ราชวงศ์จักรี รายชื่อ สมเด็จพระเทพฯ สัตว์ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร

รายชื่อพันธุ์สัตว์ ที่ตั้งชื่อตามพระนามในราชวงศ์ – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

Home / สาระความรู้ / รายชื่อพันธุ์สัตว์ ที่ตั้งชื่อตามพระนามในราชวงศ์ – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

รายชื่อพันธุ์สัตว์ ชื่อของพันธุ์สัตว์เหล่านี้ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร, ปูเจ้าฟ้า, ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน , กั้งเจ้าฟ้า , ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร , กุ้งเจ้าฟ้า , ผีเสื้อกลางคืน , ชันโรงสิรินธร , ทาร์เซียสิรินธร , ผีเสื้อกลางคืนสิรินธร , หอยบุษราคัม , สิรินธรน่า โคราชเอนซิส , ตั๊กแตนคูหารัตน์ ,ผีเสื้อรัตติสิริน  อันเนื่องด้วยพระนามาภิไธย (ชื่อ) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รายชื่อพันธุ์สัตว์ ที่ตั้งชื่อตามพระนามในราชวงศ์ – สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

(Phuwiangosaurus sirindhornae Martin, Buffetaut & Suteethorn 1994)

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หมายความว่า “สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง” เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod – ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง (อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)

พบกระดูกภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) ซึ่งพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว จำนวนมากกว่า 800 ชิ้น และแหล่งภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สถานที่พบเป็นครั้งแรก (type locality) พบกระดูกของพวกวัยเยาว์ ขนาดประมาณ 2 เมตร สูง 0.5 เมตรรวมอยู่ด้วย / อ่านเพิ่มเติม ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

(Pseudochelidon sirintarae Thonglongya, 1968)

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (อังกฤษ: White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีสีดำออกเขียวเหลือบ ตะโพกขาว หางมีขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวแผ่ตรงปลาย วงรอบตาสีขาวหนา ปากสีเหลืองสดออกเขียว ทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่นกวัยอ่อนไม่ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมา สีขนออกสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย พฤติกรรมเป็นที่ทราบน้อยมากรวมถึงแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ คาดว่าเหมือนนกนางแอ่นชนิดอื่นที่บินจับแมลงกินกลางอากาศ และเกาะคอนนอนตามพืชน้ำในฤดูหนาว / อ่านเพิมเติม นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ปูเจ้าฟ้า

ปูเจ้าฟ้า หรือ ปูสิรินธร หรือ ปูน้ำตก

(Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr, 1989)

ปูเจ้าฟ้า หรือ ปูสิรินธร หรือ ปูน้ำตก เป็นปูน้ำตกพบที่วนอุทยานน้ำตกหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2529[2] เป็นปูที่มีสีสันสวยงาม กระดองและก้ามทั้งสองข้างเป็นสีขาว ขาเดินทั้งสี่คู่และเบ้าตาและบริเวณปากเป็นสีม่วงดำ มีลักษณะปล้องท้องและอวัยะเพศผู้คู่ที่ 1 ต่างจากปูชนิดอื่น เมื่อโตเต็มที่ความกว้างของกระดอกประมาณ 9-25 มิลลิเมตร พบอยู่จำกัดบริเวณน้ำตกแถบภาคตะวันตกของไทย เช่น น้ำตกห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้ำตกที่เขาพะเนินทุ่ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535

อ่านเพิ่มเติม ปูเจ้าฟ้า ภาพจาก แอ่วป่าเมืองฝนแปดแดดสี่ , อุทยานแห่งชาติ น้ำตกหงาว … เดินป่าหาดู ปูเจ้าฟ้า

ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร

ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร

(Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000)

ไรน้ำนางฟ้า เป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ในประเภท สัตว์โบราณ เนื่องจากมีขาว่ายน้ำจำนวน 11 คู่ และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบกพัดอาหารเข้าปาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่ กว่าตัวเมียเล็กน้อย  สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช

ในประเทศไทยพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด คือ

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) ลำตัวใสหรือสีฟ้า หางแดง ลำตัวยาวประมาณ 1.5-3.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้า เป็นชนิดที่แพร่หลายกว่าชนิดอื่น

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) มีลำตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาวประมาณ 1.7-4.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้อแต่มีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธร

3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Saengphan & Sanoamuang) ลำตัวใสหรือสีฟ้าอ่อน คล้ายไรน้ำนางฟ้า สิรินธร แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีตัวยาวประมาณ 1.1-2.0 เซนติเมตร ไข่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายปิระมิด และเป็นชนิดที่หายากมาก

