พม่า รัฐฉาน เชียงตุง

ความรู้เกี่ยวกับ เชียงตุง เมืองในรัฐฉาน, พม่า | เชียงตุงเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย

Home / สาระความรู้ / ความรู้เกี่ยวกับ เชียงตุง เมืองในรัฐฉาน, พม่า | เชียงตุงเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย

ดูละคร บ่วงบรรจถรณ์ แล้วอยากรู้เรื่องราว “เชียงตุง” ขึ้นมาทันที ได้ยินบ่อยๆ ในละครไทย ก็ให้นึกสงสัย ว่าเมืองนี้อยู่ในไทยหรือเปล่า หาคำตอบได้ว่า “ไม่ใช่” … เชียงตุง (Keng Tung) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขิน และชาวไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนาไทย และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng Tung) ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้

เชียงตุง เมืองในรัฐฉาน พม่า

เดิมนั้น หอหลวงเชียงตุง เป็นอาคารคอนกรีตใหญ่โตและสง่างามแบบอินเดียผสมยุโรป และมีหลังคาแบบไทยเขิน ที่แห่งนี้เป็นทั้งสถานที่ที่เจ้าฟ้าใช้ว่าราชการและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

คุ้มเชียงตุงในอดีต / ปัจจุบันโดนรื้อสร้างโรงแรม

คุ้มเชียงตุงในอดีต / ปัจจุบันโดนรื้อสร้างโรงแรม : ประมาณปี 2540 รัฐบาลทหารพม่าจึงได้สร้างโรงแรมนิวเชียงตุง (Kyainge Tong New Hotel) ขึ้นบนตำแหน่งเดิมของหอหลวงเชียงตุง

สมญานาม เมืองแห่ง 3 จอม 9 หนอง 12 ประตู

เชียงตุงได้รับสมญานามว่า เมืองแห่ง 3 จอม 9 หนอง 12 ประตู มีรายละเอียดดังนี้

เมือง แห่ง 3 จอม จอม หมายถึง เนินเขา ได้แก่ 1. จอมทอง (จอมคำ) ที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมคำ 2. จอมมน ที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมมน 3. จอมสัก ที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ

เมืองแห่ง 9 หนอง คือ หนองน้ำ ได้แก่ 1. หนองตุง 2. หนองโตง 3. หนองเย 4. หนองแล้ง 5. หนองยาง 6. หนองโปง 7. หนองเข้ 8. หนองใต้ 9. หนองตาช้าง ** แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหนองเดียวเท่านั้น คือ หนองตุง

เมืองแห่ง 12 ประตู คือ ประตูเมืองในเชียงตุง ได้แก่ 1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า 4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ 7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง 10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน  ** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตู คือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา

ตราประจำเมือง เมืองเชียงตุงเริ่มใช้ตราประจำเมืองรูปสิงหราช ในสมัยเจ้าเจ็ดพันตูสิงหราช เป็นสัญลักษณ์แทนเจ้าเจ็ดพันตูซึ่งทรงปกครองและพัฒนาเมืองเชียงตุงจนเจริญ รุ่งเรือง

ประชากร เมืองเชียงตุงมี ประชากรหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทเหนือ ไทลื้อ ชาวจีน ชาวปะหล่อง ชาวแอ่น อาข่า อีก้อ ลาฮู ลีซอ ลัวะ ยาง ชาวว้า ฯลฯ มีไทเขินเป็นคนพื้นเมืองมากอันดับหนึ่ง ไทใหญ่เป็นอันดับสอง

หอหลวงเจ้าฟ้าเชียงตุง

หอลวงเชียงตุง (Keng Tung) “ครั้งบ้านเมืองยังดี” (ภาพเมื่อปี 2499) มีเนื้อที่ของคุ้มกว้างประมาณสิบกว่าไร่ ภายในนั้นนอกจากตำหนักของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง และ ตำหนักของเจ้าย่าตำหนักใหญ่ ของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว เป็นตึกสามชั้นสีขาวแบบแขกอินเดีย สร้าง พ.ศ. 2449 – 2534

พระราชวังเชียงตุง ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2446

ก่อสร้างโดยเจ้ากอนแก้วอินท์แถลง นับเป็นพระราชวังใหญ่ที่สุดในรัฐฉาน ชึ่งเหมาะสมกับสถานะ ของเชียงตุง ชึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่สุด ครอบคลุมพื้นที่ 12,000 ตารางไมล์ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน มีการใช้อิฐขนาดใหญ่แบบอินเดีย เพื่อเป็นฐานรองรับพระราชวัง และบรรดาที่พักอาศัยของเจ้าฟ้า พระชายาทั้งหก และพระราชบุตร พระราชธิดา 19 พระองค์ เจ้าฟ้าจายหลวง พระราชนัดดา เป็นผู้ปกครอง พระราชวัง องค์สุดท้าย จนถึงปี 2502 ก่อนจะส่งมอบให้กับรัฐบาลแห่งรัฐฉาน

เมื่อทหารพม่ายึดอำนาจในปี 2505 พวกเขาได้จับกุมเจ้าฟ้าจายหลวง พร้อมกับพระเชศฐา และเจ้าฟ้าองค์อื่นๆ ของรัฐฉาน นำตัวไปกุมขัง ในเรือนจำอินเส่ง ที่กรุงย่างกุ้ง เป็นเวลา 6 ปี เมื่อได้รับการปล่อยตัว พระองค์ได้ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ที่เมืองเชียงตุง หน่วยทหารพม่าในพื่นที่เข้ายึดเอาพระราชวัง ทำเป็นศูนย์บัญชาการ

