ประวัติราชประเพณี พระมหากษัตริย์ พระราชวัง พระเมรุมาศ พิธีถวายพระเพลิง ร.9 สนามหลวง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ โบราณราชประเพณี

ชิ้นส่วนพระเมรุมาศ หลังการรื้อถอน จะทำอย่างไร เก็บไว้ที่ไหน ?

Home / สาระความรู้ / ชิ้นส่วนพระเมรุมาศ หลังการรื้อถอน จะทำอย่างไร เก็บไว้ที่ไหน ?

พระเมรุมาศ และพระเมรุ คือ สถาปัตยกรรมชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง .. เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น “กุฎาคาร หรือ เรือนยอด” คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมีพรหมพักตร์หรือไม่มีก็ได้ โดยพระเมรุมาศ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระราชชนนี พระบวรราชเจ้า พระยุพราช สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่า สวรรคต

ชิ้นส่วนพระเมรุมาศ หลังการรื้อถอน

สรุปชิ้นส่วนประกอบต่างๆ จากพระเมรุมาศ ในหลวง ร.9 หลังรื้อถอน

การรื้อถอนพระเมรุมาศและอาคารประกอบพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ออกจากมณฑลพิธีท้องสนามหลวง มีการจัดพิธีบวงสรวงการรื้อถอนพระเมรุมาศฯ ไปเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561

– การรื้อถอนอาคารประกอบอื่นๆ

ได้แก่ พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน 4 หลัง ทับเกษตร 2 หลัง บุษบกซ่าง 1 หลัง สระอโนดาต 2 สระ จะย้ายไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ บนเนื้อที่ 10 ไร่ บริเวณด้านหลัง หอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตำบลคลองห้า จังหวัดปทุมธานี

– ส่วนอาคารประกอบส่วนหนึ่ง

ได้แก่ ศาลาลูกขุน 2 หลังจะย้ายไปจัดแสดงที่สำนักช่างสิบหมู่ จังหวัดนครปฐม เพื่อให้แหล่งเรียนรู้ทั้ง 2 ส่วนนี้ เป็นที่ระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 และผลงานมรดกวัฒนธรรมไทย ที่ทรงคุณค่า ที่คนรุ่นใหม่ควรจะเรียนรู้

ไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ

ในส่วนของไม้ดัด ซึ่งวัดคลองเตยในให้ความอนุเคราะห์จะจัดส่งคืนวัด อีกส่วนไม้ดัดขนาดใหญ่ เป็นของสวนนงนุช ก็จะดำเนินการจัดส่งคืนสวนนงนุช สำหรับไม้ล้มลุกประเภทดอกดาวเรือง จำนวน 300,000 ต้น จะเคลื่อนย้ายไปจัดงานฤดูหนาว ที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า ปลายเดือนมกราคม 2561 นี้

ที่มา www.thaipost.net , www.thairath.co.th

ลวดลายประกอบ ทั้งหมดจะสะท้อนถึงเรื่องระบบจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง

Link : พระเมรุมาศ ในหลวง ร.9 สูงเทียบตึก 19 ชั้น! ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ หนึ่งเดียวในโลก

พระเมรุมาศในอดีตนั้น..

บางส่วนนำไปถวายวัด

ภายหลังจากการถวายพระเพลิงแล้ว ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระเมรุที่ถูกรื้อถอนบางส่วนจะนำไปถวายวัด เพื่อเป็นการกุศลแด่ผู้วายชนม์ โดยในสมัยก่อนส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มักจะเป็นตัวไม้ หลักๆ เท่านั้น ส่วนสัตว์หิมพานต์ สมัยก่อนวัดวาอารามบางวัดจะขอเก็บไว้บ้าง แต่ที่เก็บไว้ก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา

ทำเรือนรูปต่างๆ

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นพิเศษ โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือนรูปต่างๆ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ใช้สิ่งก่อสร้างเป็นไม้จริง ด้วยมีพระราชประสงค์ว่า ครั้นเสร็จการให้รื้อพระเมรุไปสร้างเรือนคนไข้ได้จำนวน 4 หลัง ณ บริเวณวังหลัง ซึ่งต่อมาคือโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน

สร้างศาลาหลังหนึ่ง ที่วัดปทุมวนาราม

พระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หลังเสร็จสิ้นงาน เอาไปสร้างศาลาหลังหนึ่งที่วัดปทุมวนาราม ข้างวังสระปทุม  โดยเมื่อเสร็จสิ้นพระราชพิธี ของทั้งหมดจะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักพระราชวัง โดยส่วนที่นำไปแปรธาตุไปใช้อย่างอื่นเช่น ศาลาต่างๆ ทับเกษตร ราชวัติ ส่วนที่เก็บไว้ เช่น ส่วนฉัตร กลีบบัว ฉัตรปรุ โครงฉัตรผ้าฉลุทอง

ให้หน่วยงาน เปิดประมูล เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์

หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อาคารพระเมรุและอาคารประกอบ ถูกรื้อถอนเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้หน่วยงานต่างๆ ส่วนที่ 2 เปิดประมูล และส่วนที่ 3 เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษา เช่น ชิ้นส่วน พระโกศจันทน์ รูปปั้นเทวดา สัตว์หิมพานต์

ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์กรมศิลปากร , นสพ. มติชน ออนไลน์ และ วิกิพีเดีย

ชิ้นส่วนพระเมรุมาศ หลังการรื้อถอน จะทำอย่างไร เก็บไว้ที่ไหน

เผยภาพ สัตว์หิมพานต์ ประกอบพระเมรุมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิงในหลวง ร.9

ชิ้นส่วนพระเมรุมาศ หลังการรื้อถอน จะทำอย่างไร เก็บไว้ที่ไหน

พระเมรุมาศ เปิดให้เข้าชม 2-30 พ.ย. 60 | เข้าได้รอบละ 5,000 คน/1 ชม.

บทความแนะนำ