การจัดบ้าน ความเครียด จิตวิทยา ฮวงจุ้ย

แนะ 3 ทริคจิตวิทยา ช่วยบรรเทาภาวะเครียด ในยุคที่ต้อง Work from Home

Home / เรื่องทั่วไป / แนะ 3 ทริคจิตวิทยา ช่วยบรรเทาภาวะเครียด ในยุคที่ต้อง Work from Home

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กิจกรรมในชีวิตประจำวันถูกจำกัดให้แคบลงอยู่แค่ภายในบ้าน ทำให้หลายๆ คนต่างรู้สึกอุดอู้ และเบื่อหน่ายกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่จำเป็นต้อง Work from Home หรือ ทำงานอยู่บ้าน

3 ทริคจิตวิทยา ช่วยบรรเทาภาวะเครียด

ที่ไม่เพียงแต่จะต้องรับมือกับความเครียดจากงานเท่านั้น แต่สภาพแวดล้อมของบ้านที่ข้าวของวางกระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ ส่งผลให้สมาธิในการทำงานของเราลดลง และยิ่งทวีคูณความเครียดให้เราโดยไม่จำเป็นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 และฝุ่น PM2.5 ที่อาจส่งผลให้ผู้คนสามารถมีความเครียดเพิ่มขึ้น ในระดับปานกลางถึงสูงได้

ทีฟาล์ว (Tefal) ผู้นำนวัตกรรมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จึงได้รวบรวม 4 ทริคทางจิตวิทยาในการจัดและดูแลบ้านให้รู้สึกน่าอยู่และผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดระดับความเครียดให้แก่คนไทย ในช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านมากยิ่งขึ้น

1. เพิ่มโฟกัส ด้วยการจัดระเบียบสิ่งของภายในบ้าน

เพราะสภาพแวดล้อมส่งผลต่อระดับจิตใจและความเครียดของมนุษย์มากกว่าที่คิด อ้างอิงผลงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Personality and Social Psychology Bulletin[1] ที่ระบุว่า การที่ลุกขึ้นมาเก็บกวาดสภาพแวดล้อมรอบตัวให้เป็นระเบียบนั้น ช่วยลดความเครียดสะสมได้ดีเป็นอย่างมาก ทั้งช่วยในการสงบจิตใจที่ว้าวุ่นและช่วยทำให้มีความสุขขึ้น ดังนั้นในช่วงที่หลายๆ คนยังใช้เวลาอยู่กับบ้านเพื่อ Work from Home หรือ Learn from Home เช่นนี้ คงจะเป็นการดี ที่เราจะเริ่มจัดสรรเวลามาดูแลสภาพความเป็นอยู่รอบตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเยียวยาจิตใจไปในตัว

ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะทำงานใหม่ให้ไฉไลและฟังก์ชั่นกว่าเดิม ดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้าน เสริมด้วยเครื่องฟอกอากาศเพื่อเติมอากาศที่บริสุทธิ์ภายในที่อยู่อาศัย โล๊ะเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้ และจัดระเบียบกองเสื้อผ้าที่ซักแล้ว แต่ยังไม่ได้รีด ให้เข้าที่ เมื่อเราสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้สำเร็จ ก็จะช่วยให้เรารู้สึกถึง Sense of Control ในการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้มากขึ้น เท่านี้ปัญหาความเครียดภายในบ้านที่เกิดขึ้นก็จะดีขึ้นอย่างทันตาเห็น

2. จัดมุมผ่อนคลายให้ร่างกายได้พัก

อย่าลืมว่าจุดประสงค์หลักของบ้านคือการมีพื้นที่ปลอดภัย ไว้ให้เราพักและผ่อนคลายจากความกังวลต่างๆ ที่เราได้เจอมาตลอดทั้งวัน ดังนั้น เมื่อเราต้องใช้เวลาส่วนมากในแต่ละวันอยู่บ้านยิ่งขึ้นแล้ว โอกาสที่ความเครียดจะเกิดจากการที่เราใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการคงเสถียรภาพให้บ้าน ยังคงเป็นพื้นที่แห่งความสงบและสบายใจ เราจึงควรหันมาให้ความสำคัญ กับการจัดสรรพื้นที่เอาไว้สำหรับการผ่อนคลายในระหว่างวันด้วย

อาจจะเริ่มจากการมองหาพื้นที่ภายในบ้านที่อากาศโปร่งสบายและมีแสงแดดอ่อนๆ ส่อง อย่างเช่นบริเวณริมหน้าต่าง เพื่อสร้างเป็นมุมคาเฟ่ส่วนตัวเอาไว้จิบยามเช้าก่อนเริ่มงาน หรือในระหว่างวัน ซึ่งกลิ่นหอมๆ ของกาแฟ จะสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้ผ่อนคลายปลอดโปร่ง ในขณะที่ห้องครัว ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้ในทุกๆ วันเพื่อบรรเทาความหิวแล้ว เรายังสามารถประยุกต์ให้เป็นพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ และนันทนาการ ผ่านการครีเอทเมนูต่างๆ ที่ทำได้ง่าย อร่อย ดีต่อสุขภาพ แถมยังช่วยให้เราสนุก และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย

3. สร้างที่พึ่งทางใจ ด้วยการจัดเรียงเฟอร์นิเจอร์ตามหลักฮวงจุ้ย

และแน่นอนที่สุดว่า สำหรับคนไทยอย่างเรานั้น สิ่งที่เรามักจะหันมาพึ่งพาในช่วงที่รู้สึกไม่ดี ก็คงจะไม่พ้นเรื่องของการมูเตลู หรือ เรื่องของฮวงจุ้ยภายในบ้าน เพราะเชื่อหรือไม่ว่าเรื่องของฮวงจุ้ย ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของความเชื่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักทางจิตวิทยา ที่ช่วยทำให้คนรู้สึกมั่นใจในการดำเนินชีวิตของตนเองมากขึ้นอีกด้วย เพราะเป็นการช่วยเสริมให้เรารู้สึกว่าเราสามารถควบคุมชีวิตของเราให้ไปได้ดีตามที่เราต้องการได้

โดยสำหรับใครที่ต้องการให้บ้านอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ราบรื่น และไร้เรื่องปัญหาความวุ่นวายและละก็ ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยแนะนำว่า ส่วนสำคัญก็คือประตูหน้าบ้าน ที่เป็นจุดรับพลังที่ดี ควรมีการจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และไม่ใช้บานประตูในลักษณะผลักออกจากตัวบ้าน เพราะจะเป็นการผลักพลังที่ดีออกไป

ส่วนภายในตัวบ้านเอง ก็ควรที่จะมีติดตั้งประตูและหน้าต่างให้สมดุล เพื่อเปิดรับลม แสงแดง ให้พลังงานไหลเวียนในบ้านได้เป็นอย่างดี และห้องครัวเอง มันจะเป็นจุดที่พลังงานด้านสุขภาพและร่างกายไหลเวียนเป็นหลัก จึงแนะนำให้หาดอกไม้หรือกระถางสมุนไพรเล็กๆ เข้ามาประดับ ส่วนการจัดวางก็ควรวางตำแหน่งตู้เย็น อ่างล้างจาน และตู้อบให้เยื้องกันแบบมุมสามเหลี่ยม

บทความแนะนำ