รัฐบาลทหารพม่าเริ่มทุบทำลายหอหลวงเชียงตุง และอาคารบริวาร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกยน 2534 ตามคำสั่งของรัฐบาลพม่า การรื้อทำลายใช้เวลาประมาณ 6 เดือน  แม้ว่าจะมีการร้องขอมากมาย จากพระภิกษุในท้องถิ่น และมีการโปรยใบปลิวเพื่อประท่วงรอบเมือง เศษชากหินของอาคาร ตกเกลื่อนกระจัดกระจาย ตามท้องถนนรอบตัวเมืองเชียงตุง

ภาพจาก picasaweb.google.com , charosville.blogspot.com , www.huglanna.com

โรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel)

ประมาณต้นปี 2535 รัฐบาลทหารพม่าได้สร้างโรงแรมเชียงตุง (Kyainge Tong Hotel) ขึ้นก่อน ที่บริเวณลานด้านนอก รองรับผู้เข้าพักได้ 60 คน ที่พักเป็นอาคารแถวชั้นเดียว 2 หลัง และบังกาโล 4 หลัง ส่วนลานด้านใน ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งหอหลวงนั้น ทำเป็นที่จอดรถ

ภาพ หอหลวงเชียงตุง ที่กลายเป็นโรงแรมไปแล้ว

ต่อมาประมาณปี 2540 รัฐบาลทหารพม่าจึงได้สร้างโรงแรมนิวเชียงตุง (Kyainge Tong New Hotel) ขึ้นบนตำแหน่งเดิมของหอหลวงเชียงตุง

เมืองเชียงตุง เคยเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย

ประวัติศาสตร์ในช่วงแรกของเชียงตุงไม่ชัดเจน แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า … เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมืองมีฤๅษีนามว่า ตุงคฤๅษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้นำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็นแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และมีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี

หลักฐานที่เป็นพงศาวดารของเมืองได้กล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมากจึงยกกองทัพมารบ ยึดเมืองเชียงตุงไว้ในอาณาเขต และส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง “ลูกช้างหางเมือง” หรือ “เมืองลูกหลวง” ขึ้นกับอาณาจักรล้านนาและได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากล้านนา ก่อนจะกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และเป็นอาณานิคมของอังกฤษไปพร้อมกับพม่า

ในสมัยการล่าอาณานิคมนี้ ทำให้เกิดเจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเชียงตุง พระนามว่า เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุง ไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ

จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น มีข้ออ้างว่ามีประวัติและเชื้อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้นกองทัพไทยยังเข้าไปโจมตี เมืองตองยี และสิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้เมืองเชียงตุงและเมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็นสหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ปัจจุบันเชียงตุงจึงเป็นส่วนหนึ่งพม่า

นับว่าไทยเราได้ปกครองเมืองเชียงตุงนานเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น ก็ต้องสูญเสียเมืองเชียงตุงไปอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

ภาพเก่าเมืองเชียงตุง

การข้ามแดนไทย – พม่า

จากปัญหาการเมืองการปกครองของประเทศพม่า ทำให้การไปมาหาสู่ และค้าขายระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศไม่สะดวก แต่ในความเป็นจริงประชาชนทั้งสองประเทศก็ยังไปมาหาสู่กันเป็นประจำในลักษณะของการลักลอบ ซึ่งผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 รัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่าได้ร่วมกันทำข้อตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง โดยตั้งด่านทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราวเรียกว่า บอร์ดอร์พาส ( Temporary Border Pass ) ให้แก่ผู้ประสงค์จะเดินทางไปสู่เมืองเชียงตุง เมืองลา และเมืองที่อยู่ในกลุ่ม รัฐฉาน มีกำหนดการเดินทางไปได้ไม่เกิน 7 วัน ไม่ต้องทำวีซ่า หรือ พาสปอร์ต หากเกินกว่านั้น จะต้องแจ้งเป็นกรณีพิเศษ ปัจจุบันผ่อนผันมีกำหนด 15 วัน

ภาพจาก picpost.mthai.com/view/72848

แผนที่เชียงตุง ที่ใกล้ชายแดนไทย

รัฐฉาน

เกี่ยวกับ รัฐฉาน

รัฐฉานนี้บ้างเรียก รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในประเทศพม่า ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ประเทศไทย) รัฐกะยา และรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) ส่วนทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตมัณฑะเลย์และเขตสะกาย (ประเทศพม่า)

ขอบคุณที่มา www.lanna.mbu.ac.th และ talk.mthai.com และวิกิพีเดีย เชียงตุง เรียบเรียงโดย Campus-Star.com ภาพประกอบจาก โรงแรม Amazing Kengtong Resort Booking.com และ Picpost.MThai.com , เชียงตุงน่าอยู่

น่าอ่าน > วังเชียงตุงกับเจ้าผู้ครองรัฐฉานองค์สุดท้าย , คำให้สัมภาษณ์เจ้านางองค์สุดท้ายของเชียงตุง , “หอหลวงเชียงตุง” จากมรดกวัฒนธรรมสู่โรงแรมไร้รากเหง้า , เรื่องเล่าจากรัฐฉาน ‘หอเจ้าฟ้า’ ในความทรงจำ

บทความแนะนำ