ความเชื่อต่างๆ พิธีฮัจญ์ ศาสนาอิสลาม

หินดำ ที่เมกกะห์ มีความหมายอย่างไร ? วิหารกะบะห์ Ka’bah ประเทศอินเดีย

Home / สาระความรู้ / หินดำ ที่เมกกะห์ มีความหมายอย่างไร ? วิหารกะบะห์ Ka’bah ประเทศอินเดีย

ชาวมุสลิมเชื่อว่า “ทุกแห่งในโลก ถ้ามีภัยพิบัติ ก็อยู่ในการอนุมัติของอัลลอฮ์ทั้งสิ้น” รวมถึงการที่ชาวมุสลิมที่ไปแสวงบุญ ที่นครเมกกะห์จำนวนมากต้องทิ้งชีวิตไว้ที่นั่นก็ด้วย

หินดำ ที่เมกกะห์ มีความหมายอย่างไร

นครเมกกะห์ ตั้งอยู่ในประเทศซาอุดิอาราเบีย เป็นนครศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของมุสลิมที่มีความสามารถทางด้านร่างกายและด้านการเงิน หน้าที่และภารกิจต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในช่วงเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม (ช่วงเดือนสิงหาคม)

หินดำที่เมกกะห์

หินดำมาจากไหน สำคัญอย่างไร ? ตามความเชื่อของชาวมุสลิม

ตามความเชื่อของศาสนาอิสลามนั้น จุดเริ่มต้นของนครเมกกะห์คือ วิหารกะบะห์ (Ka’bah) ที่สร้างโดยท่านนบีอดัม และพระนางเฮาวาอ์ (หรืออดัมกับอีฟ ตามความเชื่อศาสนาคริสต์) ซึ่งเป็นมนุษย์ชายหญิงคู่แรกของโลก สร้างขึ้นตามคำบัญชาขององค์อัลลอฮ์ เพื่อเป็นสถานที่แสดงความเคารพสักการะพระอัลลอฮ์

ต่อมาท่านนบีอิบรอฮีม และท่านนบีอิสมาอิลได้ทำการบูรณะ และเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว เทวทูตก็ได้ปรากฎกายขึ้น พร้อมกับหินดำศักดิ์สิทธิ์ที่พระอัลลอฮ์ประทานให้ทั้งสองท่าน ที่เนินเขาญะบัล กูบิส (Jabal Qubais) ที่เป็นภูเขาลูกแรกของโลกตามความเชื่ออิสลาม ตามความเชื่อของชาวมุสลิมเชื่อว่าเมื่อครั้งที่หินนี้ลงมาจากสวรรค์ มีสีขาวบริสุทธิ์ยิ่งกว่าน้ำนม แต่ต่อมาได้ถูกมลทินและความบาปของมนุษย์ ทำให้หินนี้กลายเป็นสีดำอย่างที่เห็นทุกวันนี้

ในปัจจุบันหินดำได้แตกออกเป็น 8 ก้อนเล็ก ๆ จากที่เคยเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ก้อนเดียว เกิดจากหลายสาเหตุ เช่นน้ำท่วม และการโจรกรรม โดยหินดำทั้งหมดถูกบรรจุอยู่ในกรอบโลหะสีเงิน

กะบะห์ ถือเป็น กิมละฮ์ คือ เป็นทิศที่มุสลิมต้องหันหน้าไปเวลาละหมาด และเป็นศูนย์กลางของการประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมสูง 15 เมตร ด้านในเป็นห้องโถง มีหินดำที่เรียกว่า หะญะรุลอัสวัค วางอยู่ที่ผนัง ผู้ที่ไปบำเพ็ญฮัจญ์จะต้องจูบ หรือสัมผัสหินดำนี้ในขณะที่เดินวนรอบกะบะห์

วิทยาศาสตร์ของหินดำ

สำหรับชาวมุสลิมแล้ว หินดำนั้นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่จากการตรวจสอบโดยนักวิทยาศาสตร์จาก สหรัฐฯ พบว่าหินดำเป็นวัตถุนอกโลก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นก้อนอุกกาบาตที่มาจากที่อื่น เพราะองค์ประกอบและธาตุบางชนิดเป็นธาตุที่ไม่พบในโลกและกาแลคซี่ของเรานั่นเอง แต่บ้างก็บอกว่าจริง ๆ แล้ว ชาวมุสลิมไม่ได้เชื่อในหินดำ..

ชาวมุสลิมไม่ได้ศรัทธาใน หินดำ ?

มีคำกล่าวที่ว่า “หินดำ ไม่ใช่หินศักดิ์สิทธ์ แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ให้ชาวมุสลิมได้เดินเวียนรอบ และจูบตามที่ท่านนบีฯ เคยปฏิบัติมา” แล้วเหตุใดพวกเขาจึงปฏิบัติต่อหินดำเช่นนั้น..

ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “หินดำคือการสาบานของอัลลอฮ์ (ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติ) ในพื้นพิภพนี้ ซึ่งสิ่งถูกสร้างของพระองค์ (มนุษย์) สามารถจับสัมผัสมันได้ เสมือนกับการที่บุรุษได้จับสัมผัสมือของพี่น้องของเขา” ด้วยเหตุนี้เองท่านศาสดาจึงได้จูบหินดำ

ท่านคอลีฟะฮ์ อุมัร อิบนิค้อตฏ้อป กาหลิบคนที่ 2 แห่งอาณาจักรอิสลาม สหายคนสนิทของท่านศาสดามุฮัมมัด ซ.ล (นบีคนสุดท้ายของอิสลาม) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงฉันรู้ว่าเจ้า (หมายถึง หินดำ) คือหินธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้น เจ้าไม่ให้โทษและไม่ให้คุณ หากว่าฉันไม่เห็นท่านศาสดา (ซ.ล) จูบเจ้าแล้วละก็ ฉันก็จะไม่จูบเจ้าหรอก”

นั่นหมายความว่า มุสลิมไม่ได้ให้เกียรติต่อหินดำ แต่ให้เกียรติต่อท่านนบีฯ ที่ปฏิบัติต่อหินดำนั้นต่างหาก

ที่มา: slamhouse.muslimthaipost.com , oknation.nationtv.tv , quran-islam-muhammadfilessetupck.cf

บทความแนะนำ