ฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระมหากษัตริย์ไทย ราชวงศ์ ราชสกุล

ความรู้เกี่ยวกับ ฐานันดรศักดิ์ พระยศเจ้านายไทย พระบรมวงศานุวงศ์ ราชนิกุลต่างๆ

Home / สาระความรู้ / ความรู้เกี่ยวกับ ฐานันดรศักดิ์ พระยศเจ้านายไทย พระบรมวงศานุวงศ์ ราชนิกุลต่างๆ

ในประเทศไทยมี “ฐานันดรศักดิ์” หลายประเภท ดังนี้ ฐานันดรศักดิ์ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า พระยศเจ้านาย , ฐานันดรศักดิ์ของพระสงฆ์ เรียกว่า สมณศักดิ์ , ฐานันดรศักดิ์ของขุนนางและพราหมณ์ในราชสำนัก เรียกว่า บรรดาศักดิ์

ฐานันดรศักดิ์ พระยศเจ้านายไทย..

พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 9 ภายในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

พระบรมวงศานุวงศ์

หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ

พระบรมวงศ์ (บรมวงศ์ แปลว่า วงศ์ประเสริฐ หมายถึง วงศ์ใหญ่) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น “พระญาติที่สนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศเป็น เจ้าฟ้า และพระองค์เจ้า ชั้นลูกหลวง ตัวอย่างพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หรือที่ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระเชษฐภคินี เป็นต้น แบ่งได้ดังนี้

  • สมเด็จพระมหาอุปราช หมายถึง พระราชวงศ์ที่ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “อุปราชาภิเษก มีฐานะเป็นองค์รัชทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อไป
  • สมเด็จพระบรมวงศ์ หมายถึง พระบรมวงศ์ชั้นสูง ทรงสัปตปฏลเศวตฉัตร
  • พระราชโอรส-ธิดา หมายถึง บรรดาพระราชโอรสธิดาในพระมหากษัตริย์ ที่ประสูติพระมเหสีเทวีเจ้าและพระสนม

พระอนุวงศ์ (อนุวงศ์ แปลว่า วงศ์น้อย) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็น “พระญาติห่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ” อันได้แก่ เจ้านายที่มีพระยศตั้งแต่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ลงมาถึง หม่อมเจ้า ซึ่งหม่อมเจ้าถือเป็นพระอิสริยยศชั้นสุดท้ายในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์

  • พระราชนัดดา หมายถึง หลานปู่ หลานตา ของพระมหากษัตริย์
  • พระโอรส-ธิดา ของสมเด็จพระมหาอุปราช
  • พระราชปนัดดา หมายถึง เหลนของพระมหากษัตริย์

อ่าน คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ ที่มา วิกิพีเดีย พระบรมวงศานุวงศ์

///// ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ไทย

พระภรรยาของพระเจ้าแผ่นดิน

ตามโบราณราชประเพณี เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระภรรยา ให้มีพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดลำดับพระเกียรติยศแห่งพระภรรยาเจ้าและบาทบริจาริกา : อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ พระภรรยาพระเจ้าแผ่นดิน

/////

เกี่ยวกับ หม่อมราชนิกุล หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง

ราชนิกุลและสายสัมพันธ์

บุคคลนับเนื่องในราชสกุล ลำดับรองลงมาจากหม่อมเจ้า แม้มีคำนำหน้านามเป็นพิเศษอยู่ แต่ก็ถือเป็นสามัญชน

หม่อมราชนิกุล คือ หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น เช่น หม่อมอนุวัตรวรพงษ์ ซึ่งมีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สิงหนัด ปราโมช

หม่อมราชวงศ์ (ม.ร.ว.) คือ ฐานันดรศักดิ์ที่รองลงมาจากหม่อมเจ้า เป็นคำนำหน้านามสำหรับโอรสธิดาในหม่อมเจ้า เรียกโดยลำลองว่า คุณหญิง คุณชาย ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

หม่อมหลวง (ม.ล.) คือ บุตรธิดาของหม่อมราชวงศ์ เป็นคำนำหน้านามขั้นสุดท้ายของเชื้อพระวงศ์ ในการเรียกโดยลำลอง ให้ใช้คำนำหน้าว่า “คุณ” ฐานันดรศักดิ์นี้ บัญญัติขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5

ณ อยุธยา คือ สร้อยที่ต่อท้ายนามสกุล บุตรธิดาของหม่อมหลวง และหม่อมเช่น หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา และภรรยาของหม่อราชวงศ์ และหม่อมหลวงด้วย

/////

หม่อมราชนิกุล หรือ หม่อมราชนิกูล

เป็นยศพิเศษที่พระราชทานให้แก่หม่อมราชวงศ์ชายที่ปฏิบัติความดีความชอบในราชการแผ่นดิน ถ้าเทียบกับพระยศเจ้านาย ถือว่าสูงกว่าหม่อมราชวงศ์ แต่ต่ำกว่าหม่อมเจ้า ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง ถือว่าศักดิ์สูงกว่าพระ แต่ต่ำกว่าพระยา สมัยกรงศรีอยุธยาเรียกว่าเจ้าราชนิกุล ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) , หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) , หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)

**หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ถือเป็นสามัญชน

ไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์และมิได้จัดอยู่ในพระอนุวงศ์ แต่ถูกจัดอยู่ใน ราชสกุล หรือผู้สืบเชื้อสายในราชสกุล หรือผู้เนื่องในสายราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายลงมาจากหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้านามตามปกติสามัญคือ นาย/นางสาว และมีสร้อย ณ อยุธยา ต่อท้ายนามสกุลอันเป็นราชสกุล สำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากฝ่ายบิดาเท่านั้น และสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากหม่อมหลวงฝ่ายมารดาสามารถขอร่วมใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลได้ แต่ไม่ต้องเติมคำว่า ณ อยุธยา ดังนั้นจึงพึงระวังในการใช้ เพราะพระราชวงศ์จะสืบราชตระกูลทางฝ่ายหน้าเท่านั้น (ชาย)

ตั้งแต่อดีตหม่อมราชนิกูลมีจำนวนทั้งสิ้น 36 ท่าน โดยในปัจจุบันไม่มีผู้ดำรงยศนี้แล้ว / ที่มา จาก หม่อมราชนิกุล วิกิพีเดีย

ราชสกุล

เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ “นามสกุล” เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด[1] โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า ราชนิกุล และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล

ส่วน ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)

ราชตระกูล

ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์

ราชสกุล

ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่ง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งราชวงศ์จักรีนั้นราชสกุล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล

ที่มา ราชสกุล

บทความแนะนำ