นางสาวสยาม นางสาวไทย ประวัติศาสตร์

นางสาวสยาม คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ กันยา เทียนสว่าง

Home / บันเทิง / นางสาวสยาม คนแรกในประวัติศาสตร์ คือ กันยา เทียนสว่าง

ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประกวด “นางสาวสยาม“ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ บริเวณ อุทยานสราญรมย์ เพื่อเฟ้นหาหญิงสาวที่สวยที่สุดในประเทศนี้ และเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองรัฐธรรมนูญ (ฉบับ พ.ศ. 2475 ) เกือบทุกจังหวัดส่งสาวงามเข้ามาประชันโฉมในพระนคร

นางสาวสยาม คนแรกในประวัติศาสตร์

โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา

ครั้งนั้นสุภาพสตรีทั้ง 50 คน เริ่มเดินอวดความงามตั้งแต่คืนวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 และในคืนวันที่ 12 ธันวาคม นางสาวกันยา เทียนสว่าง วัย 21 ปี ครูโรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ เป็นสาวงามที่ชนะใจกรรมการ ได้ครองตำแหน่ง นางสาวสยาม เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ ( ในขณะนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนเป็น ประเทศไทย )

ชื่อสกุลเดิมของเธอ “นางสาวกันยา เทียนสว่าง” คือ เจียเป็งเซ็ง มีชื่อเล่นว่า ลูซิล

เธอเข้าประกวดในนามของจังหวัดพระนคร ของรางวัลที่ได้รับ คือ มงกุฎโครงทำด้วยเงินประดับเพชร หุ้มกำมะหยี่ปักด้วยดิ้นเงิน ล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ ขันเงินสลักชื่อ นางสาวสยาม 77 และเงินสด 1 พันบาท

เธอเป็นสาวที่มีใบหน้าคมค่อนไปทางฝรั่ง จมูกโด่ง ผิวสองสีค่อนไปทางขาว สูงสมส่วน หลังจากพ้นตำแหน่งเธอเข้าทำงานที่หอสมุดแห่งชาติ และต่อมาได้สมรสกับ ดร. สุจิต หิรัญพฤกษ์ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ มีบุตรธิดารวม 5 คน

เธอเสียชีวิตเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 จากมะเร็งปากมดลูก ด้วยวัยเพียง 46 ปี

รวบรวมโดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่มา www.silpa-mag.com

ถึงปี 2559 ประกวดมาแล้ว 50 ครั้ง

นับจนถึงปี พ.ศ. 2559 มีการจัดประกวดนางสาวไทยมาแล้ว 50 ครั้ง โดยมีผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม 5 คน, รองนางสาวสยาม 4 คน, นางสาวไทย 45 คน และรองนางสาวไทย 144 คน

ทั้งนี้ มีนางสาวไทยสองคน ที่เคยรับตำแหน่งนางงามจักรวาล ได้แก่ อาภัสรา หงสกุล และ ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก และมีนางสาวไทยหนึ่งคนเคยรับตำแหน่งรองนางงามจักรวาล คือ จีรนันทน์ เศวตนันท์

ภาพนางงามในอดีต

Miss-Thailand-1937

Miss-Thailand-1937

Miss-Thailand-1939

Miss-Thailand-1939

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกวด

การประกวดนางสาวไทย จัดครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า “นางสาวสยาม” รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ณ บริเวณ อุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 – 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม เกือบทุกจังหวัดส่งสาวงามเข้ามาประชันโฉมในพระนคร

ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “นางสาวสยาม” จำนวน 5 คน และ “นางสาวไทย” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน ดังนั้น การประกวด “นางสาวสยาม” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “นางสาวไทย” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482

ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ

ที่มา วิกิพีเดีย “นางสาวไทย” ภาพจาก Forum.thailandtip.info

อย่าลืมให้กำลังใจ มารีญา พูลเลิศลาภ Miss Universe Thailand 2017

เปิดตัว ชุดประจำชาติ และ ชุดราตรี มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2017 ที่ มรีญา พูลเลิศลาภ ใส่เวที มิสยูนิเวิร์ส ภาพจาก https://women.mthai.com/scoop/323901.html

บทความแนะนำ