ชู้ บุพเพสันนิวาส ลงโทษ

สมัยอยุธยา หญิงคบชู้ มีบทลงโทษอะไร นอกจาก “ให้ม้าชำเรา”

Home / เรื่องทั่วไป / สมัยอยุธยา หญิงคบชู้ มีบทลงโทษอะไร นอกจาก “ให้ม้าชำเรา”

เมื่อวานนี้ในละครบุพเพสันนิวาสพี่หมื่นของเราหึง’แรงส์’ หวงหนัก จนขู่การะเกดว่า…

“ถ้าออเจ้าคบชู้ ข้าจักเลือกวิธีลงโทษออเจ้าได้หลายวิธี ข้าจักเลือกวิธี ให้ออเจ้าถูกประหาร หรือ ขายออเจ้าเป็นทาส หรือ ขายให้ซ่องชำเราบุรุษ หรือ… ให้ม้าชำเราออเจ้า”

การะเกดได้ยินถึงกับช็อค คุณหญิงจำปาก็แทบจะลมจับ และเชื่อว่าคนดูที่นั่งอยู่หน้าจอก็คงอึ้งกิมกี่ไม่ต่างกัน แต่บทลงโทษก็ยังไม่หมดแค่นั้นนะคะ มีโหดกว่านั้นอีก

สมัยอยุธยา หญิงคบชู้ มีบทลงโทษอะไร

พระอัยการลักษณะผัวเมีย

พระอัยการลักษณะผัวเมีย ตราขึ้นครั้งแรก ม.1-71 ใน พศ. 1904  สมัยพระเจ้าอู่ทอง ฉบับที่สอง มีการตราเพิ่มเติม ม.72-74 ใน พศ.1905 และฉบับที่สาม ม.75-141 พศ.2347 (รัชกาลที่ 1)

“หญิงเมื่อแต่งงาน จะกลายเป็นสมบัติของผัว ชายอื่นจะไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ หญิงทาสที่เป็นเมียของทาส นอกจากจะเป็นเมียของผัวแล้วยังต้องทำงานตามคำสั่งของนายทาสด้วย”

สมัยอยุธยา หญิงคบชู้ มีบทลงโทษอะไร

บทลงโทษของการมีชู้

การลงโทษนั้นจะลงโทษตามชนิดของเมียตามลำดับ และประเภทของการมีชู้ จะแบ่งเป็น

ไม่ถึงชำเรา (ยังไม่มีการได้เสียกัน) มี 5 ประการ

– จับมือถือนม
– ผัวไม่อยู่ไปหาเมียท่านบนเรือน
– ไปหาเมียท่านในที่ลับ
–  แอบพูดคุยเมียท่าน
–  ไปหาเมียท่านถึงห้องนอน
ซึ่งจะมีบทลงโทษคือ ให้ปรับไหมตามลำดับ

เป็นชู้ถึงชำเรา (ได้เสียกัน) มีโทษแตกต่างกันไป เช่น

– เมียมีชู้ให้เอาเฉลวปะหน้า ทัดดอกชบาแดง สวมคอพวงมาลัยดอกชบา ประจาน 3 วัน ชายชู้ให้ปรับไหม

– เมียมีขู้กับชายคนเดียวสองครั้ง ให้ปรับสองเท่า โกนหัวเมีย ขึ้นขาหย่างประจานรอบตลาด ตีด้วยลวดหนัง 2 ที

– เมียมีชู้ สามครั้ง ไม่ให้ลงโทษชายชู้ ส่วนเมียให้ลากไถนาประจานแทนควาย 3 วัน และสักแก้มเป็นภาพชายหญิง

– การผิดเมียท่านถึงชำเรา โทษเป็นสองเท่าของการชำเรา

– ทำชู้เมียท่านที่ไปราชการ เพิ่มโทษเป็นสองเท่า

– จับชู้ได้คาหนังคาเขา (หญิงนอนหงาย ชายนอนคว่ำ ) ให้ผัวฆ่าเสียทั้งคู่ ถ้าฆ่าเฉพาะเมีย ให้ปรับผัว แต่ถ้าเมียหนีรอดตายไปได้ ให้จับเมียเป็นทาสหลวง

– เมียนอกใจหากไม่ฆ่า ให้ริบทรัพย์ ทั้งคู่มาเป็นของผัว ไล่เมียไปให้มีเสื้อผ้าชุดเดียวที่สวมไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าผู้ชายไปมีคนอื่นจะไม่เรียกว่า “มีชู้” นะคะ นี่แหละค่ะ ความเหลื่อมล้ำทางเพศอย่างเห็นได้ชัด มีมาตั้งแต่สมัยโบราณจนทุกวันนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง
   
ที่มา: กฏหมายตราสามดวง เล่ม ๒ ( กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา 2515) เผยแพร่ครั้งแรก 13 กันยายน 2558

บทความแนะนำ