การออมเงิน วิธีเก็บเงิน แรงบันดาลใจ

วิธีออมเงินแสน สำหรับวัยรุ่น – เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

Home / สาระความรู้ / วิธีออมเงินแสน สำหรับวัยรุ่น – เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ถ้าเรารู้จักเก็บออม ถึงแม้จะยังเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็มีสิทธิ์มีเงินหมื่น เงินแสนได้นะ สำหรับใครที่ไม่รู้จะเริ่มยังไง หรือคิดว่าจะเก็บให้ได้ ก็ทำไม่ได้สักที!!! ลองมาอ่่านทริค วิธีออมเงินอย่างไรให้ได้แสน ในแบบฉบับของนักเรียน นักศึกษา ต่อไปนี้ด่วนเลยค่ะ  ^^

วิธีออมเงินแสน สำหรับวัยรุ่น

ต้องตั้งเป้าหมาย

ควรจะมีทั้งเป้าหมายในการเก็บเงินทั้งแบบระยะสั้น  (ภายใน 3 เดือน ) และแบบระยะยาว (อาจจะภายในสิ้นปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี) สัก อย่างละ 5 ข้อก็ได้ค่ะ โดยก็ลิสต์ไว้เลยว่าจะเก็บให้ได้เท่าไร ในช่วงไหน หรือจะเก็บเงินเพื่อไปทำอะไร ยกตัวอย่างนะคะ

  • ต้องมีเงินเก็บ 1 แสนก่อนจบปี 4  (ระหว่างนั้นก็หาหนทางที่จะเก็บเงิน รับจ็อบทำงานพาร์ทไทม์ อะไรก็ว่าไป)
  • พาพ่อกับแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือเที่ยวในไทยก็ได้ แต่ขอให้ทำให้ได้แล้วกัน
  • ตอนรับปริญญาจะออกเงินเองทั้งหมด ไม่ต้องให้พ่อแม่จ่ายให้ ไม่ว่าจะค่าชุด ค่าแต่งหน้า ค่าจ้างช่างภาพ และเลี้ยงปาร์ตี้ญาติๆ ครอบครัวด้วย

และพี่มีอีก 1 ตัวอย่างที่จะมาแนะนำ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ให้น้องๆ นักเรียนนักศึกษาทุกคน ได้เห็นหนทางในการอดออมเงินแสนอีกหนึ่งตัวอย่างค่ะ เป็นของน้องนักศึกษาที่เขาเอามาแชร์ไว้ในพันทิพ ลองอ่านแล้วนำไปปรับใช้ดูนะคะ

ซึ่งวิธีการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ค่ะ

อยากรู้มั้ย วัยรุ่นมหา’ลัยใช้เงินวันละกี่บาท?

คิดออมเงิน จัดสรรบริหารเงินจริงจัง

“เริ่มคิดออมเงินตอนม.6 โดยได้เงินใช้จากครอบครัว เดือนละ 10,000 บาท

เราเริ่มจากออมเงิน แบบฝากประจำ 2 ปี เดือนละ 2,000 บาท เริ่มตอนเดือน ตุลาคม 2556

จนตอนนี้ 1 ปี 5 เดือน เรามีเงินเก็บจากบัญชีนี้ 32,000 บาท

ฝากประจำ เราจะฝากภายในวันที่ 1-3 ของเดือน เพราะแม่โอนเงินต้นๆเดือน แล้วเราจะรีบกดมาฝากเลย เหลือเท่าไหร่ อยู่ที่เราบริหาร

หารายได้เสริมจากความสามารถที่มีอยู่

ช่วงปิดเทอม ม.6 รอผลแอดมิชชั่น เราก็ว่างประมาณ 4-5 เดือน ก็หาอะไรทำ เราอยู่บ้านในหมู่บ้าน ซึ่งมีเด็กเยอะพอสมควร เลยเป็นติวเตอร์สอนพิเศษที่บ้าน แต่ไม่ได้ทำจริงจังมากขนาดนั้น สอนเด็กเล็กๆ จนทำให้เรามีเงินเก็บตรงนี้ประมาน 30,000 บาท ^^

ทำบัญชีรายรับรายจ่าย กำหนดการใช้เงิน

พอขึ้น ปี 1 เราก็แบ่งการเก็บเงิน

โดย 10,000 บาทที่แม่ให้เราใช้จ่าย 1 เดือน เรากดออก 2,000 บาทฝากประจำ เหลือ 8,000 บาท

และในแต่ละวันที่มีการใช้จ่าย เราก็จดผ่านแอพ WepleMoney หรืออาจจะจดเอาก็ได้นะ

การใช้เงิน เราจะกดจากตู้ครั้งละ 500 และเก็บสลิปทุกครั้ง

เราจะจดแบ่งเป็น วันที่ 1-7 , 8-14 ,15-21 ,22-31 ว่าเรากดเงินช่วงละกี่บาท

ตัวอย่างการจดเดือนที่แล้ว (ธค. 57)

วันที่ 1-7 กด 1,500 เหลือในบัญชี 6,500 บาท
วันที่ 8-14 กด 1,000 เหลือในบัญชี 5,500 บาท
วันที่ 15-21 กด 1,000 เหลือในบัญชี 4,500 บาท
วันที่ 22-31 กด 1,000 เหลือในบัญชี 3,500 บาท
Total กด 4,500 เงินเก็บ 2,000+3,500 = 5,500 บาท

ค่าใช้จ่ายประจำวันทั้งหมดเป็นคนจ่ายเอง

(ค่าอาหารทุกมื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟ ค่าทำกิจกรรม ค่าค่าย ค่าสบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก หรือของอื่นๆในชีวิตประจำวัน )

สรุปแล้วแต่ละเดือน กดเงินใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท ทำให้เรามีเงินเหลือเก็บ เดือนละ 3,000 บาท

เงินที่ครอบครัวให้ใช้จ่ายรายเดือน 10,000 บาท เราก็สามารถเก็บ 2,000+3,000 = 5,000 บาท

*1 ปี เราก็จะมีเงินเก็บ 12 x 5,000 = 60,000 บาท*

มีทริคอีกนิด การเก็บเหรียญ !! เราจะไม่ใช้เหรียญ 5 และเหรียญ 10 เลย

สมมติเวลาที่จะต้องใช้จ่ายอะไร 5 บาท 10 บาท ถึงเราจะมีเหรียญบาทพอที่จะจ่าย แต่เราเลือกใช้แบงค์ 20 จ่ายแทน เพราะจะมีเงินเก็บ 15 บาท ^^ อาจจะดูเล็กๆ น้อยๆ แต่วิธีนี้เดือนๆนึง เรามีเงินเก็บจากเหรียญ 5 เหรียญ 10 ประมาณ 500 บาทเลยละและทั้งหมดที่ทำมาประมาณ 1 ปี ในตอนนี้ เรามี ‘เงินแสน’ ครั้งแรกเป็นของตัวเองแล้ว ในอายุตอน19 ปี ค่ะ ”

วิธีการของน้องเขาไม่ยากเลยค่ะ ตั้งเป้าหมายแล้วทำอย่างเคร่งครัด อาจจะไม่ต้องมีเงินถึงแสนแต่ก็ทำให้น้องๆ มีเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้นะคะ ที่สำคัญสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของคุณพ่อคุณแม่ได้ด้วยนะ ^^

ข้อมูลจาก: pantip

บทความแนะนำ