pinterest.com

บทความแนะนำ