การแต่งกาย ราชวงศ์จักรี สายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ความรู้เกี่ยวกับ การแต่งกาย ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ | แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ ปกติขาว

Home / สาระความรู้ / ความรู้เกี่ยวกับ การแต่งกาย ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ | แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ ปกติขาว

ในหมายกำหนดการ หรือกำหนดนัดหมายของทางราชการในพระราชพิธี หรือรัฐพิธีต่างๆ จะมีข้อความระบุการแต่งกายในแต่ละโอกาส เช่น ให้แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ หรือปกติขาว แล้วแต่กรณี ผู้แต่งกายต้องตรวจสอบหมายกำหนดการ หรือข้อความที่ระบุการแต่งกาย ในกำหนดนัดหมายของทางราชการ ให้ชัดเจน แล้ว แต่งกายและประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ การที่จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ ์ ร่วมกับการแต่งกายดังกล่าวตามที่ระบุไว้ได้อย่างถูกต้องนั้น มีหลักการสำคัญที่ควรทราบ ดังนี้

การแต่งกาย ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ตามหมายกำหนดการ หรือกำหนดนัดหมายของทางราชการ

1. กรณีให้แต่งกายเต็มยศ

(เสื้อขาว กางเกงหรือกระโปรงดำ)

1.1 ไม่ระบุชื่อสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้สวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ที่ได้รับพระราชทานเพียงสายเดียว โดยให้ประดับดารา ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ที่ได้รับพระราชทานแต่ละตระกูล ตามลำดับเกียรติ

1.2 ระบุชื่อสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้สวมสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ระบุ ซึ่งแม้ว่าจะได้รับพระราชทานสายสะพาย ที่มีลำดับเกียรติสูงกว่าก็ตาม เช่น ระบุให้สวมสายสะพายมงกุฎไทย หากได้รับพระราชทานประถมาภรณ์มงกุฎไทย และประถมาภรณ์ช้างเผือกแล้ว ก็ให้สวมสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย แต่ให้ประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ของแต่ละตระกูลที่ได้รับพระราชทาน ตามลำดับเกียรติ

แต่หากมิได้รับพระราชทานสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ระบุชื่อให้สวมสายสะพาย หรือประดับ เครื่องราช อิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน โดยประดับดาราตามลำดับเกียรติ

อาทิ หากหมายกำหนดการให้แต่งกายเต็มยศ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า หรือ ให้แต่งกายเต็มยศสวมสายสะพายช้างเผือก ผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้นสูงสุด ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย โดยยังไม่ได้รับ พระราชทาน ประถมาภรณ์ช้างเผือก หรือ ผู้ได้รับพระราชทานปฐมดิเรกคุณาภรณ์เป็นชั้นสูงสุด ให้สวมสายสะพาย ประถมาภรณ์ มงกุฎไทย หรือ สายสะพายปฐมดิเรกคุณาภรณ์แล้วแต่กรณี

การแต่งกาย ในวันที่ 27 ตุลาคม 2560 หมายกำหนดให้ แต่งกายเต็มยศ ไว้ทุกข์ สายสะพายจุลจอมเกล้า

2. กรณีให้แต่งกายครึ่งยศ

(เสื้อขาว กางเกงหรือกระโปรงดำ) แต่งกายเช่นเดียวกับเต็มยศ โดยประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน เว้นแต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เมื่อประดับดาราชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน แต่ละตระกูลแล้ว ไม่ต้องสวมสายสะพาย เฉพาะผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์(ฝ่ายใน) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (ฝ่าย ใน) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน) ให้นำดวงตรา ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้าย โดยไม่ต้องประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว

3. กรณีให้แต่งกายปกติขาว

(เสื้อขาว กางเกงหรือกระโปรงขาว) ให้ประดับแพรแถบย่อของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามชั้นยศที่ได้ พระราชทาน

แต่หากระบุให้แต่งกายปกติขาวประดับเหรียญ ให้ประดับเฉพาะเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย โดยไม่ประดับดารา หรือสายสะพาย

อนึ่ง ในกรณีเป็นงานศพ ซึ่งมีกำหนดการระบุให้แต่งกายเต็มยศ ครึ่งยศ หรือปกติขาวไว้ทุกข์ ให้สวมปลอกแขนสีดำที่แขนเสื้อข้างซ้าย

4. ในโอกาสพิเศษ (บางพิธี)

อาจมีหมายกำหนดการระบุ ให้แต่งกายปกติขาวประดับเหรียญ เช่น งานเลี้ยงพระและสมโภชราชกกุธภัณฑ์ ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ก็ให้แต่งกายปกติขาว แต่ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์และเหรียญที่ระลึก โดยไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และไม่ต้องสวมสายสะพายหรือสวมแพรแถบสวมคอแต่อย่างใด

อนึ่ง เมื่อแต่งกายชุดสากลจะไม่มีการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือแพรแถบย่อของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นอันขาด เว้นแต่จะประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

สถาปนาขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ร.5 เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง

ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทาน สามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ “จุลจอมเกล้า” เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า “เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ”

โดยการสถาปนาในคราวแรกนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ปฐมจุลจอมเกล้า) ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ, ทุติยจุลจอมเกล้า) และชั้นที่ 3 ตติยาจุลจอมเกล้า (ตติยจุลจอมเกล้า , ตติยานุจุลจอมเกล้า) หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2443 พระองค์มีพระราชดำริเห็นสมควรเพิ่มชั้นพิเศษสำหรับชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า อีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเกียรติยศ และประโยชน์แก่ผู้รับราชการยิ่งขึ้น เรียกว่า “ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ” โดยทรงเพิ่มดวงตราตติยานุจุลจอมเกล้า เป็นเครื่องหมายเพิ่มเติมสำหรับชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษนี้ // ที่มา 312554.blogspot.com

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัชกาลที่ 10

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ร.10) พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้

เครื่องหมายแพร แถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องหมายแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เรียบเรียงโดย www.Campus-Star.com

ที่มา ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ , ข่าวสารเครื่องราชอิสริยาภรณ์ , สีของสายสะพาย , เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า , เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย อ่านเพิ่มเติม : ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย personnel.police7.go.th ,  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช , เรารัก สมเด็จพระเทพ ฯ : Our Beloved Princess Maha Chakri Sirindhorn

บทความแนะนำ