ดอกดาวเรือง ดอกไม้ ประจำรัชกาล รัชกาลที่ 9 ในหลวงรัชกาลที่ 9

ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำพระองค์ ในหลวงรัชกาลที่ 9

Home / สาระความรู้ / ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำพระองค์ ในหลวงรัชกาลที่ 9

ดอกดาวเรืองที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามวัดวาอาราม สถานที่ต่างๆ แล้วนั้น แท้จริงแล้วเป็นถึงดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 9 เลยนะ ทำให้อยากรู้ต่อไปว่า ในรัชกาลต่างๆ นั้น แต่ละพระองค์มีดอกไม้ประจำพระองค์คือดอกไม้อะไรบ้าง แต่ยังค้นหาไม่พบ แต่พบข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ พรรณไม้ในพระนาม “บุปผาราชินี” … ซึ่งในบรรดาพรรณไม้ต่างๆ นานา นั้น ก็มีชื่อเรียกซึ่งมีที่มาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นชื่อตามลักษณะที่พบเห็น ชื่อตามชื่อของผู้ค้นพบ เป็นต้น ส่วนพรรณไม้บางชนิดนั้น ก็มีชื่อที่นับว่าเป็นมงคลยิ่ง เนื่องจากมีชื่อมาจากพระนามของพระราชวงศ์ และชื่อที่ได้รับพระราชทานมา

ดอกดาวเรือง ดอกไม้ประจำพระองค์ ในหลวงรัชกาลที่ 9

อ้างอิงจาก 80 เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์ คือ สีเหลือง

Marigold2

ดาวเรือง

เป็นดอกไม้ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี นิยมปลูกทุกพื้นที่ทั่วๆ ไป เนื่องจากมีรูปทรงและสีสันสวยงาม มีความคงทน ดอกบานสามารถอยู่ได้หลายวัน นิยมนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย บูชาพระหรือจัดใส่กระถางเพื่อประดับตามงานต่างๆ เพิ่มความสวยงาม มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า “ดอกคำปู้จู้” ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ

ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 2- 4 ปี ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอกดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล

ดอกดาวเรือง ภาษาอังกฤษ Marigold

ดอกดาวเรือง

รวบรวมพรรณไม้ในพระนาม และพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาให้ทำความรู้จักกับความสวยสดงดงาม และชื่ออันเป็นมงคล

หากกล่าวถึง “บุปผาราชินี”

ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

1. ชื่อพรรณไม้ที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อพรรณไม้

ซึ่งได้แก่ “ต้นโมกราชินี” อยู่ในสกุลโมกมัน ลักษณะเป็นช่อดอกสีขาวหรือขาวปนเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ถูกค้นพบโดย ศาตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สันติสุข บริเวณภูเขาหินปูน จ.สระบุรี และกรมป่าไม้ ได้ขอพระราชทานพระราชานุญาต ใช้ชื่อพรรณไม้นี้ตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.2544 และ “ต้นมหาพรหมราชินี” ที่ถูกค้นพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวส่งกลิ่นหอม กลีบชั้นนอกสีขาว กลีบชั้นในสีม่วงแดง มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณยอดเขาสูง ในเขต อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธย เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547

2. ประเภทที่สองคือ ชื่อพันธุ์ดอกไม้ที่มีชื่อตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ได้แก่ “ดอกกล้วยไม้แคทลียา ควีนสิริกิติ์” เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลแคทลียาสีขาว กลางดอกสีเหลือง ถูกผสมขึ้นโดยบริษัทกล้วยไม้ของประเทศอังกฤษ และได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากราชสมาคมไม้ประดับแห่งอังกฤษ นอกจากนี้แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังได้พระราชทาน แคทลียาควีนสิริกิติ์ เป็นดอกไม้ประจำวันสตรีไทยอีกด้วย

3. ส่วนประเภทที่ 3 คือ ดอกไม้ที่ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

มีทั้งหมด 6 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นในทุ่งหญ้า หรือป่าเขาตามธรรมชาติ บางชนิดเป็นพันธุ์ไม้ประจำท้องถิ่นที่หายาก เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นคราวที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร โดยนามของดอกไม้ที่ทรงพระราชทานนั้น จะสะท้อนความหมายถึงความสวยงาม และลักษณะที่โดดเด่นของดอกไม้แต่ละชนิด ดังนี้

  • “ดุสิตา” (หญ้าข้าวก่ำน้อย) ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีม่วงเข้มออกเป็นช่อ
  • “มณีเทวา” (กระดุมเงิน) ไม้ล้มลุกเป็นกอขนาดเล็กคล้ายหญ้า ดอกสีขาวออกเป็นช่อ
  • “สร้อยสุวรรณา” (ดอกหญ้าสีทอง)ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ
  • “ทิพเกสร” (หญ้าฝอยเล็ก) ไม้ล้มลุกกินแมลง ดอกสีม่วงอ่อนแกมชมพู
  • “สรัสจันทร” (หญ้าหนวดเสือ) ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ดอกสีชมพูจนถึงม่วงอ่อนอมฟ้า ส่วนปลายมีสีเหลืองหรือสีครีม

ทั้ง 5 ชนิดนี้ ทรงทอดพระเนตรเห็นบริเวณใกล้ๆ กับพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน

ส่วน “นิมมานรดี” เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกมีขนนุ่มสีขาว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว มีขีดตามยาว สีแดงเข้ม กลีบปากที่ปลายมีพื้นสีเหลืองเข้มและมีแต้มสีแดงเข้มที่โคนกลีบ ทรงพระราชทานชื่อไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพรรณไม้ที่บริเวณโคกนกกะบา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย

ที่มา http://www.manager.co.th/ ภาพประกอบจาก https://pixabay.com/

ดอกดาวเรือง

บทความน่าสนใจ