พิธีพราหมณ์ พุทธศาสนา วันพืชมงคล วันสำคัญ วันแรกนาขวัญ โหรหลวง

ประวัติความเป็นมา วันพืชมงคล (วันแรกนาขวัญ) ความสำคัญพิธีทางพุทธศาสนา

Home / สาระความรู้ / ประวัติความเป็นมา วันพืชมงคล (วันแรกนาขวัญ) ความสำคัญพิธีทางพุทธศาสนา

พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี โดยแต่ละปีจะจัดไม่ตรงกัน

ประวัติความเป็นมา วันพืชมงคล – วันแรกนาขวัญ

วันพืชมงคล เป็นวันที่ ประกอบพระราชพิธี 2 พระราชพิธีเข้าด้วยกัน คือ

  • พระราชพิธีพืชมงคล : เป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่งซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันแรก
  • พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ: เป็นพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่งซึ่งจะประกอบพิธีในวันถัดไป

พระราชพิธีพืชมงคล

เป็นพิธีพุทธที่ตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ยังไม่มีพระราชพิธีพืชมงคลเกิดขึ้น มีแต่พระราชพิธีจรดนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆว่า พิธีแรกนา ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถเอง เพียงแต่เสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนครั้งสมัยกรุงสุโขทัยแต่จะทรงจำศีลเป็นเวลา 3 วัน และได้มอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ และเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในการปกครองของรัชกาลที่ 1 ผู้ที่ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 2 แต่พอมาถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ดังนั้นพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีของสงฆ์ จึงได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจัดรวมกันกับพระราชพิธีจรดนังคัลแรกนาขวัญ และตั้งชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ปัจจุบันเรียก วันแรกนาขวัญ ว่า วันพืชมงคล

กำหนดการจัดวันพืชมงวลในแต่ละปีนั้น จัดไม่ตรงกันทุกปี สุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด

ส่วนวันประกอบพระราชพิธีนั้น จะต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเป็นฤดูฝน ซึ่งเหมาะสมแก่การทำเกษตรกร ทำไร่ ทำนา และต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม และเมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลฤกษ์ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะทำการบันทึกไว้ในปฏิทินหลวง พร้อมกับกำหนดการว่าวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล และวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทยด้วย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร

ประวัติความเป็นมา วันพืชมงคล

ภาพวาดในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงพิธีแรกนาขวัญในพม่า

กำหนดวันพืชมงคล

พ.ศ. 2559 ตรงกับ จันทร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2560 ตรงกับ ศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม (แรม 2 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2561 ตรงกับ จันทร์ที่ 14 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2562 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 10 ค่ำเดือน 6)

บทความแนะนำ