MY AMBULANCE รักฉุดใจนายฉุกเฉิน การแพทย์ คำย่อภาษาอังกฤษ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เกร็ดความรู้ คำศัพท์ทางการแพทย์ – จากซีรีส์ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

Home / สาระความรู้ / เกร็ดความรู้ คำศัพท์ทางการแพทย์ – จากซีรีส์ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

ซีรีส์ที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในตอนนี้ My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน เป็นเรื่องราวความรักแนวแฟนตาซีของหมอเป้ง และทานตะวัน ที่มีเรื่องเกี่ยวกับการแพทย์เข้ามาเกี่ยวข้อง นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ รับบท หมอเป้ง, ใหม่ ดาวิกา รับบท ทานตะวัน และ สกาย วงศ์รวี รับบท ฉลาม นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ฯลฯ – คำศัพท์ทางการแพทย์ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

คำศัพท์ทางการแพทย์ จากซีรีส์ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

นอกจากเนื้อเรื่องชวนติดตามแล้ว ยังสอดแทรกสาระความรู้คำศัพท์ทางการแพทย์ให้ทุกคนได้อ่านเพื่อที่จะได้เข้าใจเวลาที่ตัวละครในเรื่องสนทนากัน ในบทความนี้ขอรวบรวมมาให้ชาวแคมปัสฯ ได้อ่านกันค่ะ

คำศัพท์ทางการแพทย์

Resident = แพทย์ที่กำลังเรียนต่อเฉพาะทาง (แพทย์ประจำบ้าน)

กว่าจะเป็น Resident จะต้องผ่านการเรียน “แพทยศาสตร์บัณฑิต” ในหลักสูตรการเรียน 6 ปี เมื่อเรียนจบแล้วจะต้องไปเป็น “แพทย์เพิ่มพูนทักษะ หรือ Internship” หนึ่งปี และ “แพทย์ใช้ทุน” อีกสองปี หลังจากนั้น เมื่อหมอมีความสนใจในสาขาเฉพาะทางก็สามารถเลือกสมัครเรียนต่อเฉพาะทางได้ คือ “แพทย์ประจำบ้าน หรือ Resident” นั่นเอง ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์แล้ว Resident ยังต้องคอยเป็นที่ปรึกษาและรับผิดชอบดูแล เหล่านักศึกษาแพทย์อีกด้วย

Extern = นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6

นักศึกษาแพทย์ปี 6 มักจะถูกเรียกว่า “หมอ” เพราะต้องลงมือปฏิบัติกับคนไข้จริง และทำหน้าที่ให้ได้เหมือนหมอทุกอย่าง แต่จะไม่สามารถสั่งการเองได้โดยตรง จะต้องอยู่ในความควบคุมของอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ใช้ทุนอย่างเข้มงวด

Pulse = ชีพจร

คืออัตราการเต้นของหัวใจ ปกติคนส่วนใหญ่จะมีชีพจรเต้น 60-100 ครั้ง/นาที ถ้ามากกว่านี้ถือว่าหัวใจกำลังเต้นเร็วผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของร่างกายด้วยนะ

EKG Sinus Rhythm = คลื่นไฟฟ้าหัวใจเต้นปกติ Normal Sinus Rhythm เป็นจังหวะการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ อัตรา 60 – 100 ครั้ง/นาที จังหวะสม่ำเสมอ

Cath Lab = การสวนหัวใจ เป็นการใช้สายสวนขนาดเล็ก ใส่เข้าในหลอดเลือดแดงเพื่อฉีดสีดูความผิดปกติของเส้นเลือดหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างแม่นยำ

EKG เป็น VT มี Pulse = คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องล่าง (Ventricular Tachycardia) เมื่อหัวใจห้องล่างเต้นเร็วมากก็อาจทำให้ไม่สามารถสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ทำให้ความดันโลหิตลดลง การรู้สึกตัวลดลง เจ็บหน้าอก เป็นต้น

