ธรรมเนียมโบราณ พระบรมศพ พิธีถวายพระเพลิง ร.9 ลักพระศพ โบราณราชประเพณี ในหลวงรัชกาลที่ 9

ตำนาน ลักพระศพ ธรรมเนียมที่กระทำในยามวิกาล ก่อนงานพระราชพิธี

Home / สาระความรู้ / ตำนาน ลักพระศพ ธรรมเนียมที่กระทำในยามวิกาล ก่อนงานพระราชพิธี

เมื่อยิ่งใกล้ถึง วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ซึ่งตรงกับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ก็จะมีธรรมเนียม “ลักพระศพ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นธรรมเนียมโบราณในการเคลื่อนย้ายศพเจ้านายในยามวิกาลก่อนงานพระราชพิธี ที่น้อยคนนักจะรู้จัก…

ตำนาน ลักพระศพ ธรรมเนียมที่กระทำในยามวิกาล ก่อนงานพระราชพิธี

สำหรับ คำว่า “ลักพระศพ” เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของเจ้าพนักงานภูษามาลา ที่ใช้พูดกันถึงขั้นตอนการอัญเชิญพระศพ ไปยังพระเมรุมาศก่อนงานพระราชพิธี ซึ่งจะรีบกระทำในเวลากลางคืน หรือในเวลาเช้ามืด ก่อนงานพระราชพิธี โดยจะอัญเชิญพระโกศทรงพระศพออกจากตำหนัก หรือวังที่ประทับขึ้นยังพระราชยานรถม้า หรือราชยานคนหาม ไปยังสถานที่ใดที่หนึ่ง เพื่อตั้งรอริ้วขบวนงานพระราชพิธีที่จะเกิดขึ้นในตอนเช้า

เปิดตำนาน ลักพระศพ

ในขบวนพระราชอิสริยยศนั้น..

ซึ่งหากถามว่า พระบรมศพประทับยังพระหีบ ส่วนพระบรมโกศเป็นแค่ฉาก แล้ววันจริงที่ต้องอัญเชิญพระบรมศพขึ้นพระเมรุมาศ ต้องอัญเชิญพระบรมศพเข้าไปในพระบรมโกศหรือไม่ “คำตอบคือ ไม่ได้อัญเชิญพระบรมศพลงพระบรมโกศ พระบรมศพจะถูกอัญเชิญ โดยธรรมเนียมที่เรียกว่า ‘ลักพระศพ’ ไปยังพระเมรุมาศในคืนก่อนแล้ว ส่วนพระบรมโกศที่แห่ไปนั้นทางการใช้คำว่า ‘ขบวนพระราชอิสริยยศ’ ประกอบขึ้นเพื่อเป็นเกียรติยศเต็มสูงสุดตามโบราณราชประเพณี”

เปิดตำนาน ลักพระศพ

ดังตัวอย่างเหตุการณ์ลักพระศพ ที่เคยบันทึกเอาไว้

คือ เมื่อปี พ.ศ. 2430 ในงานพระศพของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา องค์ต้นราชสกุล มาลากุล ได้จัดขึ้นที่วังถนนหน้าพระลาน บริเวณท่าพระ เมื่อถึงกำหนดต้องพระราชทานเพลิงนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญพระศพลงยังเรือพระประเทียบในเช้ามืดของวันนั้น จากนั้นล่องพระศพโดยขบวนเรือจากท่าพระไปยังท่าเตียน โดยบนเรือนั้นมีเหล่าพระโอรสเข้าประคองพระโกศอยู่ ขบวนเรือล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงท่าเตียน จึงชักพระศพขึ้นบนท่า จากนั้นอัญเชิญพระศพไปยังท้ายวัดพระเชตุพนฯ ณ ที่นั้นขบวนราชยันตรารถรอรับอยู่เพื่อเข้าพิธีออกพระเมรุในช่วงสาย

เปิดตำนาน ลักพระศพ

การลักพระศพเกิดในบางกรณีเท่านั้น

อนึ่ง การลักพระศพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกพระศพ แต่จะเกิดขึ้นกับบางกรณีเท่านั้น เช่น วังที่ตั้งพระศพนั้นอยู่ไกล หรือ อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ ห่างไกลจากวัดจากพระเมรุ ที่จะทำการพระราชทานเพลิง ดังนั้นการลักพระศพก็คือ การอัญเชิญพระศพมายังสถานที่ ที่สะดวกต่อการจัดริ้วขบวน เเละที่สำคัญคือเป็นการย่นเวลาให้เร็วขึ้น

เปิดตำนาน ลักพระศพ

โดย ธรรมเนียมลักพระศพ เป็นการเคลื่อนย้ายศพเจ้านายในยามวิกาล กระทำเป็นการภายในไม่บอกให้ใครรับรู้ ไม่มีหมายกำหนดการ แต่สามารถบันทึกเหตุการณ์เป็นจดหมายเหตุได้ ส่วนในพระโกศที่แห่ไปนั้นก็ใช่ว่าเป็นพระโกศเปล่า ภายในมีการบรรจุของบางอย่าง

เปิดตำนาน ลักพระศพ

มาถึงในยุคปัจจุบัน

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ธรรมเนียมการปฏิบัติเกี่ยวกับพระบรมศพ และพระศพของพระราชวงศ์นั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนไปมากจากอดีต เห็นได้อย่างชัดเจนเรื่องหนึ่งก็คือ มีการนำหีบมาใช้ทรงพระศพแทนการใช้พระโกศ ดังนั้นเมื่อพระศพประดิษฐานลงหีบ พอถึงวันแห่จึงทำให้บนพระมหาราชรถนั้นมีเพียงพระโกศเปล่า

เนื่องจากพระมหาราชรถสร้างไว้ตั้งแต่ต้นกรุง ออกแบบให้วางได้เฉพาะพระโกศเท่านั้น หีบทรงพระศพจึงไม่สามารถขึ้นวางบนพระมหาราชรถได้ เจ้าพนักงานจึงต้องทำการลักพระศพล่วงหน้าไปก่อนในเวลากลางคืน โดยอัญเชิญหีบทรงพระศพเข้ายังรถตู้ยนต์พระที่นั่ง จากนั้นตั้งขบวนเคลื่อนไปยังท้องสนามหลวง พอถึงก็ชักพระศพขึ้นยังพระเมรุเพื่อรอริ้วขบวนพระราชพิธี ที่จะแห่พระโกศเปล่าตามมาในภายหลังดังหมายกำหนดการ

ข้อมูลและภาพ FB : คลังประวัติศาสตร์ไทย, FB : MThai Newswww.welovemyking.com

บทความแนะนำ