พืชตระกูลบอนมีชนิดที่ทานได้ คือ คูน และ พืชตระกูลบอนบางชนิดเป็นพิษ คือ กระดาดดำ และด้วยความที่พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นพืช ตะกูลเดียวกัน ฉะนั้น จึงมีลักษณะ ลำต้น และใบ ที่คล้ายคลึงกันมาก ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิด และนำไปประกอบอาหาร
พืชตระกูลบอนบางชนิดเป็นพิษ
พืชตระกูลบอนที่ทานได้ : คูน
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Colocasia gigantea Hook.f
ภาษาท้องถิ่น :
- ภาคใต้ เรียก โชน ออดิบ ออกดิบ
- ภาคกลาง เรียก คูน
- ภาคเหนือ เรียก กระดาดขาว หรือตูน
- ภานอีสานบางพื้นที่ เรียก ทูน
ลักษณะ :
- ใบสีเขียวอ่อน ขนาดเล็ก และบาง
- ก้านใบสีขาวนวล
- ลำต้นสีเขียวอ่อน มีแป้งเคลือบ
- ก้านใบห่างริมขอบใบ
ก้านใบต้อคูน ปอกเปลือกนำมาทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงกะทิ ในภาคใต้นิยมนำไปทำแกงส้ม
– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –
พืชตระกูลบอนที่ทานไม่ได้ : กระดาดดำ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Alocasia macrorhiza Schott
ภาษาท้องถิ่น :
- ภาคใต้ เรียก โหรา หรือเอาะลาย
- ภาคกลาง เรียก กระดาดดำ
- ภาคเหนือ เรียก บึมปื้อ
ลักษณะ :
- ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดใหญ่ และหนา
- ก้านใบสีเข้ม
- ลำต้นสีเขียวเข้ม
- ก้านใบติดริมขอบใบ
* พิษ : พบส่วนมากในส่วนน้ำยางใส บริเวณลำต้น และใบ
อาการของพิษ :
- หากสัมผัสจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นผื่นคัน บวมแดง
- หากรับประทาน จะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ลิ้นแข็ง พูดไม่ได้ คันปาก คันคอ บางรายอาจมีอาการหายใจไม่ออก และเสี่ยงถึงชีวิตได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น :
- หากสัมผัส ให้ล้างด้วยน้ำสบู่หลายๆ ครั้ง แล้วนำส่งโรงพยาบาล
- หากรับประทานให้ล้างปาก และดื่มนมเพื่อลดอาการระคายเคือง และรีบนำส่งโรงพยาบาล
- อย่าพยายามทำให้อาเจียน เพราะจะยิ่งทำให้แย่ลง เนื่องจากพิษจะสัมผัสเยื่อบุที่คอ และปากอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โหรา พืชริมรั้ว ภัยใกล้ตัว , พืชมีพิษ ฤทธิ์อันตราย และ ต้นอ้อดิบ (ต้นคูน) พืชตระกูลบอน