Synchronized Cardioversion = การช็อกไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่ยังมีชีพจร และมีภาวะคุกคามต่อชีวิต เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความดันโลหิตลดลง การรู้สึกตัวลดลง เจ็บหน้าอก เป็นต้น

Load IV = การให้สารน้ำปริมาณมากทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว

Monitor = การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย

Maintain Airways = ดูแลระบบทางเดินหายใจเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญในการช่วยการหายใจของผู้ป่วย เพราะถ้าเปิดทางเดินหายใจได้ช้าหรือช่วยหายใจไม่ได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจน ก็จะมีผลเสียต่อสมองแบบถาวร หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

5th Intercostal space anterior to midaxillary line = ช่องซี่โครงที่ 5 บริเวณแนวหน้าต่อรักแร้ เป็นบริเวณที่ผนังทรวงอกบาง ช่องระหว่างกระดูกซี่โครงกว้าง และอยู่ห่างจากอวัยวะที่สำคัญ เป็นตำแหน่งที่ใช้ในการเจาะระบายลมในภาวะ Tension pneumothorax

Heart Rate = อัตราการเต้นของหัวใจ ปกติอัตราการเต้นจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที ถ้าสูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป ถือว่าหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย เล่นกีฬา ความตื่นเต้น ความเครียด หรือความวิตกกังวล

Admit = การรักษาแบบผู้ป่วยใน ต้องนอนค้างในโรงพยาบาล

Round Ward = การตรวจเยี่ยมคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน แพทย์จะเดินไปที่เตียงผู้ป่วยทุกเตียงเพื่อตรวจและสอบถามอาการของผู้ป่วย พร้อมทั้งสั่งการรักษาตามอาการที่เปลี่ยนแปลง หรือสั่งให้กลับบ้านหากอาการทุเลาแล้ว

Ruptured Abdominal Aortic Aneurysm = ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้องแตก อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง พบว่าส่วนมากคนไข้จะไม่มีอาการ แต่มักมาพบแพทย์ด้วยเรื่องคลำเจอก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง หรือปวดท้องร้าวไปถึงหลังร่วมด้วย กรณีนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าหลอดเลือดนี้กำลังจะแตก หากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลให้หลอดเลือดแตกและเสียชีวิตในที่สุด

Dyspepsia = ภาวะอาการดีสเปปเซีย ภาวะนี้จะมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่สันนิษฐานว่าน่าจะมีสาเหตุจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น จะมีอาการอึดอัด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ บริเวณลิ้นปี่หรือเหนือสะดือ หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

Case Basic = คนไข้ที่ต้องได้รับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน เคสผู้ป่วยที่ประสบภาวะที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว แต่ยังสามารถรอได้ ทีมปฏิบัติการณ์แพทย์ขั้นต้นควรไปถึงผู้ป่วยภายใน 15 นาที หลังเกิดเหตุ โดยใช้สัญญาณแสงวับวาบและเสียงไซเรน

Case Advance = คนไข้ที่ต้องได้รับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง เคสผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะคุกคามต่อชีวิต ต้องได้รับการดูแลรักษาทันที หรืออย่างเร่งด่วนที่สุด ทีมปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงต้องไปถึงผู้ป่วยภายใน 8 นาทีหลังเกิดเหตุ โดยใช้สัญญาณแสงวับวาบและเสียงไซเรน

PTSD = Post Traumatic Stress Disorder = ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวล เป็นความผิดปกติทางจิตใจภายหลังประสบกับเหตุการณ์รุนแรง

