ประวัติความเป็นมาวันสำคัญของไทย 1 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติ หรือ วันกรรมกรสากล ไปอ่านประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันแรงงานกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง
ประวัติ วันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรสากล
วันแรงงาน ( Labour Day) เป็นวันหยุดประจำปีให้ผู้ใช้แรงงาน ได้หยุดไปทำการเฉลิมฉลอง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะฉลองผลงานทางการเศรษฐกิจ และสังคมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็มีหลายประเทศทั่วโลกที่หยุด และฉลองกันในวันที่ มีรายชื่อดังต่อนี้คือ
ประเทศที่ฉลองในวันที่ 1 พฤษภาคม
- ประเทศอินเดีย
- ประเทศโปแลนด์
- ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ และ ประเทศนอร์เวย์
- ประเทศอิตาลี
- ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ประเทศไอร์แลนด์
- ประเทศไทย
- ประเทศเวียดนาม
- ประเทศลาว
- ประเทศอียิปต์
- ประเทศกรีซ
- ประเทศบัลแกเรีย
- ประเทศเดนมาร์ก
- ประเทศเยอรมนี
- ประเทศศรีลังกา
- ประเทศจีน
- ไต้หวัน
- ฮ่องกง
- ประเทศเลบานอน
- ประเทศสิงคโปร์
- ประเทศไอซ์แลนด์
- สหรัฐอเมริกา
- อิหร่าน
ประวัติ ความเป็นมา วันแรงงานแห่งชาติ
แต่เดิมวันแรงงาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ที่เกษตรกรในประเทศแถบยุโรปจะหยุดงาน เพื่อจัดพิธีเฉลิมฉลองและบวงสรวงเทพเจ้าแห่งการเกษตร ต่อมาไม่นานเมื่อเศรษฐกิจหลักของประเทศพัฒนา เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ประเพณีวันหยุดประจำปีจึงถูกยกเลิก ขณะที่แรงงานมนุษย์ถูกมองเสมือนเครื่องจักรประเภทหนึ่ง ที่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 10-16 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนในสหราชอาณาจักรจึงเริ่มเรียกร้องการปรับปรุงเวลา และเงื่อนไขการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วันแปดชั่วโมง” หรือ “Eight-hour day” ในปี พ.ศ. 2360
พาเหรดวันแรงงานในโทรอนโตในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1900 : ภาพ วิกิพีเดีย
ในปี 2399 หรืออีก 39 ปีต่อมา แรงงานชาวออสเตรเลียก็พร้อมใจกันประกาศให้วันที่ 21 เมษายน เป็นวันหยุดประจำปีของแรงงานทุกคน เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ต่อสู้ในวันแปดชั่วโมง และต่อมาสหพันธ์สหภาพแรงงานจึงประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2429 เป็นวันระลึกวันแปดชั่วโมงทั่วโลก
เมื่อได้ยินเช่นนั้น แรงงานในสหรัฐฯ ทั่วประเทศจึงนัดหยุดงานและออกประท้วงเพื่อสนับสนุนวันดังกล่าว แต่เหตุการณ์บานปลายจนเกิดการปะทะระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมในเมืองชิคาโก้ จนเป็นเหตุให้ตำรวจและผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก
จนถึงปี 2447 ระหว่างการประชุมสังคมนิยมระหว่างประเทศที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ก็เกิดกรณีเรียกร้อง ให้องค์กรพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและสหภาพแรงงานทั่วโลก ประท้วงเรียกร้องสิทธิแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และกำหนดให้องค์กรกรรมการทั่วโลกหยุดทำงานในวันเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ มีการขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมีงานสำคัญเกี่ยวข้องกับแรงงานดังนี้
ความเกี่ยวข้องของ กระทรวงแรงงาน
1. การจัดหางาน
ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ
ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน
ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงาน และเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน
วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์
ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ
อ้างอิงจาก: คลังปัญญาไทย,วิกิพีเดีย,news.voicetv
ภาพจาก: youinc.com