ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ “นามสกุล” เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด
ราชสกุลในราชวงศ์จักรีไทย
โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า “ราชนิกุล” และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า “บวรราชสกุล” ส่วน “ราชินิกุล” หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)
สำหรับสมาชิกในราชสกุลที่ต่ำลงมาจากหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ถือว่าเป็นสามัญชน ให้ใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลโดยมีคำว่า “ณ อยุธยา” ต่อท้าย โดยในครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “ณ กรุงเทพ” ต่อท้าย และต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น “ณ อยุธยา” แทน สำหรับผู้ใช้นามราชสกุลตามมารดา หรือการขอร่วมใช้นามสกุลที่เป็นราชสกุล จะไม่ต่อท้ายด้วย “ณ อยุธยา” และก็ยังคงมีมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ลองมาดูกันว่าจะมีนามสกุลใดบ้าง…
ราชตระกูล
ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า “ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์” มี 6 ราชสกุล ดังนี้
- เจษฎางกูร – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (พระองค์เจ้าลา) พระอนุชาต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
- เทพหัสดิน – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์ (พระองค์เจ้าตัน) พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเชษฐภคินี พระองค์รอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
- นรินทรกุล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (พระองค์เจ้าหญิงกุ) พระน้องนางเธอต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
- นรินทรางกูล – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองจีน กรมหลวงนรินทรรณเรศร์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี พระเชษฐภคินี พระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
- มนตรีกุล – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษมนตรี พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
- อิศรางกูร – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
ราชสกุล
ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อีก 18 ราชสกุล ซึ่งสามาารถแบ่งออกเป็นสายราชสกุลดังนี้
รัชกาลที่ 1 (มี 8 ราชสกุล) คือ
- ฉัตรกุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์
- ดวงจักร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์
- ดารากร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดารากร กรมหมื่นศรีสุเทพ
- ทัพพะกุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นจิตรภักดี
- พึ่งบุญ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ
- สุทัศน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต
- สุริยกุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ
- อินทรางกูร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับทิม กรมหมื่นอินทรพิพิธ
บวรราชสกุล (วังหลัง – สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข) ในรัชกาลที่ 1 (มี 2 ราชสกุล) คือ
- ปาลกะวงศ์ – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์
- เสนีวงศ์, เสนีย์วงศ์ – สืบสายจาก พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์
บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ในรัชกาลที่ 1 (มี 4 ราชสกุล) คือ
- นีรสิงห์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเณร
- ปัทมสิงห์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว
- สังขทัต – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังกะทัต กรมขุนนรานุชิต
- อสุนี – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ
—————————————
รัชกาลที่ 2 (มี 20 ราชสกุล) คือ
- กปิตถา – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
- กล้วยไม้ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ กรมหมื่นสุนทรธิบดี
- กุญชร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์
- กุสุมา – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุสุมา กรมหมื่นเทพสุนทร
- ชุมแสง – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา
- เดชาติวงศ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมสมเด็จพระเดชาดิศร (สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร)
- ทินกร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
- นิยมิศร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม
- นิลรัตน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน์ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
- ปราโมช – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
- พนมวัน – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์
- ไพฑูรย์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์
- มรกฎ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามรกฎ กรมขุนสถิตย์สถาพร
- มหากุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์
- มาลากุล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
- เรณุนันทน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู
- วัชรีวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์
- สนิทวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
- อรุณวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล
- อาภรณ์กุล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ในรัชกาลที่ 2 (มี 10 ราชสกุล) คือ
- บรรยงกะเสนา – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประยงค์ กรมขุนธิเบศร์บวร
- พยัคฆเสนา – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ
- ภุมรินทร – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน
- ยุคันธร – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
- รองทรง – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ
- รังสิเสนา – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย
- รัชนิกร – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร
- สหาวุธ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง
- สีสังข์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์
- อิศรเสนา – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช
—————————————
รัชกาลที่ 3 (มี 13 ราชสกุล) คือ
- โกเมน – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
- คเนจร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์
- งอนรถ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ
- ชมภูนุท – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
- ชุมสาย – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม
- ปิยากร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก
- ลดาวัลย์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
- ลำยอง – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง
- ศิริวงศ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
- สิงหรา – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
- สุบรรณ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล
- อรณพ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
- อุไรพงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ
บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์) ในรัชกาลที่ 3 (มี 5 ราชสกุล) คือ
- เกสรา – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสรา กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ
- กำภู – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู
- นันทิศักดิ์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง
- อนุชะศักดิ์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช
- อิศรศักดิ์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
—————————————
รัชกาลที่ 4 (มี 27 ราชสกุล) คือ
- กมลาศน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
- กฤดากร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์
- เกษมศรี – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
- เกษมสันต์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
- คัคณางค์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร
- จักรพันธุ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
- จันทรทัต – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา
- จิตรพงศ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- ชยางกูร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
- ชุมพล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
- ไชยันต์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
- ดิศกุล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- ทวีวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- ทองแถม – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
- ทองใหญ่ – สืบสายจาก พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- เทวกุล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
- นพวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ภาณุพันธุ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- วรวรรณ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
- วัฒนวงศ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์
- ศรีธวัช – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ
- ศุขสวัสดิ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช
- โศภางค์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
- สวัสดิกุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์
- สวัสดิวัตน์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- สุประดิษฐ์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
- โสณกุล – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