คำย่อแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลที่เรียกกันทั่วไป

– ER ย่อมาจาก EMERGENCY ROOM ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
– OR ย่อมาจาก OPERATING ROOM ห้องผ่าตัด
– LR ย่อมาจาก LABOR ROOM ห้องคลอด
– OPD ย่อมาจาก OUTPATIENT DEPARTMENT แผนกผู้ป่วยนอก
– MED ย่อมาจาก MEDICINE อายุรกรรม (การรักษาด้วยยา)
– PED ย่อมาจาก PEDIATRIC กุมารเวชกรรม (การรักษาโดยเฉพาะเด็ก)
– SUR ย่อมาจาก SURGICAL ศัลยกรรม (การรักด้วยการผ่าตัด)
– ORTHO ย่อมาจาก ORTHOPEDIC ศัลยกรรมกระดูก (การรักษาโรคกระดูกด้วยยาหรือการผ่าตัด)
– OB-GYN ย่อมาจาก OBSTRETIC GYNECOLOGY สูติ-นรีเวชกรรม (การรักษาโดยเฉพาะสตรีและการตั้งครรภ์)
– ANC ย่อมาจาก Ante natal care การดูแลก่อนคลอด
– IPD ย่อมาจาก INPATIENT DEPARTMENT แผนกรักษาผู้ป่วยใน
– PT ย่อมาจาก PHYSICAL THERAPY แผนกกายภาพบำบัดและฟื้นฟู
– LAB ย่อมาจาก LABORATORY แผนกห้องปฏิบัติการ

คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ และเครื่องมือแพทย์ที่ควรทราบ

– Oropharyngeal airway (mouth gag), (airway)= อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ
– Suction (ซักชั่น) = เครื่องดูดเสมหะ
– Stethoscope (สเต็ทโตสโคป) = หูฟัง
– Blood pressure (BP.) (บลัดเพรสเชอร์)= ความดันโลหิต
– Splint (สปลิ๊น) = การดาม
– Stop bleed (สต็อปบลีด) = ห้ามเลือด
– Gluco-meter (กลูโคมิเตอร์) = เครื่องวัดค่าน้ำตาลในกระแสเลือด
– Elastic Bandage (EB.) (อิลาสติคแบนเดก) = ผ้าพันชนิดยืด
– Defibrillator (ดีฟิบบริลเลเตอร์)= เครื่องกระตุกหัวใจ
– Pulse Oxymeter = เครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของ O2 ในกระแสเลือด
– Treatment (ทรีทเม้น)= การรักษา
– Diagnosis (ไดแอ็กโนซีส)= การวินิจฉัย
– Vital sign (ไวทอลไซน์) = สัญญาณชีพ
– Temperature (เทมเพอเรเจอร์) = อุณหภูมิ
– Pulse (พัลส์)= ชีพจร
– Respiration (เรสไปเรชั่น)= การหายใจ
– Blood pressure (บลัดเพรสเชอร์) = ความดันโลหิต
– Observe (ออบเสริฟ)= สังเกตอาการ
– Tepid sponge (เทปปิดสปั้น)= เช็ดตัวลดไข้
– Transfer (ทรานสเฟอร์) = การย้ายผู้ป่วย
– Discharge (ดีสชาร์จ)= การจำหน่ายผู้ป่วย
– Sphygmomanometer (สฟิกโมมาโนมิเตอร์) = เครื่องวัดความดันโลหิต
– Needle (นีดเดิล)= เข็ม
– Syringe (ไซริง)= กระบอกฉีดยา
– Intravenous Fluid (IV.Fluid) = สารน้ำ (น้ำเกลือ)
– Medicut (เม็ดดิขัด)= เข็มแทงน้ำเกลือ
– I.V. set = ชุดให้สารน้ำ
– Extension (เอ็กซ์เทรนชั่น)= สายต่อชุดให้น้ำเกลือ
– 3-way (ทรีเวย์) = ข้อต่อ 3 ทาง
– Tourniguet (ทูนิเก้)= สายยางรัดแขน
– Gauze (ก็อซ) = ผ้าก๊อซ
– Dressing (เดรสซิ่ง)= การทำแผล
– Top gause (ท็อปก็อซ) = ผ้าก๊อซหุ้มสำลี (ใช้พันแผลขนาดใหญ่)
– Micropore (ไมโครปอร์) = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกระดาษ
– Transpore (ทรานสปอร์) = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดพลาสติก
– Ambubag (แอมบูแบ็ก) = ลูกยางบีบช่วยการหายใจ
– Abnormal (แอบนอร์มอล)= ผิดปกติ
– Abrotion (อะบรอชั่น)= การแท้ง
– Artary (อาร์เทอร์รีย์)= เส้นเลือดแดง
– Vein (เวน)= เส้นเลือดดำ
– B.P. drop (บี.พี.ดร็อป) = ความดันเลือดต่ำ
– Brain (เบรน) = สมอง
– Chills (ชิลส์) = หนาวสั่นจากไข้สูง
– Coma (โคม่า) = ภาวะหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
– Complication (คอมพลิเคชั่น) = โรคแทรกซ้อน