ที่มา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ , phetchaburi-fightingfish , เกษตรธรรมะความรู้ , การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า

ผีเสื้อรัตติสิริน

ผีเสื้อรัตติสิริน

(Eucosmogastra sirindhornae Pinkaew & Laeprathom, 2016)

ผีเสื้อรัตติสิริน หรือผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก พบเพียงแห่งเดียวที่สถานีวิจัยวิจัยสัตว์ป่าฮาลาบาลา จ.นราธิวาส

ลักษณะผีเสื้อกลางคืน ปีกแผ่กว้างเพียง 1.6 มม. ปีกคู่หน้ามีแต้มสีเทาปนน้ำเงินสลับกับแต้มสีน้ำตาลดำกระจายทั่วปีก ปีกคู่หลังมีสีเหลืองตรงกึ่งกลางปีกและแถบยาวสีเหลืองบริเวณโคนปีกบนพื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม ขอบปีกสีเหลือง ปล้องท้องสีดำสลับเหลือง ถือเป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีสีสันสวยงามที่สุด // อ่านข้อมูลเพิ่มเติม “ผีเสื้อรัตติสิริน” ภาพจาก www.kps.ku.ac.th

ผีเสื้อกลางคืนสิรินธร

ผีเสื้อกลางคืนสิรินธร

(Sirindhornia)

ผีเสื้อกลางคืนสิรินธร ในสกุล Sirindhornia ค้นพบโดย รศ.ดร.นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว และทีมงานนิสิตปริญญาโทจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จากการสำรวจความหลากหลายของผีเสื้อกลางคืนในป่าธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ใน 3 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด นับเป็นผีเสื้อกลางคืนสกุลใหม่ของโลกและได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 / ภาพจาก www.banmuang.co.th

กุ้งเจ้าฟ้า

 

(Macrobrachium sirindhorn Naiyanetr, 2001)

กุ้งเจ้าฟ้า กุ้งน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก ที่ค้นพบโดย ศ.ไพบูลย์ นัยเนตร แห่งภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพล. ตรีพิศาล วัฒนคีรีวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม พร้อมคณะให้ความร่วมมือ ช่วยเก็บตัวอย่างจากถ้ำยามอน และ ถ้ำแม่ละนา อ.ปางมะย้า จ.แม่ฮ่องสอน

กุ้งที่พบมีลักษณะเด่น คือมีกรีรูปร่างเป็นใบหอก และมีจำนวนฟันบนกรี เป็น 3 (10-11) ขาเด่นคู่ที่ 2 ซึ่งเป็นก้ามหนีบใหญ่ มีลักษณะรูปร่างแตกต่างจากชนิดอื่น คือ นิ้วหนีบทั้งสองข้างเรียบและไม่มีร่อง ส่วนอุ้งก้ามจะมีตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่รอบๆ ลำตัวมีสีขาวเมื่อถูกแสงไฟขณะที่ว่ายอยู่ในถ้ำ แต่พอพ้นน้ำขึ้นจะค่อยๆ กลายเป็นสีแดง เรื่อๆ จนถึงสีแดงเข้มตามลำดับ กุ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ในถ้ำมืดและอยู่ลึกจากปากถ้ำเข้าไปประมาณ 1 กม. ขนาดของกุ้งใหญ่ที่สุดที่จับได้ประมาณ 5 ซม. เมื่อส่งตัวอย่างไปตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาของประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าเป็นกุ้งน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก / ที่มา www.csr.chula.ac.th

กั้งเจ้าฟ้า

กั้งเจ้าฟ้า

(Acanthosquilla sirindhorn Naiyanetr, 1995)

กั้งเจ้าฟ้า คือ กั้งตั๊กแตนที่มีสีสันสวยงาม พบจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย ที่ปัตตานี ในปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 40 พรรษา จุฬาลงกรณ์ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของกั้งชนิดใหม่นี้ เป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพิเศษดังกล่าว / ที่มา www.csr.chula.ac.th

ชันโรงสิรินธร

ชันโรง

(Trigona sirindhornae Michener & Boongird, 2003)

