พระเมรุมาศ

การสร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง | ความรู้เกี่ยวกับพระเมรุมาศ

Home / สาระความรู้ / การสร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง | ความรู้เกี่ยวกับพระเมรุมาศ

การสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ สำหรับถวายพระเพลิง จะมี “ขนาดและรูปแบบ” งดงามวิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัย เป็นงานสร้างสรรค์ตามแรงบันดาลใจของช่าง โดยยึดคติโบราณที่สืบทอดกันมาเป็นแบบแผน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานคติการสร้างว่า “พระเมรุ” ได้ชื่อมาแต่การปลูกสร้างปราสาทอันสูงใหญ่ท่ามกลางปราสาทน้อย ที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติเป็นชั้นๆ ลักษณะประดุจเขาพระเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกเลียนชื่อว่า พระเมรุ ภายหลังเมื่อทำย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียกเมรุด้วย

การสร้างพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง

content-m36

ท้องสนามหลวงเมื่อมีการใช้เป็นที่ตั้งของพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายระดับสูง

คนไทยมีความเชื่อและยึดถือเรื่องไตรภูมิตามคติของพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงจักรวาล มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสามรายล้อมด้วยสรรพสิ่งนานา อันเป็นวิมานของท้าวจตุโลกบาลและเขา สัตตบริภัณฑ์

ดังนั้นจึงนำคติความเชื่อจากไตรภูมิ มาใช้ในการประกอบพิธีถวายพระเพลิงเพื่อให้ได้ ถึงภพแห่งความดีงาม อันมีแดนอยู่ที่เขาพระเมรุนั้นเอง สิ่งก่อสร้างในการพระราชพิธีถวายพระเพลิง จะมีส่วนจำลองให้ละม้ายคล้ายกับดินแดนเขาพระสุเมรุ ดังเช่น โบราณจะมีรูปสัตว์หิมพานต์ลักษณะหลากหลายนานาพันธุ์ บนหลังตั้งสังเค็ดผ้าไตรถวายพระสงฆ์ เข้าขบวนแห่อัญเชิญพระศพ

เมรุมาศทรงปราสาทยอดปรางค์ ภายในเป็นเมรุทองตั้งโกศศพทศกัณฐ์

เมรุมาศทรงปราสาทยอดปรางค์ ภายในเป็นเมรุทองตั้งโกศศพทศกัณฐ์

ภายในพระเมรุมาศ

ภายในพระเมรุมาศ มี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือ พระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก

ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้ราชาศัพท์ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์”

การออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น

พระเมรุมาศ

พระเมรุมาศสมเด็จพระบรมราชชนนี

ในปี พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต พระเมรุมาศได้จัดสร้างโดยกรมศิลปากร ณ ท้องสนามหลวง งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างพระเมรุ นั้นประมาณ 120 ล้านบาท

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2527

พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ

พระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551

c03

พระเมรุสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2554 โครงสีของพระเมรุโดยรวมเป็นสีทองและสีชมพู ตามสีวันประสูติ คือวันอังคาร งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างประมาณ 260 ล้านบาท

เมรุ อ่านว่า เมน
** เมรุมาศ อ่านว่า เม-รุ-มาด (เมรุมาศ ใช้ในระดับเจ้าฟ้า เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง)

บทความแนะนำ