– Cyanosis (ไซยาโนซีส) = อาการเขียวจากการขาดออกซิเจน
– Secretion (ซิครีชั่น) = สารคัดหลั่ง
– Edema (อิดีม่า)= บวม
– Electrodiogram (EKG) = เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
– Expire (เอ็กซ์ปาย) = หมดอายุ
– Infection (อินเฟคชั่น)= การติดเชื้อ
– Jerk (เจิ๊ก)= เคาะเข่า
– Nausea (นอร์เซีย) = คลื่นไส้
– Nipple (นิปเปิล)= หัวนม
– Pain (เพน)= ความปวด
– Pale (เพล)= ซีด
– Paralysis (Paralite) (พาราไลซีส) = อัมพาต
– Rupture (รัปเจอร์)= การแตก
– Sick = ป่วย
– Side effect (ไซด์เอฟเฟค) = ผลข้างเคียง
– Sputum (สปูตุ้ม)= เสมหะ
– Stat (สแตท) = ทันที
– Stomach (สโตมัส)= กระเพาะอาหาร
– Stress (สเตรส) = เครียด
– Therapy (เทอราปี้) = การรักษา
– Unconscious (อันคอนเชียส) = ไม่รู้สึกตัว
– Urine (ยูรีน) = ปัสสาวะ
– Urine analysis (ยูรีนอะนาไลซีส)= การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
– Vomit = อาเจียน
– Wound (วูน) = แผล
– Weight = น้ำหนัก
– Weak (วี๊ค)= อ่อนเพลีย
– Surgery (เซอ-เจอ-รี่) = ศัลยกรรม
– Medication (เหม็ด-ดิ-เด-ชั่น)= อายุรกรรม
– Pediatric (พี-เดรีย-ตริก) = กุมารเวชกรรม
– Obstetric (อ๊อบ-สเต-ตริก)= สูติกรรม
– Gynecology (ไก-เนค-โค-โล-จี้)= นรีเวชกรรม
– Orthopedic (ออ-โถ-ปี-ดิก)= กระดูกและข้อ
– Hemodialysis (ฮี-โม-ได-อะ-ไล-ซิส)= ห้องล้างไต
– Physical therapy (ฟิส-สิ-เคิล-เทอ-รา-ปี่)= แผนกกายภาพบำบัด
– Phamacy (ฟา-มา-ซี) = ห้องจ่ายยา
– Intensive care unit (I.C.U) = แผนกผู้ป่วยหนัก
– Operating room (O.R) = ห้องผ่าตัด

ลักษณะอาการบาดเจ็บ

– การผิดรูป Deformities (ดีฟอร์มิตี)
– รอยฟกช้ำ Contosion (คอนทูชั่น)
– แผลถลอก Abrasion (อะเบรชั่น)
– แผลจากการแทง Puncture/ Penetrations (พังเจอร์/ เพนเนเตชั่น)
– แผลไหม้ Burns (เบริน)
– ตำแหน่งเจ็บ Tenderness (เทนเดอร์เนส)
– แผลฉีกขาด Laceration (ลาซีเรชั่น)
– อาการบวม Swelling (สวีลลิ่ง)
– อักษรช่วยจำ (DCAP/BTLS) (ดี-แคป/บี-ที-แอล-เอส)

ที่มาจาก: Nadao Series, thainurseclub.blogspot.com, siammetalliczone.comhonestdocs, 38 ศัพท์ภาษาอังกฤษ ทางการแพทย์

บทความแนะนำ