พระจิตกาธาน พิธีถวายพระเพลิง ร.9 เชิงตะกอน โบราณราชประเพณี

ตำแหน่งเตาเผาไฟฟ้า เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ อยู่ภายในฐานเชิงตะกอน

Home / สาระความรู้ / ตำแหน่งเตาเผาไฟฟ้า เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ อยู่ภายในฐานเชิงตะกอน

พระจิตกาธาน คือ เชิงตะกอน หรือ ฐานที่ทำขึ้นสำหรับเผาศพ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบด้วย แท่นฐานสำหรับเผาทรงสี่เหลี่ยม ภายในใส่ดินเสมอปากฐานสำหรับวางฟืน ไม้จันทน์ พระจิตกาธาน มักประดับตกแต่งด้วยกระดาษสีและเครื่องสด เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ใบตอง หยวกกล้วยและผลไม้บางชนิดเป็นต้น สำหรับเป็นเครื่องกันไฟ ในปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เตาไฟฟ้าแทน

ตำแหน่งเตาเผาไฟฟ้า

ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระจิตกาธาน จะตั้งอยู่บนฐานชาลาชั้นบนสุดภายในบุษบกองค์ประธาน

ในการถวายพระเพลิงนั้น ทางสำนักพระราชวังทำการ อัญเชิญหีบทรงพระศพลงจากพระจิตกาธาน เข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้า ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ จากภาพ คือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่

ตำแหน่งเตาเผาไฟฟ้า ภายในฐานพระจิตกาธาน

พระจิตกาธานของในหลวงรัชกาลที่ 9

มีความสูง 10.825 เมตร กว้าง 4.02 เมตร ยาว 5.52 เมตร ตามขนาดของพระเมรุมาศของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ใหญ่กว่าที่ผ่านมา ดังนั้น พระจิตกาธานจึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โครงสร้างพระจิตกาธานทำด้วยไม้สักแกะลายปิดทองล้วงสี ซึ่งเป็นเทคนิคโบราณ ที่เรียกว่าการปิดทองหน้าลาย ข้างลายใช้สีครีมงาช้าง ให้กลมกลืนกับสีหีบพระบรมศพจันทน์และพระโกศจันทน์

ชั้นบนสุดประดับ “ยอดพรหมพักตร์” แกะจากไม้จันทน์ มีความหมายถึงพรหมวิหาร 4 , ลายฐานสิงห์ แสดงถึงฐานานุศักดิ์ ลายบัวเชิงบาตร แกะลายให้เป็นลักษณะกลีบดอกบัว , ส่วนฐานจะมีการย่อไม้ ย่อมุม มีความโค้งให้ความรู้สึกนิ่มนวล สะท้อนพระจริยวัตรอันงดงามของในหลวง ร.9 การประดับพระจิตกาธานจะประดับด้วยเครื่องสด จัดทำโดยกองศิลปกรรม สำนักพระราชวัง โดยมี “นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม” นักจัดการงานในพระองค์ชำนาญการ สำนักพระราชวัง เป็นผู้ดูแล

"รูปแบบและธรรมเนียม" ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง

รูปแบบและธรรมเนียม การถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง

เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันนั้น การถวายพระเพลิงพระบรมศพได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยในปัจจุบันนั้นในราชสำนักมีรูปแบบของการถวายพระเพลิงพระบรมศพอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังต่อไปนี้

การสุมเพลิง ในกรณีที่ศพอยู่ในโกศ

ภาพที่ 1. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีที่พระบรมศพอยู่ในพระบรมโกศ)

การสุมเพลิงรูปแบบนี้เป็นแบบโบราณราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ในปัจจุบันนี้ไม่พบว่ามีการถวายพระเพลิงพระศพบนพระจิตกาธานอีกแล้ว เนื่องจากควบคุมเพลิงได้ยาก เจ้าพนักงานจะต้องคอยฉีดน้ำและควบคุมทิศทางลมอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับปัจจุบันมีการนำเตาเผาสมัยใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ดังภาพจะเห็นว่ามีเปลวเพลิงลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา โดยเกิดจากการสุมเชื้อเพลิงด้านล่างของพระจิตกาธาน จากภาพคืองานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ในปีพ.ศ. 2528

กรณีสุมเพลิง ที่กรณีที่ศพอยู่ในโลง

ภาพที่ 2. การสุมเพลิงพระบรมศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระบรมศพอยู่ในหีบ)

ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า เนื่องจากพระบรมศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในหีบ ทางสำนักพระราชวังจึงทำการตั้งหีบพระบรมศพบนพระจิตกาธานแล้วนำพระบรมโกศ (โกศเปล่า) วางบนหีบพระบรมศพอีกชั้นหนึ่งดังภาพประกอบ ในคราวนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ฯ (ร.10) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ หลังจากที่ผู้มาร่วมงานกลับกันหมดแล้ว ทั้งสามพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังพระเมรุมาศ เพื่อควบคุมการถวายพระเพลิงด้วยพระองค์เอง

กรณีเผาศพในเตาไฟฟ้า ศพอยู่ในโลง

ภาพที่3. การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในหีบ)

ในรูปแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน จนถึงงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีกระบวนการต่างๆ คล้ายกับงานพระบรมศพของสมเด็จย่า แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ได้อัญเชิญหีบทรงพระศพลงจากพระจิตกาธาน เข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุแทน จากภาพ คือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่

การเผาในเตาไฟฟ้า ในกรณีศพอยู่ในโกศ

ภาพที่ 4. การสุมเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ)

ในรูปแบบนี้ก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่นกัน จนถึงปี พ.ศ.2555 ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดาฯ ลูกเธอในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่พระศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในพระโกศ ตามโบราณราชประเพณี แต่เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริงนั้น เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศลงจากพระจิตกาธาน เพื่อไปพระราชทานเพลิงยังเตาไฟฟ้าที่อยู่ทางทิศตะวันตกแทน ดังจะเห็นในภาพที่ขนาดของเตาไฟฟ้านั้นมีขนาดใหญ่ และสูงกว่าปกติ เพื่อที่สามารถอัญเชิญพระโกศเข้าไปภายในเตาไฟฟ้าได้

อ่านบทความและคอมเม้นท์อื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ เพจ “คลังประวัติศาสตร์ไทย

ภาพเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2560

กฎเกณฑ์รูปแบบ พระจิตกาธาน

มีกฎเกณฑ์รูปแบบที่ระบุไว้อย่างมีแบบแผนปฏิบัติและสืบทอดกันมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน โดยชั้นพระบรมศพ พระจิตกาธานจะทำเป็นชั้นเครื่องยอดทรงบุษบก ถวายพระเกียรติยศสูงสุด ทำเป็นชั้นเรือนยอด 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ตั้งฉัตรดอกไม้สด 7 ชั้น 4 มุม

ส่วนชั้นสำหรับพระบรมราชินี พระราชวงศ์ก็จะทำชั้นเรือนยอด 7 ชั้น มุมจิตกาธานประดับฉัตรดอกไม้สด 5 ชั้น

นอกจากนี้ก็จะมีทรงมณฑป ใช้สำหรับเจ้านายทรงพระอิสริยยศลดหลั่นลงมา และทรงเบญจา (หลังคาปะรำ) ใช้สำหรับเจ้านายชั้นพระยศต่ำลงมา การประดับตกแต่งจะทำด้วยกระดาษสี ลวดลายประดับและรูปแบบก็จะมีกฎเกณฑ์วางไว้อย่างเป็นแบบแผน

หีบและพระโกศจันทน์ เจ้าพนักงานเปลื้องออกก่อนจะสุมเพลิง

แล้วเปิดผาหีบพระบรมออกก่อนสุมเพลิงตามอย่างโบราณราชประเพณี ที่ต้องเปิดฝาพระโกศจันทน์ออกเพื่อให้เพลิงได้กระจายทั่วถึง สำหีบเลื่อนหรือกำแพงเตาเลื่อนนั้น ไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่งเลื่อน เพราะหีบพระบรมศพอยู่ที่ฐานจิตกธาน เพียงแต่ถอดหีบและพระโกศจันทน์ออก..นำไปไว้ที่หอเปลื้องรองจากซ่าง ทั้งสี่ทิศครับ / โดย พระ วีรวัฒน์ จิตฺตทนฺโต

พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

8 สิ่งใหม่ในพระจิตกาธาน น้อมถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9

โดย นสพ. คมชัดลึก

เรียบเรียงโดย www.campus-star.com

ขอบคุณภาพและข้อมูล จาก “ศิลปกรรมประกอบพระเมรุมาศ” และ Facebook ชมรมคนรักพระมหากษัตริย์ของชาติไทยสุดวิจิตร พระจิตกาธาน ในหลวง ร.9 ดั่งวิมานส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์ , 8 สิ่งใหม่ในพระจิตกาธาน น้อมถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 , พระจิตกาธานคืออะไร..และอยู่ส่วนไหนในพระเมรุมาศ? , kingrama9.net

ขอใช้คำสามัญในบางช่วง เพื่อให้อ่านได้เข้าใจง่ายขึ้นนะคะ

บทความแนะนำ