กระท่อม ประโยชน์ สรรพคุณ

ใบกระท่อม ประโยชน์ทางยา ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง – Kratom

Home / เรื่องทั่วไป / ใบกระท่อม ประโยชน์ทางยา ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง – Kratom

กระท่อม เป็นพืชที่พบมากในป่าธรรมชาติทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี พืชกระท่อมได้รับการปลดออกจากสถานะยาเสพติด มาเป็นพืชที่ประชาชน ปลูกเพื่อการบริโภค และขายได้ทั่วไป ในวันที่ 24 ส.ค. 2564 : บทความ กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา การนำไปใช้ ข้อถึงระวังและหลีกเลี่ยง

กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา

ใบกระท่อมนิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา บ้างก็นำเอาใบมาย่างให้เกรียม และตำผสมกับน้ำพริก รับประทานเป็นอาหาร สรรพคุณเด่นๆ ทำให้มีเรี่ยวแรงทำงาน สามารถทนตากแดด อยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง บางพื้นที่กล่าวกันว่า สามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้

ใบสด กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา

การใช้ใบกระท่อมในรูปแบบต่างๆ

เคี้ยวใบสด : นำใบกระท่อมมา 1 ใบ รูดก้านออก แล้วเคี้ยวให้ละเอียด (ประมาณ 10 นาที) จากนั้นให้ดื่มน้ำตาม ส่วนกากให้คายทิ้ง

กระท่อมผง : กระท่อมผง 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อน แล้วเติมรสชาติด้วยน้ำผลไม้ เพื่อให้ดื่มได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากกระท่อมมีรสขมมาก

นำไปต้มเป็นชา : นำใบกระท่อมไปต้ม แล้วนำมาจิบดื่มเหมือนการดื่มชา

โปรดระมัดระวังการใช้ในปริมาณมาก

กระท่อมผง กระท่อมใบสด - กระท่อม สรรพคุณ

กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ต่อสุขภาพ

จากงานวิจัยพบว่า ในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกาย การใช้กระท่อมในปริมาณต่างๆ ส่งผล ช่วยในการรักษาอาการเหล่านี้

  • ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์ เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวด จะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • ช่วยรักษาอาการไอ
  • ช่วยลดการหลั่งกรด
  • ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  • ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
  • แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
  • แก้ปวดฟัน
  • ทำให้นอนหลับ
  • แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
  • ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
  • ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
  • เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
  • นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
  • ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด

กระท่อมแบบผง

กระท่อมแบบผง

ผลข้างเคียง จากการเสพกระท่อมมากเกินไป

  • ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปากแห้ง
  • วิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
  • เหงื่อออก และคัน
  • แพ้แดด หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
  • อาการคลื่นไส้ และอาเจียน
  • นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
  • เห็นภาพหลอน

กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา

ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง การใช้ใบกระท่อม

  • สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
  • ผู้มีความผิดปกติทางจิต
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

ข้อมูลอื่นๆ ของต้นกระท่อม

กระท่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa Korth. วงศ์ Rubiaceae มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียกท่อม หรือท่ม

ในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ 1. แตงกวา (ก้านเขียว) 2. ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) 3. ก้านแดง

ข้อมูลจาก

ใบกระท่อมที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคา 20-30 บาท

บทความอื่นๆ