ชันโรงคือ ผึ้งชนิดหนึ่ง บางสายพันธุ์มีขนาดเล็กถึง2 มิลลิเมตร บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีสีดำ อาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ โพรงใต้ดิน ในรังมดบางชนิด ชันโรงเป็นผึ้งที่ไม่มีพิษเหมือนผึ้งทั่วไป ถึงแม้จะมีเหล็กในก็ตามแต่ด้วยเพราะไม่มีถุงพิษ แต่สามารถกัดได้เจ็บ จากเขี้ยวกรามที่แข็งแรง … แต่เดิมชันโรงเป็นผึ้งป่าอาศัยเก็บเกษร น้ำต้อยจากดอกไม้ต้นไม้ทุกชนิด แต่ในปัจจุบันนักวิจัยสามารถนำชันโรงมาเลี้ยงได้แล้ว เช่นพันธุ์ปากแตรใหญ่ พันธุ์สิริญธร เป็นต้น : อ่านเพิ่มเติม > ความรู้เกี่ยวกับ “ชันโรง” , “ชันโรง ตัวนิดๆ แต่ราคาหลักพัน” , ภาพจาก www.discoverlife.org

ทาร์เซียสิรินธร

ภาพด้านบนคือทาร์เซียแบบจำลอง : (Tarsius sirindhornae Chaimanee, Lebrun, Yamee & Jaeger, 2010)

การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไพรเมต จำพวกทาร์เซียชนิดใหม่ของโลก อายุ 13 ล้านปี กรมทรัพยากรธรณี ได้ค้นพบที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกไพรเมต ลักษณะคล้ายลิง และเป็นสายพันธุ์เดียวกับมนุษย์ .. โดยพบกรามพร้อมฟัน จำนวน 18 ซี่ แบ่งเป็น กรามบนพร้อมฟัน 17 ซี่ และกรามล่างพร้อมฟัน 1 ซี่ และจากผลการศึกษาพบว่าซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าว มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ทาร์ซิอิเด มีน้ำหนักตัวราว 90 – 180 กรัม มีเบ้าตาขนาดใหญ่มาก มีกระดูกข้อเท้าหลังที่ยาวใช้ในการกระโดดได้ไกล มีนิ้วมือเรียวยาวมากและมีเล็บแบน เว้นแต่นิ้วที่ 2 – 3 จะมีกรงเล็บ และสามารถ หมุนคอได้ 180 องศา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ กินแมลง เป็นอาหารและหากินกลางคืน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า ทาร์เซียส สิรินธรเน (Tarsius sirindhornae) โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสนพระทัยในงานด้านซากดึกดำบรรพ์

ทาร์เซียร์ (Tarsier) หรือ มามัก (Mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในอันดับไพรเมต ที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก / กรมทรัพยากรธรณี

หอยบุษราคัม

หอยบุษราคัม

(Amphidromus principalis Sutcharit & Panha, 2015)

จากการศึกษาความหลากหลายของสปีชีส์หอยทากบกในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 30 ปี ประมาณการได้ว่า ประเทศไทยมีหอยทากบกทั้งสิ้น 1,000 – 1,500 ชนิด ขณะเดียวกันยังค้นพบหอยทากชนิดใหม่ของโลก ประมาณ 100 ชนิด โดยเฉพาะหอยต้นไม้ หรือ หอยนก ซึ่งมีสีสันสวยงามได้รับการขนานนามว่า ‘อัญมณีแห่งพงไพร’ หรือ ‘Gems of the forest’

ทั้งนี้ ในปี 2558 ผลงานการค้นพบหอยต้นไม้ของคณะวิจัย ได้ถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ‘ZooKeys 2015‘ ถึง 2 ชนิด โดยชนิดแรกตนและคณะวิจัยได้เก็บตัวอย่างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จากการลงสำรวจพื้นที่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องจากมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ค้นพบหอยต้นไม้สวยงามชนิดใหม่มีสีเหลืองสดใส ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานชื่อหอยว่า ‘หอยบุษราคัม’ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amphidromus principalis Sutcharit & Panha, 2015 (แอมฟิโดรมัส พรินซิพาลิส) ทั้งนี้ คำว่า ‘principalis’ เป็นภาษาละติน มีความหมายว่า ‘of the princess’ อันหมายถึงองค์สมเด็จพระเทพฯ / ที่มา นสพ.คมชัดลึก

สิรินธรน่า โคราชเอนซิส

สิรินธรน่า โคราชเอนซิส

(Sirindhorna khoratensis Shibata, Jintasakul, Azuma & You, 2015)

