ถ้ำหลวง

8 ขั้นตอน การรับมือของ โรงพยาบาลแพทย์สนาม การช่วยเหลือ 13 ชีวิต

Home / เรื่องทั่วไป / 8 ขั้นตอน การรับมือของ โรงพยาบาลแพทย์สนาม การช่วยเหลือ 13 ชีวิต

เสร็จสิ้นไปแล้ว 1 ภารกิจ สำหรับปฏิบัติการในการค้นหาเด็ก ๆ และโค้ช ทีมหมูป่า รวม 13 คน ที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย แต่ก็ยังเหลืออีก 2 ภารกิจที่เหล่าเจ้าหน้าที่ยังคงต้องดำเนินต่อไปก็คือ การกู้ภัย หรือการพาเด็ก ๆ และโค้ชออกมาจากถ้ำหลวงให้ได้ พร้อมทั้งยังเหลือหภารกิจในการส่งกลับ คือการที่พาทุกคนส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัย

แผนการรับมือ โรงพยาบาลแพทย์สนาม การช่วยเหลือ 13 ชีวิต

ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ เชียงราย (ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร) ก็ได้มีการเตรียมแผนรับมือในการดูแลและปฐมพยาบาลให้กับเด็ก ๆ และโค้ชทั้ง 13 คนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งก็ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์สนาม และมีทีมแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด

โดยได้มีการส่ง หมอภาคย์-พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน เข้าดูอาการของน้อง ๆ และโค้ช ภายในถ้ำพร้อมกับหน่วยซีล และมีทีมแพทย์ ทีมกู้ภัยคอยสนับสนุนอยู่ทั้งภายในถ้ำและนอกถ้ำ สำหรับขั้นตอนในการดูแลและขนย้ายผู้ป่วยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

โรงพยาบาลแพทย์สนาม
บริเวณด้านนอกโรงพยาบาลแพทย์สนาม

1. หน่วยเตรียมขนส่ง

หน่วยเตรียมขนส่ง มีหน้าที่ในการนำตัวผู้ประสบภัยให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง และประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนนำตัวผู้ป่วยลำเลียงออกจากปากถ้ำ และนำขึ้นบันไดมาที่รถพยาบาล

2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น

หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น หากทีมแพทย์พบตัวผู้ประสบภัยแล้ว จะต้องทำการประเมินอาหารว่าอยู่ในระดับไหน ถ้าหากอยู่ในระดับที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะนำออกมาบริเวณหน้าถ้ำและขึ้นรถพยาบาลไปในทันที แต่ถ้าหากผู้ประสบภัยอยู่ในอาการขั้นวิกฤต ทางทีมแพทย์จะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในถ้ำทันที และเมื่อมีอาการดีขึ้นถึงจะนำออกมาขึ้นรถพยาบาลทันที (ขั้นตอนของการปฐมพยาบาล จะทำภายใน 30 นาที)

ภายในโรงพยาบาลแพทย์สนาม
ภายในโรงพยาบาลแพทย์สนาม

ขั้นตอนในการดูแลและขนย้ายผู้ป่วย

3. หน่วยลำเลียงผู้ประสบภัย

หน่วยลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปยังโรงพยาบาลสนาม (เป็นห้องพยาบาลที่มีลักษณะเป็นห้องผ่าตัดด่วน) ซึ่งจะตั้งอยู่บริเวณใกล้ปากทางเข้าถ้ำ

4. หน่วย Triage and Resuscitation

หน่วย Triage and Resuscitation หรือ หน่วยแพทย์ที่วิเคราะห์อาการตามความรุนแรง จะมีหน้าที่ในการคัดแยกผู้ประสบภัยตามความรุนแรงของอาการที่เป็น และความเร่งด่วนวิธีที่จะใช้ในการรักษาหรือตัดสินใจในการส่งตัวต่อไปยังโรงพยาบาล (ซึ่งจะต้องคำนึงอาการของผู้ประสบภัยเป็นหลักและความเร่งด่วน) หากผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนหรือหนักจะต้องทำการรักษาที่โรงพยาบาลสนามเสียก่อน

5. หน่วยขนส่งผู้ประสบภัยทางอากาศ

หน่วยขนส่งผู้ประสบภัยไปยังท่าอากาศยาน หากทีมแพทย์วิเคราะห์อาการแล้ว พบว่าสามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์ได้ ก็จะรีบลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปลานบิน เพื่อนำตัวส่งโรงพยาลเชียงรายฯ ต่อไป

ภายในโรงพยาบาลแพทย์สนาม
ภายในโรงพยาบาลแพทย์สนาม

6. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยบนอากาศ

ขณะที่มีการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ จะมีหน่วยดูแลป่วยคือ ทีมแพทย์ Sky Doctor 2 ท่าน ที่จะทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยจะเป็นทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทหาร รับหน้าที่ในการเป็นแพทย์ดูแลขณะขาส่งทางอากาศ

7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย

หน่วยดูแลผู้ป่วยที่ลานบินเป้าหมาย จะมีทีมแพทย์คอยดูแลอาการของผู้แป่วยจากสนามเก่าไปยังโรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์

8. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาล

หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์ เมื่อได้มีการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลสนามแล้ว ก็จะมีการแจ้งมาที่โรงพยาบาลเชียงรายฯ เพื่อให้เตรียมการรักษาให้พร้อมก่อนที่ผู้ป่วยจะถูกส่งตัวมาถึง

เปิด 4 แผน พา 13 ชีวิต ออกจากถ้ำหลวง…. 

บทความที่น่าสนใจ

ข้อมูลและภาพจาก : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, FB : ข่าวทหาร

Written by : Toey