บวรราชสกุล (วังหน้า – พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในรัชกาลที่ 4 (มี 11 ราชสกุล) คือ
- จรูญโรจน์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ
- โตษะณีย์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี
- นวรัตน์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวรัตน์ กรมหมื่นสถิตยธำรงสวัสดิ
- นันทวัน – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน
- พรหเมศ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรหเมศ
- ภาณุมาศ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุมาศ
- ยุคนธรานนท์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคนธร
- วรรัตน์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ
- สายสนั่น – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น
- สุธารส – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส
- หัสดินทร์ – สืบสายจาก พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหัสดินทร์ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
—————————————
รัชกาลที่ 5 (มี 15 ราชสกุล) คือ
- กิติยากร – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
- จักรพงษ์ – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- จิรประวัติ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
- จุฑาธุช – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
- ฉัตรไชย – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
- บริพัตร – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- ประวิตร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี
- เพ็ญพัฒน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
- มหิดล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
- ยุคล – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
- รพีพัฒน์ – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- รังสิต – สืบสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
- วุฒิชัย – สืบสายจาก พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
- สุริยง – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
- อาภากร – สืบสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ในรัชกาลที่ 5 (มี 9 ราชสกุล) คือ
- กาญจนะวิชัย – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ
- กัลยาณะวงศ์ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา
- รัชนี – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- รุจจวิชัย – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี
- วรวุฒิ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์
- วิบูลยพรรณ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี
- วิสุทธิ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์
- วิไลยวงศ์ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส
- สุทัศนีย์ – สืบสายจาก พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร
—————————————
รัชกาลที่ 7 (มี 1 ราชสกุล) คือ
- ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์ – สืบสายจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นพระโอรสบุญธรรมในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทานนามว่า “ศักดิเดชน์” ตามพระนามาภิไธย “ประชาธิปกศักดิเดชน์” แต่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ยินยอมให้ใช้ โดยอ้างเรื่องสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ จึงมาใช้ “ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์” แทน)
—————————————
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สำหรับสายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบด้วย 18 ราชสกุลด้วยกัน ดังนี้
- ราชสกุล สินสุข (สินศุข)
- ราชสกุล จาตุรงคกุล
- ราชสกุล รุ่งไพโรจน์
- ราชสกุล ศิลานนท์
- ราชสกุล โกมารกุล ณ นคร
- ราชสกุล ณ นคร
- ราชสกุล อินทรโยธิน
- ราชสกุล คชวงศ์ (คชวงษ์)
- ราชสกุล มหาณรงค์
- ราชสกุล อินทรกำแหง
- ราชสกุล อินทโสฬส
- ราชสกุล อินทนุชิต
- ราชสกุล เชิญธงไชย
- ราชสกุล เนียมสุริยะ
- ราชสกุล นิลนานนท์ (นินนานนท์)
- ราชสกุล พงษ์สิน
- ราชสกุล ศิริพร
- ราชสกุล ชูกริส (ชูกฤส)
—————————————
ราชินิกุล
สายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมักเรียกรวม ๆ กันไปว่า “ราชินิกุลบางช้าง” เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค
- ณ บางช้าง – สืบสายจาก ทอง ณ บางช้าง กับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี ใช้ในสายเจ้าคุณหญิงแก้ว
- ชูโต – สืบสายจาก พระยาสมบัติบาล (เสือ) กับคุณหญิงม่วง (เป็นบุตรีในเจ้าคุณชายชูโต พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
- สวัสดิ์ชูโต – สืบสายจาก พระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต) ทายาทเจ้าคุณชายชูโต
- แสงชูโต – สืบสายจาก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) บุตรพระยาสุรเสนา (สวัสดิ์ ชูโต)