อิกัวโนดอนต์ “สิรินธร” (Sirindhorna khoratensis) เป็นไดโนเสาร์ประเภทมีกระดูกสะโพกแบบนก กินพืช และอยู่ในกลุ่มย่อยที่มีหัวแม่มือเป็นเดือยแหลมของกลุ่มใหญ่อิกัวโนดอนต์ ซึ่งความหมายของอิกัวโนดอนต์ในภาษาอังกฤษ Lguanodont มาจาก Lguana และ -odont หรือ -odon ที่หมายถึงฟันในภาษากรีก อิกัวโนดอนต์จึงหมายถึง กลุ่มไดโนเสาร์กินพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่มีฟันคล้ายฟันกิ้งก่าอิกัวน่า แต่มีลักษณะที่ใหญ่กว่ามาก และจัดเป็นไดโนเสาร์ขนาดกลางถึงใหญ่ มีความยาวประมาณ ๔-๑๔ เมตร อายุประมาณ ๑๒๐ ล้านปีมาแล้ว ขนาดความยาว ๖ เมตร ความสูงระดับสะโพก ๒ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑ ตัน ซึ่งแหล่งค้นพบอยู่ที่ บ้านสะพานหิน ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐ โดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Sirindhorna khoratensis เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก :ที่มา koratdaily.com

ตั๊กแตนคูหารัตน์

ตั๊กแตนคูหารัตน์

(Mimadiestra sirindhornae Dawwrueng, Storozhenko & Artchawakom, 2016)

ตั๊กแตนคูหารัตน์ นักวิจัยค้นพบในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา ลำตัวสีน้ำตาลเทา ตัวยาวประมาณ 14.7 – 15.8 มม. ตัวเมียโตกว่าตัวผู้เล็กน้อย ลำตัวอ้วนป้อม หลังโก่งชัดเจน หนวด และขายาวมาก โดยเฉพาะหนวดยาว กว่าความยาวลำตัวมาก ด้านบนของท้องปล้องที่ 8 แตกเป็นง่ามชัดเจน และแผ่นปิดอวัยวะเพศด้านล่างลำตัวโค้งมนคล้ายนิ้วมือ ตั๊กแตนคูหารัตน์ กินแมลงชนิดอื่นเป็นอาหาร และที่สำคัญที่สุดแมลงชนิดนี้เป็นแมลงเฉพาะถิ่นของประเทศไทย // ภาพจาก www.soccersuck.com

ภาพประกอบอื่นๆ พันธุ์สัตว์น่าสนใจ

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ตัวอย่างของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์

แสตมป์ชุดปูไทย

รูปบนด้านซ้ายนั่นคือ ปูพระพี่นาง ขวามือคือ ปูทูลกระหม่อม / ภาพแสตมป์ล่างซ้าย ปูเจ้าฟ้า ล่างขวา ปูราชินี / อ่านเพิ่มเติม เรื่องแสตมป์ ชุดปูไทย , ปูหายาก ภาพจาก www.stampsac.com

ผึ้งชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว

ข้อมูลเพิ่มเติม > เทคนิคและวิธีการเก็บน้ำผึ้งชันโรง

ไรน้ำนางฟ้าไทย

ไรน้ำนางฟ้าไทย

หอยชนิดใหม่ของโลก ปี 2558 หอยบุษราคัม

ภาพจาก thaitribune.org/

ทาร์เซียร์ ฟิลิปปิน (Tarsius syrichta)

รายชื่อพันธุ์สัตว์

ภาพจาก th.wikipedia.org/wiki/ทาร์เซีย

และตัวสุดท้ายนี้ไม่ได้ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระเทพฯ แต่พระองค์ทรงตั้งชื่อให้ เป็นแมลงชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบ..

มดทหารพระเทพ

รายชื่อพันธุ์สัตว์

มดทหารเทพา หรือ มดทหารพระเทพ (Aenictus shilintongae Jaitrong et Ted)*

*สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเป็นชื่อแมลงชนิดใหม่ของโลก จำนวน 3 ชนิด ที่นักวิจัยของ อพวช.ได้ค้นพบ ได้แก่ ตั๊กแตนคูหารัตน์ , ผีเสื้อรัตติสิริน และ มดทหารเทพา หรือ มดทหารพระเทพ (Aenictus shilintongae Jaitrong et Ted) ซึ่งแมลงชนิดใหม่ของโลกทั้ง 3 ชื่อ ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์แล้วในวารสาร “The Thailand Natural History Museum Journal” ซึ่งเป็นวารสารด้านธรรมชาติวิทยาระดับสากล โดยมี อพวช. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ

ที่มาแหล่งข้อมูล : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ_สยามบรมราชกุมารี , ดอกไม้นามสิรินธร , ค้นหาข้อมูลพรรณไม้อื่นๆ www.dnp.go.th , สิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย , โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , สาระวิทย์ ฉบับที่ 25, เมษายน 2558

บทความแนะนำ