ขยะ โลกสวยด้วยมือเรา

การแยกขยะแบบถูกวิธี – รู้จักกับขยะประเภทต่างๆ ให้มากขึ้น

Home / สาระความรู้ / การแยกขยะแบบถูกวิธี – รู้จักกับขยะประเภทต่างๆ ให้มากขึ้น

ในคราวที่แล้วเราได้แนะนำ “ถังขยะแต่ละสี มีความหมายว่าอย่างไร” ซึ่งก็มีคนให้ความสนใจเกี่ยวกับการแยกขยะว่าจะแยกอย่างไร โดยการแยกขยะมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก , ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ , ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย

การแยกขยะแบบถูกวิธี …

ประเภทการแยกขยะ

ประเภทการแยกขยะ

ขยะย่อยสลายได้

เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46% ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก // ถังขยะสีเขียว

ขยะรีไซเคิล

หรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น ขวด แก้วพลาสติก เศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องน้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม ถุงพลาสติก ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 42% ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ // ถังขยะสีเหลือง

ขยะทั่วไป

เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น พลาสติกใส่อาหาร หลอด ซองขนม ซองลูกอม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษเคลือบใส้เครื่องดื่ม มามาคัพ จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 9% ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบรอการย่อยสลาย // ถังขยะฟ้า

ขยะมีพิษ

เป็นขยะที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 % ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี // ถังขยะสีแดง

ขยะอันตราย ประกอบด้วย

  • วัตถุระเบิดได้
  • วัตถุไวไฟ
  • วัตถุออกไซด์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
  • วัตถุมีพิษ
  • วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
  • วัตถุกัมมันตรังสี
  • วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
  • วัตถุกัดกร่อน
  • วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคื่อง
  • วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย หรือแบตเตอร์รี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น

วิธีการลดและจัดการขยะก่อนนำไปทิ้ง

1. การลดการใช้ หรือการลดขยะจากแหล่งที่เกิด โดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดขยะหรือมลพิษที่เกิดขึ้น เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้หลอดดูด โดยการกินน้ำเปล่าจากแก้ว

2. การนำผลิตภัณฑ์มาใช้ซ้ำ เป็นการนำวัสดุของใช้กลับมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือนำมาซ่อมแซมใช้ หรือนำมาใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ โดยแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ

  • ขั้นตอนการผลิตสินค้า พยายามทำให้เกิดเศษวัสดุหรือของเสียน้อยที่สุด
  • ขั้นตอนการนำของใช้มาใช้ซ้ำ เป็นการยืดอายุการใช้งานก่อนจะนำไปทิ้ง เช่น การนำขวดพลาสติกมาบรรจุน้ำ , การใช้กระดาษ 2 หน้า

3. การนำกลับมาผลิตใหม่ เป็นการแยกวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ออกจากขยะและรวบรวมใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าขึ้นใหม่หรือเรียกว่า รีไซเคิล

4. การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกำจัดยาก เช่น กล่องโฟม การใช้จานหรือแก้วกระดาษ ยาฆ่าแมลง ควรใช้สมุนไพรเป็นสารกำจัด

5. การซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการซ่อมแซมวัสดุที่ใช้แล้ว ที่สามารถซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การซ่อมแซมเสื้อผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น

วิธีแยกขยะ

จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ

1. Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง

2. Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น

3. Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้

4. Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ

5. Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง

คนไทยแยกขยะไม่ถูกวิธี ไร้ระบบเก็บขยะแบบคัดแยก เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

ขยะ ภาษาอังกฤษ

garbage : ขยะ, มูลฝอย, กระหยะ, กุมฝอย, เศษอาหาร, ของเลว

trash : ขยะ, ชาน, ขี้ผง, ใบอ้อยแห้ง, เศษของ, สิ่งเหลวไหล

wastrel : ขยะ, ของเสีย, ผู้สิ้นเปลือง

refuse : ขยะ, ปฏิกูล, ชาน, กุมฝอย, ของเสีย, กากเดน

dross : กากขยาก, ขยะ, มูล, ชาน, ขี่โลหะ

swill : ขยะ, อาหารเหลว, เหล้าเลว

อ่านเพิ่มเติม www.mt.mahidol.ac.th

บทความแนะนำ

บทความแนะนำ