- บุนนาค – สืบสายจาก เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล (เป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
สายสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุล รัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลย
- ศิริสัมพันธ์ – สืบสายจาก ท่านสาด
- ณ พัทลุง – สืบสายจาก พระยาพัทลุง (ทองขาว)
สายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล
- บุญ-หลง – สืบสายจากเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี)
- พลางกูร – สืบสายจาก เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี)
สายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ “สกุลสุรคุปต์”
- สุรคุปต์ – สืบสายจาก พระยารัตนจักร (หงส์ทอง)
สายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า “สุจริตกุล”
- สุจริตกุล – ท้าวสุจริตธำรง (นาค)
สายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ชูกระมล” เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป
- ชูกระมล – สืบสายจาก ชู ชูกระมล
ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาระน่ารู้ส่งท้าย…
ส่วนราชสกุลและสกุลวงศ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือเป็นเครือญาติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (เฉพาะ พ.ศ. 2365 – 2527) มีดังต่อไปนี้
- กุญชร ณ อยุธยา
- ไกรสรสิทธิ
- กลิ่นโกมุท
- เก็บไว้
- เกษมใส
- กุลศรี
- เกิดเงิน
- เขียวสุทธิ
- ขันฑริก
- เครือเพชร์
- คมกฤส
- คชหิรัญ
- คชเสนี
- คอลเทล
- งามถิ่น
- จตุรานนท์
- จารุรัตน์
- จึงเจริญ
- เจียรประดิษฐ์
- จงเจริญ
- จันทร์สมบูรณ์
- จุ่นพิจารณ์
- จันทนสมิต
- แจ้งความดี
- ใจสงเคราะห์
- จันทร์เรืองเพ็ญ
- เจริญไชย
- จันทรวงศ์
- จำปาขาว
- จันทิมานนท์
- จงใจหาญ
- จุละเดชะ
- จันทร์พิทักษ์
- จารุสิงห์
- เฉลิมทรัพย์
- ชุมสาย ณ อยุธยา
- ชูโต
- ชุมากร
- ชลายนเดชะ
- ชุณหวัต
- ไชยสุต
- ชัยวัฒน์
- ชโนดม
- ชูช่วย
- เชาวนภูติ
- ชำนานปืน
- ไชยาคำ
- ดิษยบุตร
- ดุษฎี
- ดารารัตน์
- ดารายน
- ดีวาจิน
- เดเนียล
- ไตรกิติยานุกูล
- ไต่เมฆ
- เต็มสงสัย
- แตงทอง
- ตัณโชติ
- ตัณฑนุช
- ตันติเวชกุล
- ตุลยาทร
- ติวานนท์
- ตรองโตนิล
- ตรีนิกร
- เตชะมณี
- เตชะศรีอุดม
- เถื่อนหรุ่น
- เถกิงพล
- ถมยาวิทย์
- ทองใหญ่ ณ อยุธยา
- ทองเนียม
- ทองรอด
- ทวาทสิน
- ทาค่อ
- ทัศจันทร์
- ทวีสุข
- เทพธี
- ทัพพะวงศ์
- ทรัพย์แสงส่ง
- เทวะประทีป
- ธนาบูรณ์
- นาคชำนาน
- นาคะตะ
- นิ่มพินิจ
- นิยม
- นิลวงศ์
- บุนนาค
- บุณยามระ
- บุนอินทร์
- บุญประเสริฐ
- บุญโรจน์
- บำรุงผล
- บรรหารทัณฑกิจ
- บัณฑิตานนท์
- บราวน์
- บิชอบ
- ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
- ปวนะฤทธิ์
- ปรัชญานนท์
- เปรมชื่น
- เปมะโยธิน
- เปรมัษเฐียร
- ปานะนนท์
- ปานถาวร
- เปลี่ยนราศรี
- ปัทมจินดา
- ปิ่นสุวรรณ
- ประภาพันธ์
- ผลกล้วย
- พัวเวส
- พาเจริญ
- พาณิชสุโข
- พลาพิบูลย์
- พิพัฒน์
- พูนเจริญ
- พุ่มสวัสดิ์
- พื้นชมภู
- แพงอินทร์
- โพธิตาปนะ
- โพธิวิหก
- พรรณโรจน์
- แพ่งสภา
- พงษ์กัณหา
- พรโสภณ
- พรหมจรรย์
- เฟื่องฟู
- เฟื่องดอกไม้
- เฟิ้ทธ์
- ภูติจินดานนท์
- ภูมิถาวร
- เมษะมาน
- เมธา
- ม่วงกล่ำ
- มนุอมร
- ม่วงวิโรจน์
- มีบุตร
- มีเมศกุล
- ยศธร
- ยิ้มน้อย
- แย้มเยื้อน
- ยุกตานนท์
- โรจนวิภาต
- โรจน์ชลาสิทธิ์
- รัตนภัคดี
- รอดแสงสินธุ์
- ฤทธิกาญจน์
- ลีละชาติ
- ลางคุลเสน
- เลิศมงคล
- เลี้ยงรื่นรมย์
- เล็กน้อย
- ลิ้มทองกุล
- เลขนาวิน
- ลุมพิกานนท์
- โล่สุวรรณ
- เลวิส
- วาสภูติ
- วินิจฉัยกุล
- วัฒนายน
- วัฒนสุวกุล
- วัจนรัตน์
- วงศ์ละม้าย
- วงศ์ไทย
- วงศ์สันต์
- วงศ์ประเทือง
- วรรณศิริ
- วัฌโน
- วณิชกิจ
- ไวยนพ
- เศรษฐบุตร
- เศวตเศรณี
- ศรียานนท์
- ศรีมาศ
- ศรีเสาวชาติ
- ศรีวัฒนะ
- ศรีสาทร
- ศรีวรรธนะ
- ศรทัต
- ศุนวัต
- ศุขหัส
- ศิริสัมพันธ์
- ศุภสิทธิ์
- ศิริสุทธิ
- ศิริสุวรรณ
- ศิริวรรณ
- สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- สวัสดิกุล ณ อยุธยา
- แสงชูโต
- สุวรรณ
- สาตรพันธ์
- สารสุรรณ
- เสถบุตร
- สุดลาภา
- สุนทรสิงห์
- สุวรรณาคร
- สุวรรณี
- สุวรรณวิเศษ
- สุภัทรพันธ์
- สุขสวัสดิ์
- สุจปลื้ม
- สุจริต
- สู้ทุกทิศ
- สถานุวัตร
- สิริสิงห์
- แสงนาค
- สมรภูมิพิชิต
- สติติรัตน์
- สีหอุไร
- สืบพงศ์พันธ์
- เสงี่ยมพงษ์
- สาครบุตร์
- สังข์ฉาย
- สิงห์คำ
- สิทธิสรวง
- แสนทรงสุรศักดิ์
- สโตล
- หอรัตนไชย
- หวังดี
- หุราพันธ์
- แหลมวิไล
- อาจวงษ์
- อาจแย้มสรวล
- อาคะมานนท์
- อรุณพันธ์
- อร่ามศรี
- อินทรกำแหง ณ ราชสีมา
- อารมณ์สว่าง
- อังศุมาลีกุล
- อำนาจสรการ
- อำมาตยานนท์
- อินทรพิทักษ์
- ฮวดเจริญ
- โฮลบรู๊ค
- ฮาร์นเสน
- ฮอร์น
- บุณยรัตพันธุ์
- เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
ข้อมูลจาก : http://www.thaipoet.net
บทความที่น่าสนใจ
- ราชสกุลในราชวงศ์จักรีไทย ที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
- ลำดับชั้นพระภรรยา พระเจ้าแผ่นดิน | พระอัครมเหสี พระมเหสี พระราชเทวี พระอรรคชายา
- คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ | พระบรมวงศานุวงศ์ พระยศเจ้านายไทย
Written by : Toey