การแต่งกาย ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

การนุ่งห่มสีตามวัน หรือ สวัสดิรักษา – เกร็ดความรู้จากละคร ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

Home / สาระความรู้ / การนุ่งห่มสีตามวัน หรือ สวัสดิรักษา – เกร็ดความรู้จากละคร ทองเอกหมอยาท่าโฉลง

ละครพีเรียดเฮฮาแฝงสาระอย่าง “ทองเอกหมอยาท่าโฉลง” นำแสดงโดย มาริโอ้ เมาเร่อ, คิมเบอร์ลี่ แอน โวลเทมัส, ปรมะ อิ่มอโนทัย, สาริน รณเกียรติ ฯลฯ ละครย้อนไปในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่มีการแต่งกายแบบนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ สังเกตได้จากสาวๆ ในเรื่องที่แต่งกายกันอย่างสวยงามหลากสีสัน โดยเฉพาะแม่ชงโค (แสดงโดย แพท-ณปภา ตันตระกูล) ที่เลือกนุ่งโจงกระเบนและห่มสไบได้สีตัดกันมากๆ

การนุ่งห่มสีตามวัน หรือ สวัสดิรักษา

โดยการนุ่งโจงกระเบนและห่มสไบคนละสี เป็นเรื่องจริงของสตรีชาววังในสมัยนั้น ดังที่ปรากฏในนิยายเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ที่แม่ของพลอยได้สอนเรื่องการจัดผ้านุ่ง ผ้าห่ม ตามสีประจำวันของสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า ‘การนุ่งห่มสีตามวัน หรือ สวัสดิรักษา’ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นความเชื่อและธรรมเนียมของชาววังที่ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6

โดยสีตามวันนั้นถูกกำหนดขึ้นมาจากสีประจำตัวเทพยดาพระเคราะห์ประจำวัน เช่น วันอาทิตย์-สีแดง มาจากพระอาทิตย์ที่มีกายสีแดง วันจันทร์-สีเหลือง มาจากพระจันทร์มีกายสีขาวนวล/เหลือง เป็นต้น จึงเรียกการนุ่งห่มสีตามวันว่า ‘สวัสดิรักษา’ นั่นเอง วันนี้แคมปัส-สตาร์มีตัวอย่างภาพการนุ่งห่มสีตามวัน หรือ สวัสดิรักษา มาให้ชมทั้ง 7 วันกันค่ะ

วันอาทิตย์

นุ่งเขียวก้ามปู ห่มดินหลงเทศ หรือ นุ่งเขียว ห่มแดง หรือ นุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่ ห่มโศก

วันจันทร์

นุ่งนวล ห่มมอคราม หรือ นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน

วันอังคาร

นุ่งน้ำหมาก ห่มโศก หรือ นุ่งสีปูน ห่มโศก

วันพุธ

นุ่งเขียวดิน ห่มจำปา หรือ นุ่งสีถั่ว ห่มจำปา

วันพฤหัสบดี

นุ่งเสน ห่มตองอ่อน หรือ นุ่งเขียวใบไม้ ห่มแดงเลือดนก หรือ นุ่งแสดห่มเขียวอ่อน

วันศุกร์

นุ่งเมฆคราม ห่มจันทร์ หรือ นุ่งน้ำเงินแก่ ห่มเหลือง

วันเสาร์

นุ่งเม็ดมะปราง ห่มโศก หรือ นุ่งผ้าลายพื้นม่วง ห่มโศก


ภาพจาก: เพจ Thaitone

สวัสดิรักษายังปรากฏเป็นกลอนสุภาษิตของ ‘สุนทรภู่’ กวีดังแห่งยุค โดยแต่งถวายสมเด็จเจ้าฟ้าอาภรณ์ในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งรายละเอียดเนื้อหาสุนทรภู่ไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่นำมาจากสวัสดิรักษาของเก่าซึ่งเรียกกันว่า ‘สวัสดิรักษาคำฉันท์’ ซึ่งสวัสดิรักษาคำฉันท์นั้นอ่านยาก คนอ่านส่วนมากไม่เข้าใจเนื้อหา สุนทรภู่จึงนำมาแต่งใหม่เป็นกลอนสุภาพ เป็นกลอนสุภาษิตที่ให้คำแนะนำข้อและควรปฏิบัติเพื่อสร้างศิริมงคลให้กับตนเอง โดยขอยกเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนุ่งห่มสีตามวันมาให้ชม ดังนี้

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก FB: Thaitone, Twitter:@Ubonwan_nu, youtube.comblog.cheekkachic.com,

บทความแนะนำ